เปิดคำร้อง '2 แกนนำพันธมิตร' ส่งศาลรธน.ตีความอัยการไร้อำนาจฟ้องคดีชุมนุม ปี 51

21 พ.ค. 2561 | 13:05 น.
3255965

กรณีที่ศาลอาญาส่งคำร้องของ นายประพันธุ์ คูณมีและ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ให้ศาลรัฐธรรมนูญ (ศาลรธน.) วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ 2560 ตาม มาตรา (ม.) 212 และ 213 คดีหมายเลขดำที่ อ.4924/2555 และคดีหมายเลขดำที่ อ.275/ 2556 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ 1 กับพวกรวม 20 คน ฐานความผิดร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เพื่อการแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล หรือผู้มีหน้าที่สั่งการในการมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยผู้กระทำมีอาวุธ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.83, 91, 116, 215, 216, 309, 310 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2522 ม.4
1-26 ในคำร้องฉบับนี้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นว่า การตั้งข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวน และการที่โจทก์ (อัยการ) มีคำสั่งฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาตามข้อหาข้างต้นนั้น เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2550 ม.6 ที่บัญญัติว่า “รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บท บัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้”

ทั้งยังเป็นการละเมิดต่อสิทธิหรือเสรีภาพที่รธน.ฉบับนี้รับรองสิทธิของจำเลยไว้ในม.211 และ ม.212 บัญญัติว่า “บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รธน.นี้รับรองไว้มีสิทธิยื่น คำร้องต่อศาลรธน.เพื่อมีคำวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรธน.ได้ การใช้สิทธิตามวรรค 1 ต้องเป็นกรณีที่ไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นได้แล้ว ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ” โดยในรัฐธรรมนูญ 2560 ได้คงหลักการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 ดังกล่าวไว้ทุกประการ ทั้งยังมีบทบัญญัติที่ขยายความครอบคลุมไปถึงการ กระทำใดๆ ที่ขัดหรือแย้งต่อรธน.อีกด้วย โดยได้บัญญัติไว้ใน ม.5 ส่วน ม.211 และ ม.212 ตามรัฐธรรมนูญ 2550 เดิมยัง คงมีบัญญัติให้มีผลบังคับใช้อยู่เช่นเดิมตามรัฐธรรมนูญ 2560เพียงแต่ย้ายไปบัญญัติไว้ที่ม.212 และ ม.213

ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลที่มีสิทธิเสรีภาพและได้รับการรับรอง คุ้มครองตามรธน.ในการที่จะใช้สิทธิเสรีภาพของตนภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 และ 2560 ทุกประการ
49932319-1 แสดงออกตามวิถีปชต.

พร้อมทั้งหยิบยกนำคำวินิจฉัยของศาลในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯมาอ้างอิงอยู่หลายคดีด้วยกัน โดยเฉพาะประเด็นการชุมนุมดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ม.63 ที่บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ” และวรรค 2 บัญญัติว่า “การจำกัดเสรีภาพตามวรรค 1 จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก” ซึ่งสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิที่บุคคลหรือผู้ร้องได้รับความรับรองคุ้มครองไว้ตามรัฐธรรมนูญ

การชุมนุมของประชาชนดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำวินิจฉัยไว้ในคดีหมายเลขดำที่ อ.280/2556คดีหมายเลขแดงที่ อ.1442/2560 ระหว่าง นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ ที่ 1 กับ พวกรวม 250 คน เป็นผู้ฟ้องคดี กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 1, สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดี

วินิจฉัยว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ในบทบัญญัติม.63 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งยังได้วินิจฉัยว่า “การแสดงออกในการชุมนุมของพันธมิตรฯในฐานะประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยโดยแท้ที่มอบผ่านส.ส. ให้ปฏิบัติหน้าที่แทน หากไม่เห็นด้วยกับการที่นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกฯ จะเข้ามาบริหารประเทศโดยสืบทอดอำนาจต่อจากรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งต้องหาว่าทุจริต ย่อมมีสิทธิที่จะชุมนุมแสดงออกถึงการไม่เห็นด้วยกับผู้นำฝ่ายบริหารตามวิถีทางประชาธิปไตย”

และได้พิเคราะห์ เห็นว่า “ม.32 วรรค 1 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ม.45 วรรค 1 บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ม.63 วรรค 1 บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ม.420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหมด ฐานใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและอาวุธร้ายแรงเข้าสลายการชุมนุมของพันธมิตรฯจนมีผู้บาดเจ็บและพิการ ทุพพล ภาพ นับร้อยและเสียชีวิตอีกนับสิบคน อันเป็นการละเมิดต่อประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพชุมนุมทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ
GP-3366_๑๘๐๕๒๑_0017 ข้อมูลเป็นประโยชน์ส่วนรวม

ในคำพิพากษาศาลอาญาคดีหมายเลขดำที่ อ. 3973/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2020/ 2560 ความอาญา ระหว่าง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ที่ 1 กับ พวกรวม 9 คน จำเลย ศาลอาญาพิพากษาไว้ตอนหนึ่งว่า

