เทรนด์การพิมพ์ปรับสู่ดิจิตอล 'เอชพี' ส่งเครื่องพรินต์บรรจุภัณฑ์ช่วยโรงพิมพ์ สตาร์ทอัพสร้างความต่าง

21 พ.ค. 2561 | 08:40 น.
 

"เอชพี" ชี้เทรนด์ธุรกิจการพิมพ์เปลี่ยนสู่ดิจิตอล ธุรกิจค้าปลีก ต้องการสร้างสรรค์แพ็กเกจจิ้งดึงความสนใจลูกค้า สร้างความต่างคู่แข่งรับพฤติกรรมผู้บริโภคต้องการเฉพาะส่วนบุคคล  ล่าสุดส่งเครื่องพิมพ์ฉลากเอชพี อินดิโก้ 6900 หนุนธุรกิจโรงพิมพ์ ปรับตัวสู่ดิจิตอล  ช่วยเอสเอ็มอี-สตาร์ทอัพเริ่มต้นลงทุนทางธุรกิจไม่สูง  

นายปวิณ วรพฤกษ์  กรรมการผู้จัดการบริษัทเอชพีอิงค์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่าขณะนี้แนวโน้มธุรกิจการพิมพ์ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิตอล โดยคาดว่าน่าจะมีสัดส่วนราว 10-15% ที่มีการเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอลแล้ว อย่างไรก็ตามการเติบโตของการพิมพ์ระบบดิจิตอลนั้นมีการเติบโตมากกว่า 10% ขณะที่การพิมพ์ดังเดิม ไม่เติบโตหรือติดลบ ทั้งนี้จากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิตอลนั้นทำให้ธุรกิจพรินติ้งของบริษัทมีการเติบโตรวดเร็วขึ้น  โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์กราฟฟิคโซลูชั่น  เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนการเติบโต
1526886407340 “เมกะเทรนด์ที่เป็นกระแสของโลกขณะนี้การเปลี่ยนแปลงของลักษณะประชากรศาสตร์ ทั้งสังคมสูงวัย และสร้างความเมือง ขณะที่โซเชียลมีเดียและออนไลน์ ทำให้เกิดการค้าไร้พรมแดน อย่างไรก็ตามพฤติกรรมผู้บริโภคกลับสวนทาง โดยผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการที่ไม่เหมือนใครมากขึ้น นอกจากนี้ยังธุรกิจก้าวไปสู่ดิจิตอล และเกิดธุรกิจใหม่ๆ มากขึ้น  ทั้งโมบายแบงกิ้ง ฟินเทค”

ทั้งนี้เอชพีเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมทั้งคอมพิวติ้ง และพรินติ้ง โดยในกลุ่มพรินติ้งมีโปรดักส์ครอบคลุมตั้งแต่โมบายพรินติ้งถึงงานพิมพ์ระดับอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยธุรกิจ เอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ ให้สามารถปรับตัวไปสู่ดิจิตอล และขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลที่ต้องการยกระดับประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีความสมาร์ทมากขึ้น

Photo A6 ล่าสุดได้เปิดตัวดิจิตอลพรินติ้ง ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์กราฟฟิคโซลูชั่น บิสซิเนส เอชพี อินดิโก 6900  เครื่องพิมพ์ฉลากและบรรจุภัณฑ์ ระบบดิจิตอลในไทยเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย โดยจุดเด่นของเครื่องพิมพ์รุ่นดังกล่าว  คือสามารถช่วยธุรกิจโรงพิมพ์ในการปรับตัวสู่ดิจิตอล สามารถสร้างสรรค์งานที่แตกต่างหลากหลายมากขึ้นให้กับลูกค้า ขณะที่กลุ่มเอสเอ็มอีหรือสตาร์ทอัพ มีทางเลือกในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและหลากหลาย ตอบสนองกับความต้องการผู้บริโภคที่มีความต้องการสินค้าที่เป็นส่วนบุคคลไม่เหมือนใครมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในการทำแพ็กเกจจิ้งไม่สูง  โดยสามารถว่าจ้างโรงพิมพ์ที่มีระบบดังกล่าวพิมพ์แพ็กเกจจิ้งในช่วงเริ่มต้นปริมาณไม่สูง เพื่อทดสอบตลาดก่อน ซึ่งหากเป็นระบบเดิม ต้องจากพิมพ์แพ็กเกจระดับ 100,000 ชุดขึ้นไป
Photo-C6 โดยไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงในภูมิภาคอาเซียน โดยมีโรงพิมพ์ 3,000 ราย เป็นกลุ่มลูกค้าเอชพี ราว 50-60 ราย และธุรกิจสิ่งพิมพ์ มีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท  ติดลบ 0-3%  อย่างไรก็ตามตลาดยังมีโอกาสขยายตลาดกลุ่มธุรกิจโรงพิมพ์ ที่ต้องการปรับตัวไปสู่ดิจิตอลได้อีกมาก ขณะที่กลุ่มตลาดแพ็กเกจจิ้ง มีมูลค่า 3 แสนล้านบาท
Photo A4-คุณปวิน (ซ้าย) คุณศุภรัฐ (ขวา)
เชกชั่น IoT นวัฒกรรม หน้า 5 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ |ฉบับ 3365 ระหว่างวันที่ 13-16 พ.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว