ข่าวห้ามเขียน : เบื้องหลัง IFRS9

19 พ.ค. 2561 | 17:06 น.
6595989

 

อยู่ดีๆ ก็ให้แปลกใจ ที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ออกมายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี(กกบ.)ให้เลื่อนการบังคับใช้มาตรฐานบัญชีใหม่  IFRS9 ออกไปอีก 3 ปี จากที่จะบังคับใช้ในปี 2562 เป็นปี 2565

และเป็นข่าวกันครึกโครม  ทั้งๆ ที่ก่อนหน้า เหล่าบรรดาแบงก์เองออกมายอมรับว่า มีความพร้อมมากที่จะเดินหน้าตามมาตรฐานบัญชีใหม่

แต่เบื้องหลังมีข่าวว่ากกร.เองได้รับการสะกิดจากขุนคลัง อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ให้ไปยื่นขอเลื่อนออกไปก่อน เพราะหากนำมาบังคับใช้จริง โดยที่หน่วยงานไม่พร้อม จะเกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจมหาศาล

[caption id="attachment_282683" align="aligncenter" width="503"] อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์[/caption]

เพราะมาตรฐานบัญชีใหม่ เป็นการประมาณการรายได้และความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้าแล้วบันทึกบัญชีเป็นรายการปัจจุบัน อย่างกรณีแบงก์ที่ปล่อยสินเชื่อไปแล้วในวันนี้ ก็ให้ประมาณการณ์หนี้เสียที่จะเกิดขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า

“อย่างปล่อยไป 100 บาท แล้วมองว่า อีก 12 เดือนจะได้คืนเพียง 20 บาท ต้องบันทึกบัญชีวันนั้นเลยว่า สูญเสียไป 80 บาท และต้องตั้งสำรองส่วนนี้ทันที” ถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับกิจการในวันนั้น ถ้าอยู่ในตลาด ราคาหุ้นก็คงลงทันที

เพราะถ้าแบงก์ต้องสำรองเพิ่ม กำไรย่อมลดลง ความเข้มงวดก็ต้องมากขึ้น ผลจะตกไปถึงลูกค้าโดยเฉพาะ เอสเอ็มอีที่เข้าถึงแหล่งเงินยากอยู่แล้ว ก็จะยากยิ่งขึ้น

นี่เป็นแค่เพียงตัวอย่างเดียว และเพียงมุมเดียวที่กระทบ แต่ยังมีอีกหลายด้าน

ซึ่งคนที่เข้าใจเรื่องนี้ ถึงขั้นนั่งมอเตอร์ไซค์เข้ากระทรวงขอพบรัฐมนตรีกันเลยทีเดียว

คอลัมน์ : ข่าวห้ามเขียน |หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3367 ระหว่างวันที่ 20-23 พ.ค.2561
e-book-1-503x62