24 For Changeดัน‘อุดรธานี’ศูนย์กลางเชื่อม GMS

29 พฤษภาคม 2561
24 For Changeดัน‘อุดรธานี’ศูนย์กลางเชื่อม GMS

อุดรธานี หัวเมืองเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง หรือ (GMS : Greater Mekong Subregion) โดยธรรมชาติ และเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดี เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000-7,000 ปี จากหลักฐานการค้นพบที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน และภาพเขียนสีบนผนังถํ้าที่อำเภอบ้านผือ และเป็นจังหวัดที่ได้ชื่อว่าภาคเอกชนมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจจังหวัดหนึ่งของภาคอีสาน “ฐานเศรษฐกิจ” ได้สัมภาษณ์" นายวัฒนา พุฒิชาติ" ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ถึงทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุดรธานี

เปิดแผนพัฒนา4ปี

จังหวัดอุดรธานี ได้จัดทำแผนการพัฒนาจังหวัดอุดรธานี 4 ปี (ปี 2561-2565) เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ยึดถือแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน โดยทิศทางการพัฒนา ปี 2561-2565 กับ 8 ศักยภาพ 5 ความท้าทาย 24 โครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลง (24 For Change) เพื่อให้ผู้บริหารทุกภาคส่วนได้ยึดถือในการปฏิบัติงาน มีความเข้าใจทิศทางของแผนการพัฒนาจังหวัดและเพื่อใช้สื่อสารทิศทางการพัฒนาจังหวัดไปยังผู้ลงทุนทั้งจากในและต่างประเทศได้อีกด้วย

wat

ทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุดรธานี ปี 2561-2565 กับ 8 ศักยภาพ 5 ความท้าทาย 24 โครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลง (24 For Change) ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยศักยภาพของจังหวัดอุดรธานี และความท้าทายต่อการพัฒนา ส่วนที่ 2 เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุดรธานี ปี 2561-2565

ในส่วนศักยภาพของจังหวัดอุดรธานี มีอยู่ 8 ด้าน ประกอบด้วย 1.การมีที่ตั้งของเมืองอุดรธานีที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางด้านความมั่นคงในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง และคาบสมุทรอินโดจีนและการที่ถูกจัดเข้าไปอยู่ในเส้นแนวทางตามยุทธศาสตร์ One Belt One Road ของจีน เป็นแนว corridor ตามแผนพัฒนาระบบทางรถไฟทางคู่ของรัฐบาลไทย และแนวเส้นทางโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน 2.การเป็นที่ตั้งสนามบินขนาดใหญ่ที่ได้รับการยกระดับเป็นท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี 3.การถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลาง ทางด้านการค้า การลงทุน การบริการ และเป็นประตูสู่กลุ่มประเทศ GMS ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

4.การเป็นศูนย์กลางตลาดสินค้าการเกษตร เป็นที่ตั้งของตลาดการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน พื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 97 ไร่ มีสินค้าการเกษตรทั้งในและจากประเทศจีนกลุ่มประเทศ GMS เข้า-ออก มากกว่า 1,000 คัน/วัน มูลค่าซื้อขายกว่า 120 ล้านบาท/วัน 5.มีศักยภาพการก้าวเข้าสู่การเป็นเมืองของการจัดการประชุมสัมมนาและแสดงนิทรรศการ หรือ MICECity ที่สามารถเชื่อมโยงไปยังกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา, สปป.ลาว,เมียนมา และเวียดนาม) และ GMS 6.เป็นเมืองต้นกำเนิดแหล่งอารยธรรม 5,000 ปี ซึ่งถือว่าเป็นศักยภาพที่สำคัญคือ การเป็นต้นกำเนิดของแหล่งอารยธรรมของมนุษย์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ เมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว 7.การเป็นเมืองศูนย์กลางของผ้าทอมือของอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง หรือ GMS ซึ่งเมืองอุดรธานี ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งขายผ้าทอมือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและของอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขงด้วยและ 8.การเป็นเมืองแห่งธรรม เพราะเป็นจังหวัดที่มีวัดตั้งอยู่มากเป็นอันดับ 3 ของประเทศและเป็นจังหวัดที่มีพระเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพของประชาชน พุทธศาสนิกชน เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว หลวงตาบัว เป็นต้น

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

ส่วนความท้าทายต่อการพัฒนาจังหวัดอุดรธานีมีอยู่ 5 ด้าน คือความท้าทายด้านความเหลื่อมลํ้า และปัญหาความยากจน, ความท้าทายด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการรักษาส่วนแบ่งการตลาดของภาคธุรกิจในพื้นที่, ความท้าทายด้านการพัฒนามนุษย์และการยกระดับการศึกษา, ความท้าทายด้านการรักษาความสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ การจัดการขยะมูลฝอยของเสียและมลพิษ และความท้าทายด้านความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยว

24 For Change

ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุดรธานี ปี 2561-2565 ยุทธศาสตร์ดังกล่าว มุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ ศูนย์การค้า การลงทุนอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง ด้วย 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ 24 โครงการหลักเพื่อการเปลี่ยนแปลง หรือ 24 For Change เพื่อการขับเคลื่อนให้ไปสู่เป้าประสงค์ที่วางไว้ทั้งหมด 6 ยุทธศาสตร์ ดังกล่าวโดยในแต่ละยุทธศาสตร์ประกอบไปด้วย 4 กลยุทธ์ และในแต่ละกลยุทธ์จะมี 4 โครงการหลัก จึงเป็นที่มาของโครงการหลัก 24 โครงการเพื่อการเปลี่ยน แปลง หรือ 24 For Change ยุทธศาสตร์ดังกล่าวว่าเปรียบเป็นดั่งต้นไม้ 6 กระถางมีดอกไม้ 24 ดอก

6 ประเด็นยุทธศาสตร์ (ดูกราฟิกประกอบ)

MP21-3367-A
“อุดรธานี”ปี 2565

ส่วนสิ่งที่อยากเห็นในปี 2565 อยากเห็นอุดรธานีเป็นเมืองศูนย์กลางการเดินทางคมนาคม โดยเฉพาะในด้านการเดินทางด้วยเครื่องบินเชื่อมโยงไปทั่วประเทศ และมีความพร้อมในการที่จะเป็นศูนย์กลางในการบินเชื่อมโยงไปยังอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง หรือ GMS และประเทศต่างๆ ในรัศมี

สิ่งต่อไปคือการเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว ประชุมสัมมนาและการแสดงนิทรรศการ (MICE& Tourism City) ซึ่งจังหวัดอุดรธานี ก็มีความพร้อมอยู่แล้ว

e-book-1-503x62