ฟรุตเทอร์เดย์เครื่องดื่มผลไม้สด โดนใจเด็กมหา'ลัย

19 พ.ค. 2561 | 02:17 น.
"เติร์ด" วรัตม์ ชุนรักษา เด็กหนุ่มวัย 31 ปีเต็ม นิสิตภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เต็มไปด้วยความคิด และเป็นคนชั่งสังเกตมาตั้งแต่สมัยเรียน นับเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจในวันนี้  เติร์ดเล่าว่า สมัยเรียนทุกครั้งหลังเลิกเรียนจะเกิดการรวมก๊วนเพื่อนๆที่จุดนัดพบร้านกาแฟใกล้ๆมหาวิทยาลัย  แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนเดียวที่ไม่ดื่มกาแฟ แต่ต้องเข้าร้านกาแฟเกือบทุกวัน  จึงต้องหันมาโฟกัสที่นํ้าผลไม้ แต่ก็ไม่ถูกใจเพราะไม่สด เนื่องจากเป็นผลไม้แช่แข็งที่ผ่านการปรับแต่งมา

เมื่อเรียนจบ เติร์ด อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง จึงนำแรงบันดาลใจสมัยเรียนนั้นมาสานต่อเริ่มต้นที่จากการเปิดร้านชานมไข่มุกก่อน เพราะขณะนั้นกำลังเป็นที่นิยมในตลาด เปิด 2 สาขาแรกที่เชียงใหม่ ในย่านสถาบันการศึกษา หวังว่าจะเป็นการชิมลางไปก่อน ผ่านไประยะหนึ่ง ก็เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคมากขึ้น เพราะชาไข่มุกรับประทานทุกวันอาจจะอ้วนได้ ซึ่งจะไปสวนทางกับคนรุ่นใหม่ที่รักษาหุ่น

มะม่วงปั่นโดนใจนักท่องเที่ยวจีน

จากมุมมองที่คนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จึงต่อยอดไปที่เครื่องดื่มสมูธตี้ ที่ทำจากผลไม้สดๆ ภายใต้แบรนด์ “ฟรุตเทอร์เดย์” (FRUITURDAY) ที่ประกอบด้วยสินค้า 3 หมวด ไล่ตั้งแต่ 1. กลุ่มเครื่องดื่ม เช่น ผลไม้สดปั่น, สมูธตี้, นํ้าผลไม้คั้นสด 2. กลุ่มไอศกรีมผลไม้ เลือกสรรได้ตามรสต่างๆ เช่น รสมะม่วง ลิ้นจี่ เสาวรส องุ่น กล้วย มะพร้าว สตรอว์เบอร์รี่ และอื่นๆ 3. กลุ่มขนมหวานที่ทำจากผลไม้ เช่น พุดดิ้งมะพร้าว พุดดิ้งมะม่วง ข้าวเหนียวมะม่วง สลัดผลไม้รวม บราวนี่ผลไม้ เป็นต้น โดยเปิดสาขาแรกในย่านถนนนิมมานเหมินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของบรรดานิสิตนักศึกษา และนักท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเฉพาะคนจีน ที่ชื่นชอบรับประทานมะม่วงปั่น ที่มีทั้งแบบใส่นม และใส่โยเกิร์ต

หากถามว่าที่ร้าน “ฟรุตเทอร์เดย์” โดยภาพรวมเมนูไหนขายดีที่สุด ก็ต้องยกให้เครื่องดื่มมะม่วงสาคู ที่มีส่วนผสมของซอสมะพร้าว นอกจากนั้นก็จะเป็น
สตรอว์เบอร์รี่ กล้วย ช็อกโกแลตปั่นรวม ซึ่งปัจจุบันลูกค้าจะดื่มเครื่องดื่มผลไม้ชนิดไหน “ฟรุตเทอร์เดย์” สามารถตอบโจทย์ได้เกือบทั้งหมด เสกสรรเมนูเครื่องดื่ม ของหวาน ไอศกรีมรวมแล้ว 70 เมนู มีราคาตั้งแต่ 49 บาทต่อแก้ว ไปจนถึง 99 บาทต่อแก้ว IM6
วัตถุดิบ 1 ตันต่อเดือน

หลายคนตั้งคำถามว่าแต่ละสาขาใช้ผลไม้จำนวนมากที่ต้องสดและใหม่ แล้วแหล่งที่มาของผลไม้สดๆนั้นมาจากไหนบ้าง เติร์ด ผู้จุดประกาย “ฟรุตเทอร์เดย์” บอกว่ามีตั้งแต่ซื้อมาจากสวนผลไม้ทั่วไป และสวนมะม่วง
ออร์แกนิก รวมถึงการส่งเสริมเกษตรกรที่ปลูกเมลอน โดยรับประกันราคาซื้อ จะมีสัญญาต่อรอบการปลูก ซึ่งใช้เวลาราว 3 เดือน โดยวัตถุดิบทั้งหมดรวมแล้วต่อสาขาจะใช้ในปริมาณราว 1 ตันต่อเดือน

“ฟรุตเทอร์เดย์” กลายเป็นธุรกิจทำเงินสไตล์คนรุ่นใหม่ ที่มาแรง เพราะกล่าวถึงกันในโลกออนไลน์และปากต่อปากกันมาก ไม่น่าเชื่อจากผลไม้ที่สุดแสนจะธรรมด๊า  ธรรมดา...ถูกยกขึ้นมาต่อยอดสร้างรายได้ที่ไม่ธรรมดา มีช่องทางรายได้ตั้งแต่สาขาที่บริหารจัดการเอง 3 สาขา ที่ประตูท่าแพและที่ถนนนิมมานเหมินทร์ จ.เชียงใหม่ และห้างโรบินสัน สาขาศรีราชา และแฟรนไชส์ ที่มีทั้งหมดกว่า 10  สาขา กระจายอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดลพบุรี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และอุดรธานี  และ 1 แห่งที่ประเทศสิงคโปร์
GP-3367_๑๘๐๕๒๑_0012 สำหรับรูปแบบแฟรนไชส์มีให้เลือกถึง 3 ขนาด (ดูตาราง)  โดยสิ่งที่แต่ละสาขาจะได้ เช่น สูตรคู่มือสินค้าเมนูต่างๆ หัวเชื้อพุดดิ้ง มีเทรนนิ่งในช่วงตั้งไข่ และออก แบบหน้าร้านที่ส่วนใหญ่ เติร์ด จะเป็นผู้ออกแบบเองโดยใช้ประสบการณ์จากที่เรียนมา โดยแต่ละแห่งจะมีรายได้เฉลี่ยต่อสาขาตั้งแต่ 10,000-15,000 บาท ส่วนยอดขายรวมจะอยู่ที่ตั้งแต่ 10-15 ล้านบาทต่อปี

ธุรกิจเติบโตมาได้ถึงจนวันนี้ เติร์ด บอกว่า ต้องผ่านอุปสรรคมากมาย เพราะโตไวเกินไป จนรับมือไม่ทัน ทั้งการบริหารจัดการที่หน้าร้าน การรับมือกับโรงงานผลิต นํ้าเชื่อม การผลิตขนมให้ได้คุณภาพ อีกทั้งการคัดสรรวัตถุดิบต้องมีคุณภาพ แต่ก็ผ่านวิฤติมาได้ด้วยหลักคิดที่มองบวกว่า ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ และต้องลำดับความสำคัญของปัญหาให้ถูกก่อน จากนั้นก็เลือกลงมือแก้ไขในส่วนที่สำคัญที่สุดไปถึงส่วนที่สำคัญน้อยที่สุด ทำให้ “ฟรุตเทอร์เดย์” ที่กำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 5 ดูเป็นแบรนด์ที่ใหญ่ขึ้น มีหนังสือรับรองมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าการันตี IM5
เดินแผนขยาย 3 ส่วน

สะท้อนมาถึงแผนขยายธุรกิจ ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน  คือ ขยายสาขาฟรุตเทอร์เดย์ คาเฟ่ ในทำเลในโซนแหล่งท่องเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง  ส่วนในและกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่จะเพิ่มจำนวนสาขาแฟรนไชส์สำหรับฟรุตเทอร์เดย์ เอ็กเพรส ให้ได้อีก 3 สาขาภายในปี 2561 นี้  ส่วนในต่างประเทศจะขยายที่สิงคโปร์ ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจา เปิดสาขาเพิ่มในทำเลใกล้มหาวิทยาลัย

ประเมินจากการเติบโตแล้วถือว่าเดินมาถูกทาง สำหรับคนที่ยังไม่เคยลิ้มลอง“ฟรุตเทอร์เดย์” แบบสดๆ ฟินๆต้องไปพิสูจน์กัน เพราะพนักงานทุกคนถูกวางระบบให้ยึดหลักแบบเดียวกันทุกหน้าร้านตามสโลแกน “ไม่สด ไม่ฉํ่า เราไม่เสิร์ฟ” จนเป็น ที่มัดใจลูกค้าหลากกลุ่มถึงทุกวันนี้ !!

เซกชั่น SME | หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3367 | วันที่ 20-23 พฤษภาคม 2561


e-book-1-503x62-7