‘สมคิด’ ชวนเกาหลีลงทุนในไทย

17 พ.ค. 2561 | 10:59 น.
‘สมคิด’ ชวนเกาหลีลงทุนในไทยเพื่อเป็นฐานธุรกิจรุกสู่ตลาด CLMVT โดยขอให้เชื่อมั่นไทยจะไม่ลำเอียงดูแลนักลงทุน พร้อมเตรียมหารือฑูตเกาหลีใต้เพื่อจัดประชุม KOTCOM ครั้งที่ 2 ภายในปีนี้

- 17 พ.ค. 61 - ในงานสัมมนา “Korea-Thailand 60th Anniversary of Diplomatic Relations: Maekyung Thailand Forum” ซึ่งจัดโดย เมคยอง มีเดีย กรุ๊ป (Maekyung Media Group) สื่อด้านธุรกิจของเกาหลีใต้ เนื่องในโอกาสที่ นายเพค อุน-กยู (Mr. Paik Un-gyu) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน (Ministry of Trade, Industry and Energy: MOTIE) สาธารณรัฐเกาหลี นำคณะหน่วยงานภาครัฐ นักธุรกิจ และนักลงทุนชั้นนำในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมรายใหญ่ จากสาธารณรัฐเกาหลี ราว 1,170  คนจาก 70 บริษัท เดินทางมาศึกษาลู่ทางการลงทุนในประเทศไทย เพื่อฉลองในโอกาสครบรอบ 60 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ S__6086707

นายเพค อุน-กยู กล่าวว่า ปัจจุบันมีนักธุรกิจของเกาหลีเข้ามาลงทุนในไทยแล้วไม่น้อยกว่า 400 บริษัท ทำให้เกิดการจ้างงานไม่น้อยกว่า 30,000 ตำแหน่ง ช่วยกระตุ้นอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมาก ด้วยจุดแข็งที่เกาหลีมองประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน และยังเป็นศูนย์กลางผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับ 4 ของโลก สะท้อนการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ของเกาหลีที่มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ และพลังงานทดแทน เป็นต้น ทั้งนี้ อยากให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นระหว่างกัน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างเท่าทัน เราจะเห็นแก่ตัวไม่ได้เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งทางการค้า ดั่งสุภาษิตโบราณที่ว่า ทำนาต้องเอากล้า ทำปลาต้องเอาเกลือ เพราะไทยและเกาหลีเป็นประเทศที่เน้นพึ่งพาการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งหวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศจะใช้โอกาสนี้ร่วมมือกันขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

นาย อุน-กยู กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเมื่อเทียบขนาดเศรษฐกิจของทั้งไทยและเกาหลีใต้แล้ว สัดส่วนการลงทุนระหว่างกันนับว่า ยังน้อย ดังนั้นทางเกาหลีต้องการ จะส่งเสริมสนับสนุนให้มีการลงทุนระหว่างกันมากยิ่งขึ้น รวมถึงความร่วมมือทางการด้านการเมืองด้วย เพื่ออนาคตที่สดใส และในเร็วๆ นี้ จะเชิญนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เดินทางไปสานความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการลงทุนระหว่างสองประเทศต่อไป S__6086706

