'บอร์ด รฟท.' เห็นชอบ ร่วมลงทุนเดินรถขนส่งสินค้า เส้นทางขอนแก่น-แหลมฉบัง

18 พ.ค. 2561 | 13:43 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

บอร์ดรฟท.เห็นชอบผลการศึกษาวิเคราะห์การร่วมลงทุนให้เอกชนเดินรถขนส่งสินค้า เส้นทางขอนแก่น-แหลมฉบัง กว่า 2 หมื่นล้าน และแผนแม่บทรวมในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อของไจก้า


นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าการประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยครั้งที่ 10/2561 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 โครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเดินรถขนส่งสินค้า เส้นทางขอนแก่น-แหลมฉบังเรียบร้อยแล้ว

[caption id="attachment_282582" align="aligncenter" width="348"] อานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อานนท์ เหลืองบริบูรณ์[/caption]

“กรณีการจัดซื้อหัวรถจักร 50 คันวงเงินประมาณ 6,500 ล้านบาทบอร์ดได้เห็นชอบให้เร่งประกาศรับฟังความเห็นร่างเอกสารประกวดราคาโดยเร็วต่อไป นอกจากนั้นยังได้เห็นชอบแผนแม่บทรวมในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อ(Integrated Master Plan Development at Bang Sue Grand Station Area) ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(JICA)
ซึ่งจะต้องไปพิจารณารายละเอียดการลงทุนให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง ส่วนกรณีความเห็นชอบรายงานการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของรฟท.ผ่านการพิจารณาเรียบร้อยแล้วเช่นกัน นอกจากนั้นยังให้พิจารณาเรื่องงบลงทุนประจำปี 2562 โดยจะต้องผ่านอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาก่อน”

[caption id="attachment_282481" align="aligncenter" width="503"] ทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ ทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ[/caption]

ด้านนายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ กล่าวว่า อยู่ระหว่างคณะกรรมการพิจารณาว่าจะดำเนินการในรูปแบบไฟฟ้าหรือไม่ มูลค่าก่อสร้างเบื้องต้นประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยรฟท.จะลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ตามแนวเส้นทางที่รฟท.มีอยู่แล้ว ส่วนภาคเอกชนจะลงทุนจัดหารถ บริหารจัดการเดินรถ และศูนย์ซ่อมบำรุง

“รูปแบบเช่นเดียวกับการลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง ขณะนี้รฟท.กำลังพัฒนาไปสู่ระบบรถไฟฟ้า จะต้องดูว่าสินค้าจะมีหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน จะต้องศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงลึกอีกครั้ง ผลความคุ้มค่าด้านการลงทุนและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน”