ผุดโซลาร์ลอยนํ้า สนองนโยบาย ‘ศิริ’

26 พ.ค. 2561 | 04:46 น.
 กฟผ.สนองนโยบาย “ศิริ” เสนอโปรเจ็กต์โซลาร์ฟาร์มลอยนํ้าในเขื่อน 500-1,000 เมกะวัตต์ ราคาตํ่า กว่า 2.40-2.50 บาทต่อหน่วย “สหรัฐ” เผยอย่าเทียบต้นทุนกับเอกชน ชี้ข้อกำหนดต้อง ใช้แผงเซลล์ที่ผลิตในประเทศ ราคาสูงกว่านำเข้า 40%

กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนทุ่นลอยนํ้า (โซลาร์ฟาร์มลอยนํ้า) ในเขื่อนผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. รวม 500-1,000 เมกะวัตต์ ซึ่งที่ผ่านมา กฟผ. ศึกษาร่วมกับทางเครือเอสซีจี พบว่าโครง การนำร่องขนาด 1 เมกะวัตต์ มีต้นทุนค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 2.40-2.50 บาทต่อหน่วย โดยโครงการโซลาร์ฟาร์มลอยนํ้าของ กฟผ. จะช่วยให้การผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.มีความเสถียรและช่วยเสริมความมั่นคงให้กับระบบมากขึ้น

โดยจะมีไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าพลังนํ้าของเขื่อน มาช่วยเสริมความมั่นคง ของไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบโซลาร์ฟาร์มลอยนํ้า ในช่วงเวลาที่ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ เช่น ช่วงที่แดดไม่มี หรือช่วงเวลากลางคืน ทำให้สามารถจ่ายไฟฟ้าป้อนเข้าระบบได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นการผสมผสานทั้ง 2 ระบบเข้าด้วยกันหรือไฮบริด ถือได้ว่าเป็นระบบผลิตไฟฟ้าระบบแรกๆของโลก โฆษก กฟผ.

นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นโยบายของกระทรวงพลังงานที่ให้ กฟผ. ดำเนินโครงการโซลาร์ฟาร์มลอยนํ้านั้น ทาง กฟผ. เสนอนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานว่า จากการสำรวจพบว่าเขื่อนของกฟผ. มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า หรือดำเนินโครงการโซลาร์ฟาร์มลอยนํ้าได้ประมาณ  500-1,000 เมกะวัตต์ ในต้นทุนราคา 2.40-2.50 บาทต่อหน่วย

อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับเอกชน ยอมรับว่า กฟผ. ยังเสียเปรียบ เนื่องจากตามข้อกำหนดของรัฐ วิสาหกิจจะต้องใช้แผงเซลล์ที่ผลิตในประเทศ ซึ่งมีต้นทุนที่แพงกว่าแผงเซลล์นำเข้าถึง 40% ซึ่งการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนแบบไม่จำกัดจำนวนในราคาตํ่ากว่า 2.44 บาทต่อหน่วยนั้น ทาง คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะเป็นผู้เปิดรับซื้อ ส่วนตัวมองว่าหากเป็นรูปแบบ Non-Firm ก็จะต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าหลักรองรับ ซึ่งผลการศึกษาเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 10-30% แต่หากเป็นรูปแบบ Firm ก็ไม่จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าหลักสำรองไว้ Solar panel

โดยเบื้องต้น กฟผ.มีแผนที่จะลงทุน โครงการโซลาร์ฟาร์มลอยนํ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 30-40 เมกะวัตต์ ที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่ง กฟผ.ได้มีการหารือร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผน พลังงาน (สนพ.) แล้ว และจะนำเสนอให้บอร์ด กฟผ.พิจารณาในเดือนพฤษภาคมนี้ และคาดว่าจะสามารถออกประกาศเชิญชวนเข้าร่วมการประมูลได้ในช่วงปลายปีนี้ เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 40 ล้านบาทต่อ เมกะวัตต์

หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับวันที่ 24-26 พ.ค. 2561