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ครบรอบ 60 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย–เกาหลีใต้ กับโอกาสของเกาหลีใต้ในการลงทุนในไทย” โดยระบุว่า รอนักธุรกิจเกาหลีใต้ 2 ปี นับจากที่ได้ไปเยือนประเทศเกาหลีใต้ในช่วง 2 ปีก่อนจึงมีความยินดีสูงสุดและจะนำสู่การเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่แน่นเฟ้นของทั้งสองประเทศต่อไปในอนาคต และการเข้ามาครั้งนี้ของนักลงทุนเกาหลีใต้ เป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสมในสถานการณ์บ้านเมืองของไทยที่สงบ การเมืองมีเสถียรภาพ และไทยกำลังจะมีการเลือกตั้งในช่วงต้นปีหน้า ขณะที่เศรษฐกิจประเทศ มีแนวโน้มแจ่มใส เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวและเติบโตอย่างมีเสถียรภาพจาก 1% ในปี 2014 เป็น 3%ในปี 2015 และ 3.3% ในปี 2016 เพิ่มเป็น 3.9%ในปี 2017 และคาดว่าปีนี้ จะเศรษฐกิจไทยจะโต ทะลุ 4% แน่นอน จากการฟื้นต้วของการบริโภค ภาคอุตสาหกรรม ภาคส่งออก การลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว และขอขอบคุณนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยในปีที่แล้วถึง 1.7 ล้านคน สูงเป็นอันดับ 3 ด้านเงินเฟ้อของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ด้านทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับสูงกว่า 200,000 ล้านดอลลดาร์สหรัฐฯ ธนาคารโลกเห็นว่า เศรษฐกิจไทยแจ่มใส

ด้านภูมิรัฐศาสตร์ของไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงของเอเชียอย่างแท้จริง เขตความร่วมมือเศรฐษกิจและการค้าที่ใหญ่ที่สุดอย่าง RCEP และ Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership (CPTTP) ภายใต้การนำของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอนุภูมิภาค CLMVT จะเชื่อมเศรษฐกิจไทยและประเทศอื่นๆ ในวงกว้าง ซึ่ง จีน ยุโรป ญี่ปุ่น ต่างสนใจ ขณะที่ไทยอยู่ใจกลาง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ย่อมเป็นศูนย์กลางโดยธรรมชาติ มีผลให้ธุรกิจยักษ์ใหญ่ต่างเลือกไทยเป็นศูนย์กลางในการทำธุรกิจเพื่อรุกสู่ประเทศอื่น ๆโดยใช้ความเชื่อมโยงทางภูมิศาสตร์ และไทยเตรียมการจัดการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ครั้งที่ 8 ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในวันที่ 15-16 มิ.ย.นี้ มีสมาชิกร่วมประชุม 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม ซึ่งเป็นการประชุมผู้นำประเทศที่จะกำหนดยุทธศาสตร์ที่ประเทศอื่นๆ สามารถเข้ามาร่วมมือได้ 20180517112518

นายสมคิด กล่าวว่า การเดินทางมาเยือนครั้งนี้ น่าเป็นโอกาสที่ดีที่เกาหลีจะประเมินศักยภาพไทยและแสวงหาพันธมิตรธุรกิจในไทย ช่วงนี้จึงเป็นจังหวะเวลาเหมาะที่จะเชือมโยงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมได้ รัฐบาลไทยขณะนี้มีความมุ่งมั่นจะปฎิรูปเศรษฐกิจประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับความสามารถประเทศและเปลี่ยนผ่านจากอนาลอคไปสู่ดิจิทัล ฉะนั้น ในอนาคตข้างหน้า จะมีโครงการลงทุนครั้งใหญ่ในเมกะโปรเจค จะมีการระดมทุน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพเศรษฐกิจไทย ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยออกนโยบาย Thailand 4.0 เพื่อสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ที่มีมูลค่ามากขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต และต้องการต่อยอดอุตสาหกรรมรถยนต์ใหญ่ไทยมีขนาดอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้สู่อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต เดินหน้าสร้างไบโออีโคโนมี และก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบิน ซึ่งแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในไทยถึงปีละ 35 ล้านคน จึงมั่นใจอุตสาหกรรมเหล่านี้ จะเป็นจุดแข็งของไทย

