จัดระเบียบโฮมแชร์ริ่ง จับตีทะเบียนจ่ายภาษี

23 พ.ค. 2561 | 05:30 น.
 

“วีระศักดิ์” หนุนออกกฏหมายเอื้อแชร์ริ่ง อีโคโนมี ดึงตึกแถว-บ้านเดี่ยว ที่ไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรปล่อยเช่านักท่องเที่ยวรายวัน เพื่อดันเข้าสู่ฐานระบบภาษี ส่วนคอนโดหมดสิทธิ์ถูกจับสถานเดียว ร้องมหาดไทยตีทะเบียนโฮลต์ AirBnb

รายได้จากธุรกิจโรงแรมปีละ 1 ล้านล้านบาท แต่จากการสำรวจโรงแรมทั่วประเทศพบว่ามีกว่า 2 หมื่นแห่ง โดยครึ่งหนึ่งเป็นโรงแรมผิดกฏหมาย อีกทั้งยังมีรูปแบบการขายห้องพักผ่าน ออนไลน์ ทราเวิล เอเย่นต์ (OTA) รวมถึงแอร์บีเอ็นบี (AirBnb) แพลตฟอร์มโฮมแชริ่งหรือการแบ่งปันบ้านหรือที่พักอาศัย เพื่อการปล่อยเช่ารายวันแก่นักท่องเที่ยว ที่กำลังเป็นที่นิยม สร้างความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการ จึงมีการเรียกร้อยให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมอย่างจริงจังและดึงผู้ประกอบการเหล่านี้ เข้าสู่ฐานระบบภาษีให้ถูกต้อง

[caption id="attachment_283613" align="aligncenter" width="335"] วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[/caption]

นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ประเทศไทยขึ้นชื่อว่ามีห้องพักที่หลากหลายมากที่สุดในโลก ตั้งแต่โรงแรม โฮมสเตย์ บูติก โฮเทล ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี จึงต้องการผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้ทำอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เพื่อเปิดทางให้ผู้ประกอบการแชร์ริ่ง อีโคโนมี ที่พักแรมของไทยจริง ๆ ให้สามารถนำที่พักมาปล่อยเช่าให้นักท่องเที่ยวได้ แต่ต้องรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องด้วยว่าคิดเห็นอย่างไร
“ถ้าเป็นตึกแถวมีอยู่ 4 ห้องรองรับไม่เกิน 20 คน แล้วอยากเอาห้องว่างมาปล่อยเช่าบ้าง ก็ไปจดแจ้งทะเบียนไว้กับกระทรวงมหาดไทย หรือ เป็นบ้านเดียว ไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านสรรจัด อยากให้คนมาพัก ก็เอามาปล่อยเช่า ผ่านแชร์ริ่ง อีโคโนมี ที่พักแรม การทำให้มีกฏหมายรองรับ ก็จะดึงให้กลุ่มเหล่านี้มาเข้าระบบภาษี ที่มีอัตราที่เทียบเคียงกับที่ผู้ประกอบการโรงแรมที่ต้องจ่ายภาษี และเป็นอีกทางเลือกของนักท่องเที่ยว แต่ต้องไม่ใช่ไปซื้อคอนโดมิเนียม 8 ห้องแล้วมาปล่อยเช่าให้นักท่องเที่ยว โดยที่เอาเปรียบคนที่อยู่ทั้งอาคาร หากเจอต้องจับกุม ซึ่งขณะนี้ตำรวจท่องเที่ยวกวดขันเรื่องนี้มาก”

ส่วนกรณีแอร์บีเอ็นบีที่ล่าสุดประเทศญี่ปุ่นเพิ่งออกกฏหมายใหม่เปิดโอกาสให้เจ้าบ้าน(โฮสต์)ที่นำบ้านพักมาจดทะเบียนเพื่อแบ่งพื้นที่ให้ผู้อื่นมาเช่ารายวัน สามารถเปิดบ้านรับนักท่องเที่ยวได้แห่งละไม่เกิน 6 เดือนต่อปี ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นตัวอย่างของโลกที่กล้าหาญมาก ทั้งนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ยังต้องรับมือกับความไม่เห็นด้วยของเจ้าของโรงแรมดั้งเดิมอย่างหนัก ดังนั้นไทยคงต้องศึกษาจากกรณีนี้ด้วยเช่นกัน รมว.ท่องเที่ยวฯกล่าว

สำหรับความเป็นธรรมที่พึงมีในระบบOTA ผมมองว่าก็ควรมีการทำความตกลงสาธารณะกัน แล้วเปิดเผยว่าผู้ให้บริการจองออนไลน์รายใดที่ยินดีให้ความร่วมมือเพื่อปันคืนประโยชน์ให้แก่ประเทศหรือท้องถิ่นที่ตัวนำมาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจของตัว OTAรายใดที่ไม่ยินยอมเข้าร่วม ไม่ขอมีความร่วมรับผิดชอบต่อหน้าที่แก่ประเทศที่ตัวนำเอามาทำธุรกิจของตัว ไม่ยอมตั้งสำนักงานนิติบุคคลของตัวในราชอาณาจักร ไม่ยอมสื่อสารกับสังคมนอกจากทำแต่การตลาดหรือไม่รับรู้ภาระหน้าที่อีนพึงมีร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ก็ย่อมต้องทำให้ลูกค้าและผู้ประกอบการและประชาคมออนไลน์ต่างๆได้รับรู้ว่าOTAรายใดมีความรับผิดชอบต่อสังคมต่างกันอย่างไร