“การปราศรัยของพันธ มิตรฯทำให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมและประชาชนทราบว่า รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช อยู่ภายใต้การครอบงำและสั่งการของนายทักษิณ ทราบถึงการกระทำของกลุ่ม บุคคลในเครือข่ายระบอบทักษิณ ทราบถึงการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่ไม่มีคุณธรรมและธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี มีวาระซ่อนเร้น ตลอดจนมีการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์หลายเรื่อง หลังการชุมนุมของพันธมิตรฯยุติลง ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันทั่ว ไปรับฟังได้ว่า ข้อมูลที่พันธมิตรฯ ปราศรัยระหว่างการชุมนุม ปัจจุบันพบว่า มีมูลความจริงในหลายเรื่อง บางเรื่องมีการดำเนินคดีทางอาญากับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ศาลพิพากษาว่า มีความผิดและลงโทษไปแล้วหลายคดี ข้อมูลบางเรื่องต้องถือว่า เป็นประโยชน์และให้ความรู้แก่ประชาชน ทำให้ประชาชนตื่นรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองมากขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดการชุมนุมของพันธมิตรฯทำให้ประชาชนมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เพิ่มมากยิ่งขึ้น และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เครือข่ายระบอบทักษิณมีกลุ่มที่ล่วงละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่จริงตามที่พันธมิตรฯแจ้งให้แก่ผู้ชุมนุมได้รับทราบมาโดยตลอด การกระทำของฝ่ายจำเลยต้องถือว่า เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติในระดับหนึ่ง”
56526595 ใช้ระบบอุปถัมภ์โยกย้ายขรก.

ทั้งยังปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลยดำที่ 1852/ 2551 คดีหมายเลยแดงที่ 1442/ 2555 ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ความอาญา ระหว่าง นายทักษิณ โจทก์ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ 1 กับพวกรวม 7 คน จำเลย พิจารณาไว้ตอนหนึ่งว่า “ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่า สมัยที่โจทก์เป็นนายกฯ การดำเนินการตามนโยบายใดๆขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของโจทก์ รัฐมนตรีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจน้อยมาก สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย สมาชิกสังกัดพรรคไทยรักไทยเป็นจำนวนเสียงข้างมากโดยเด็ดขาดตกอยู่ภายใต้การครอบงำของโจทก์เป็นผู้กำหนดทิศทางและแนวทางในการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร ใช้ระบบอุปถัมภ์พิจารณาโยกย้ายตำแหน่งสำคัญๆ ของกองทัพ ตำรวจ และข้าราชการประจำ ไม่ได้ใช้ระบบคุณธรรม ไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถและอาวุโส ต้องวิ่งเข้าหาโจทก์หรือภริยา บรรดาญาติพี่น้องผู้ใกล้ชิด สร้างความแตกแยกในหมู่ข้าราชการ ใช้สื่อสารมวลชนต่างประเทศทำลายความน่าเชื่อถือของกระ บวนการยุติธรรม พาดพิงสถาบันสำคัญว่า อยู่เบื้องหลัง มีเป้าหมายกลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างชัดเจน คอยบงการทางเมืองในพรรคพลังประชาชน รัฐบาลที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของโจทก์”

ส่วนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ 1923/2551 คดีหมายเลขแดงที่ 4591/2551 ศาลอาญา ความอาญา ระหว่าง นายทักษิณ โจทก์ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ 1 กับ พวกรวม 7 คน จำเลย ก็ได้พิพากษาไว้ตอนหนึ่งว่า “เมื่อพิจารณาจากข้อความในคำแถลงการณ์ดังกล่าวแล้ว เป็นไปในทำนองตำหนิและชี้ให้เห็นถึง ความบกพร่องในการบริหารราชการแผ่นดินในรัฐบาลที่มีโจทก์เป็นนายกฯว่า อาจเป็นไปในทางไม่สร้างสรรค์ ไม่โปร่งใส แม้จะมีการใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่ค่อนข้างรุนแรงแต่ก็ไม่ถึงกับเป็นคำหยาบคาย ส่วนใหญ่เป็นสำนวนที่ใช้ในการวิพากษ์ทางการเมืองที่สื่อโดยทั่วไปก็มักจะใช้อยู่เป็นประจำ ไม่ถึงกับเป็นข้อความที่จะเป็นการใส่ความโจทก์
oustedthaiPM-world อีกทั้งข้อเท็จจริงตามที่กล่าวพาดพิงโจทก์ในคำแถลงการณ์ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในรัฐบาลยุคที่โจทก์เป็นนายกฯ ทำให้โจทก์มีคดีความในศาลมากมาย ทั้งที่โจทก์ฟ้องบุคคลอื่นและถูกบุคคลอื่นฟ้องก็ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีผลคดีติดตามมา...ดังนี้ ศาลจึงเห็นว่า กรณีมีเหตุตามคำแถลงการณ์ให้เป็นที่น่าสงสัยตามสมควรเกี่ยวกับพฤติการณ์ในขณะที่โจทก์ดำรงตำแหน่งนายกฯว่า โจทก์ได้ดำเนินการบริหารประเทศส่อไปในทางผิดปกติหรือไม่โปร่งใส”