นายสมคิด กล่าวว่า เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทยและเกาหลีใต้ให้ดียิ่งขึ้น จะหารือกับฑูตเกาหลีใต้ เพื่อจัดการประชุมคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี – ไทย ครั้งที่ 2( Korea – Thailand Committee on Economic Cooperation – KOTCOM) ภายในปีนี้ โดยตนจะเตรียมการอย่างดีเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น แต่นักลงทุนเกาหลีใต้ ต้องเชื่อว่า ประเทศไทยมีศักยภาพ ดังนั้นการเดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้ ขอให้ศึกษาและเชื่อมั่นไว้วางใจว่า ไทยเป็นเพื่อนจะดูแลนักลงทุนเกาหลีเป็นอย่างดี จะสร้างศักยภาพขยายธุรกิจได้ และที่สำคัญอย่างยิ่ง ขอให้มีความเชื่อมั่นว่า หากทำงานร่วมก้นจะสามารถบรรลุสิ่งที่ต้องการได้ ตามที่ตนชื่อสมคิด แปลว่า คิดอะไรก็สมปรารถนาอยู่เสมอ

นายสมคิด กล่าวว่า ปัจจุบัน เกาหลีเป็นคู่ค้าอันดับที่ 10 ของไทย และไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 15 ของเกาหลีใต้ การลงทุนเกาหลีในไทยอยู่อันดับที่ 12 ขณะที่ไทยต้องการการลงทุนจากเกาหลีทั้งสิ้น เพราะปัจจุบัน ประเทศเกาหลีใต้ มีจุดแข็งหลายๆ ด้าน ทั้ง อุตสาหกรรมยานยนต์มีฮุนได สื่อสารโทรคมนาคมมีซัมซุง แอลจี และอื่นๆ อุตสาหกรรมเหล็ก รถไฟฟ้า เครื่องบิน ดิจิทัล เกาหลีใต้ จึงไม่เป็น 2 รองใคร ประเทศไทย จึงมองเกาหลีใต้เป็นตัวอย่างทั้งสิ้น การเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีและไทยเริ่มพร้อมๆ กันแต่เกาหลีก้าวหน้ามาก ไทยสร้างโครงการรเบียงเศรฐษกิจภาคตะวันออก เพื่อเป็นพอร์ตของ CLMVT เกาหลีจึงเป็นตัวอย่างของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศไทยต้องการสร้างกระแสของการปฏิรูป แต่ต้องการมิตรสหายที่จะเข้ามาร่วม และเกาหลีใต้เป็นเป้าหมายของประเทศไทย

20180517112533 นายสมคิด ยังเชิญชวนให้นักลงทุนเกาหลีใต้ เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างเดินหน้าโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น โครงการรถไฟฟ้าหลายสายในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นต้องการให้ทางเกาหลีเข้ามาร่วมมีส่วนด้วย เพราะว่า ธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ในไทย จะมีโอกาสมาก หากสามารถเปิดตัวโครงการได้ก็จะได้ประโยชน์จากการเข้ามาลงทุน และประเทศไทย และยังมีโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี ที่รองรับการลงทุนใหม่ๆ ยืนยันว่า ประเทศไทยไม่ลำเอียงดูในการแลนักลงทุน ดูแลเฉพาะญี่ปุ่นตามที่นักลงทุนเกาหลีเคยรู้สึก ยืนยันว่า ประเทศไทยจะดูแลนักลงทุนอย่างเท่าเทียม นายสมคิด ยังย้ำว่า ทุกบริษัทเกาหลีใต้มีโอกาสเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

ส่วนการที่นักลงทุนเกาหลีต้องการถือหุ้นในบริษัทที่ลงทุนในไทยมากกว่า 49% นั้น เรื่องดังกล่าว รัฐบาลไทยอยู่ระหว่างพิจารณาจะทบทวนกฏหมายการถือหุ้นของต่างชาติในกิจการในประเทศไทยที่ปัจจุบันกำหนดไว้สูงสุดที่ 49% ดังนั้นขอให้นักลงทุนติดตามข่าวต่อไป ส่วนการเข้ามาลงทุนในตลาดทุนไทยนั้น ตลาดทุนไทย ปัจจุบันไม่เป็นรองประเทศใดในอาเซียน ดังนั้น จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มการสื่อสารให้กับนักลงทุนเกาหลีให้มากยิ่งขึ้น ในส่วนของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่นักลงทุนเกาหลีสนใจ ก็ยังมีโอกาสที่อุตสาหกรรมนี้จะเติบโตได้