[caption id="attachment_283616" align="aligncenter" width="365"] ศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ ศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ[/caption]

ด้านนางสาวศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เผยว่า เข้าใจว่ารูปแบบการดำเนินธุรกิจของแอร์บีเอ็นบี เป็นธุรกิจเกิดใหม่ เช่นเดียวกับอูเบอร์ จึงไม่มีกฎหมายเฉพาะมารองรับ และเราไม่ได้ต้องการกีดกันการดำเนินธุรกิจของแอร์บีเอ็นบี แต่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมการดำเนินธุรกิจในไทยให้รัดกุมมากขึ้น โดยอยากจะร้องขอให้กระทรวงมหาดไทย ออกมาตรการให้เจ้าบ้าน(โฮสต์) ต้องนำบ้านพักมาลงทะเบียน เพื่อที่ประเทศไทยจะได้มีฐานข้อมูลว่าโฮสต์ของแอร์บีเอ็นบี คือใคร เพราะทุกวันนี้ไม่มีใครรู้ข้อมูลเหล่านี้อย่างชัดเจนนอกจากแอร์บีเอ็นบี
ส่วนการขายห้องพักของผู้ประกอบการโรงแรมผ่านทางออนไลน์ ทราเวล เอเย่นต์(OTA)

ปัจจุบันถือว่าเป็นช่องทางขายที่เป็นประโยชน์กับธุรกิจโรงแรมมาก แต่ก็ต้องค่าคอมมิชั่นที่สูงขึ้นกว่า 30-35% และในแง่ของประเทศก็อาจจะเสียเปรียบในแง่ของการไม่ได้รับภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากต้องหักค่าคอมมิชั่นออกไป และ OTA ไม่ได้จดทะเบียนในการดำเนินธุรกิจในไทย ซึ่งหากรัฐบาลสามารถทำให้ทั้งแอร์บีเอ็นบี OTA จ่ายภาษีได้ รัฐบาลก็จะมีรายได้ทันที ซึ่งเป็นระดับนโยบายว่ารัฐจะเอาอย่างไร

[caption id="attachment_283619" align="aligncenter" width="503"] อุดม ศรีมหาโชตะ อุดม ศรีมหาโชตะ[/caption]

นายอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษาสมาคมโรงแรมไทย และผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในหัวหิน เผยว่า การที่เจ้าของคอนโดมิเนียม นิยมนำห้องชุดมาปล่อยเช่าผ่านแอร์บีเอ็นบีและผ่านบริษัทตัวแทนขายที่ตั้งขึ้นมาโดยใช้ช่องทางโซเชี่ยลมีเดียในการโพสต์ขายที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในเมืองท่องเที่ยวต่างๆ เนื่องจากได้ผลตอบแทนถึง6-7% ซึ่งการที่ศาลจังหวัดหัวหินพิพากษาเอาผิดเจ้าของห้องชุดคอนโดมีเนียม“วันเวลา เขาเต่า” ที่นำมาปล่อยเช่าแบบวัน ถือเป็นต้นแบบที่แสดงให้เห็นว่าหากใครดำเนินการในลักษณะนี้ถือว่าผิดชัดเจน

ขณะเดียวกันทั้งอยากให้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ปลดล็อกให้โรงแรมขนาดเล็กที่มีห้องพักตั้งแต่ 9-79 ห้องไม่ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น(IEE)ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเหมือนที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากที่ผ่านมาการทำIEE มีค่าใช้จ่ายร่วม1ล้านบาท ในการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ทั้งขั้นตอนการขอใช้เวลานับปี ทำให้หลายโรงแรมเลือกที่จะจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อแลกกับการออกใบอนุญาตโรงแรมปลอม การปลดล็อกในเรื่องนี้ก็จะช่วยแก้ปัญหาใบอนุญาตโรงแรมปลอมและทำให้โรงแรมเข้าสู่ระบบอย่างถูกกฏหมาย

[caption id="attachment_283623" align="aligncenter" width="503"] ดิลิป ราชากาเรีย ดิลิป ราชากาเรีย[/caption]

นายดิลิป ราชากาเรีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไมเนอร์ โฮเทลส์ กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจของแอร์บีเอ็น จะกระทบกับธุรกิจโรงแรมระดับล่างและรัฐบาลจะต้องเริ่มต้นเข้าไปควบคุมแอร์บีเอ็นบี เกสต์เฮาส์บางแห่งที่ไม่ถูกกฎหมายและไม่จ่ายภาษี ไม่ดูแลพนักงาน ซึ่งกระทบกับประสบการณ์ของผู้เข้าพัก ท้ายที่สุดจะกระทบไปถึงประเทศ เป็นธรรมกับผู้ประกอบการที่ทำถูกกฏหมาย และคิดว่าสิ่งสำคัญผู้ประกอบการต้องมีใบอนุญาตอย่างถูกต้องเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน
e-book-1-503x62-7