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมจะเห็นได้ว่า พันธมิตรฯได้ชุมนุม ทางการเมืองโดยชอบตามสิทธิเสรีภาพและกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ นอกจากรธน.2550 จะได้ให้การรับรองคุ้มครองสิทธิของประชาชนอันเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองและสิทธิเสรีภาพอื่นๆ และได้มีแนวคำวินิจฉัยของศาลดังที่ผู้ร้องได้เรียนต่อศาลแล้ว รธน.ปี 2560 ที่ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 อันเป็นรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้ในปัจจุบันก็ยังได้รับรองคุ้มครองสิทธิของบุคคลและผู้ร้องในคดีนี้ในลักษณะเช่นเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลที่ได้รับการรับรองคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ การพูด การแสดงความคิดเห็น การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ตาม รธน.2550 และ รธน.2560 ทุกประการ

ศาลอาญาไม่มีอำนาจรับฟ้อง

ด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังที่ผู้ร้องได้ประทานกราบเรียนต่อศาลแล้วข้างต้น เมื่อการกระทำของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการตั้งข้อกล่าวหา และดำเนินการฟ้องร้องคดีนี้แก่ผู้ร้องเป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ร้อง หรือเป็น การกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรธน.ดังกล่าว ศาลอาญาจึงไม่มีอำนาจรับฟ้องและพิจารณาคดีนี้ เพราะการกระทำหรือการดำเนินการใดๆ ของศาลอาญาย่อมเป็นการกระทำอันเป็นการขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน

ผู้ร้องจึงขอโต้แย้งต่ออำนาจของศาลอาญาในการพิจารณาคดีและการที่จะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีนี้กับผู้ร้องและจำเลยทุกคนนั้น ผู้ร้องเห็นว่า บทบัญญัติของกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญาที่พนักงานสอบสวนกล่าวหาผู้ร้องและที่พนักงานอัยการนำมาเป็นเหตุฟ้องร้องเพื่อบังคับแก่ผู้ร้องและจำเลยทุกคนในคดีนี้ ย่อมไม่อาจบังคับการให้มีผลเหนือกว่ากฎหมายรธน.แห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้ ทั้งการปฏิบัติและการกระทำของพนักงานสอบสวนและอัยการ ล้วนแต่เป็นไปด้วยการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอีกด้วย หากกระบวนการยุติธรรมยินยอมให้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการสามารถใช้กฎหมายทางอาญามายัดเยียดข้อกล่าวหาแก่ประชาชนผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรธน. ได้ตามอำเภอใจแล้ว สิทธิเสรีภาพของประชาชนย่อมมิอาจได้รับการรับรองคุ้มครองตามรธน.ได้เลย บทบัญญัติตาม รธน.ทั้งหลายย่อมสิ้นผลบังคับและไร้ความศักดิ์สิทธิ์ มิอาจดำรงฐานะความเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้อีกต่อไป
1377281526-5445781015-o ย้อนรอยพันธมิตรชุมนุมปี51

การชุมนุมใหญ่ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นับเป็นการเริ่มต้นการชุมนุมใหญ่ต่อต้าน-การล้มล้างรัฐธรรมนูญปี 2550 อันเป็นผลมาจาก ส.ส. และ ส.ว. รวม 150 คนเข้าชื่อยื่นหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ซึ่ง มาจากการลงประชามติเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่ถึง 14 ล้าน 7 แสนเสียง

ในวันถัดมามวลชนหลายหมื่นคนถูกคนเสื้อแดงสกัดโดยใช้อิฐตัวหนอนขว้างปาใส่ ในช่วงที่มีการเคลื่อนย้ายขบวนชุมนุมมาตั้งเวทีชุมนุมยังสะพานมัฆวานฯ จึงนำมาสู่การยกระดับ เป็นการขับไล่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช

วันที่ 26 สิงหาคม 2551 นายสมัคร ลาออกจากนายกฯ  เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการจัดรายการ “ชิมไปบ่นไป” มุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้น ประกาศสนับสนุนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกฯ คนใหม่ และตามกฎหมาย นายสมชาย ต้องเข้าแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อนปฏิบัติหน้าที่ แต่กลุ่มพันธมิตรฯไม่ยินยอม อ้างว่าไม่มีความชอบธรรม

วันที่ 7 ตุลาคม 2551 พันธมิตรฯเคลื่อนขบวนไปปิดล้อมอาคารรัฐสภา เพื่อไม่ให้คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภาเข้าไปภายในสภาได้ เจ้าหน้าที่จึงระดมยิงแก๊สนํ้าตาใส่ และปะทะกับผู้ชุมนุม สุดท้ายการแถลงนโยบายก็ผ่านไปได้ แต่ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 471 คน เสียชีวิต 2 ราย

รายงานเปิดคำร้อง ‘2 แกนนำพันธมิตร’ส่งศาลรธน.ตีความอัยการไร้อำนาจฟ้องคดีชุมนุมปี51| หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3366 ระหว่างวันที่ 17-19 พ.ค.2561 |
e-book-1-503x62-7