นายสมคิด กล่าวว่า นักธุรกิจเกาหลีมีความเข้มแข็งและไม่เป็นที่สองรองใคร ประเทศไทยมีนโยบายความเท่าเทียมในการดูแลนักลงทุน และยังสั่งการให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดทำนโยบายที่จะดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนเกาหลีใต้ไปด้วยแล้ว สำหรับซัมซุงปัจจุบัน ลงทุนหลายด้านในประเทศไทย แต่ยังไม่ลงทุนด้านสื่อสารโทรคมนาคมแต่ไปลงทุนในเวียดนาม จึงต้องการเชิญชวนให้มาลงทุนในประเทศไทย เพื่อสร้างโอกาสในตลาด CLMVT ที่มีขนาดตลาดถึง 250 ล้านคน

ด้านสายการบินต้นทุนต่ำของเกาหลีใต้ ที่สนใจธุรกิจนี้ในประเทศไทย ประเทศไทยมียอดนักท่องเที่ยวปีละกว่า 35 ล้านคน อุตสาหกรรมนี้ จึงเติบโตเร็วมาก จึงเปิดโอกาสที่จะเชื่อมโยงประเทศต่างๆ รอบประเทศไทย ดังนั้นในอนาคตประเทศไทยจะก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค ด้านการลงทุนของสายการบินต้นทุนต่ำ ล่าสุดบริษัท ไทยแอร์เอเซีย มีโครงการลงทุน 150 ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานหรือ MRO และลงทุนสร้าง lowcost terminal เพื่อเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวต่างจังหวัดของไทยด้วย

20180516033639 สำหรับกิจกรรมของคณะเกาหลี เริ่มตั้งแต่เมื่อวานนี้ (16 พ.ค.) ซึ่งทาง บีโอไอ กระทรวงอุตสาหกรรมและโคเรียไบโอ หรือ องค์กรส่งเสริมเทคโนโลยีชีวภาพของสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Biotechnology Industry Organization: KoreaBio) จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยี ตลอดจนความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การสัมมนา การจับคู่ทางธุรกิจ การสำรวจลู่ทางการลงทุนไปแล้ว โดยฝ่ายไทยมีน.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ และกระทรวงอุตสาหกรรม โดยนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ฝ่ายเกาหลี ผู้ลงนามคือ นายจอง ซอน ซอ (Mr. Jeong-Sun Seo) ประธานโคเรียไบโอ โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นสักขีพยาน

ประเทศเกาหลีใต้ มีการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ทันสมัยและได้รับการยอมรับในระดับโลก ทั้งด้านอิเล็กทรอนิกส์ ด้านดิจิทัลรวมถึงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย โดยเฉพาะด้านไบโอเทคโนโลยี ดังนั้น ทางบีโอไอ จึงต้องการเชิญชวนให้ธุรกิจชั้นนำของเกาหลีใต้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ซึ่งพร้อมรองรับการลงทุนด้านนวัตกรรมและดิจิทัลในพื้นที่ EECi และ EECd รวมทั้งการลงทุนพัฒนาสมาร์ทซิตี้ในประเทศไทย

สำหรับมาตรการส่งเสริมการลงทุน ที่ออกมาล่าสุด เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2561 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบีโอไอ ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุน ที่จะช่วยดึงดูดการลงทุนจากเกาหลีใต้ได้ เช่น มาตรการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ท ซิตี้ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย คือ บริษัทผู้พัฒนาระบบอัจฉริยะด้านต่างๆ ซึ่งบริษัทชั้นนำของเกาหลีใต้มีศักยภาพสูงมาก  และยังมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่อีอีซี มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีมากกว่าเดิม จะช่วยเพิ่มแรงจูง