คลังเดินหน้าตั้งกองทุนกบช. ชี้จำเป็นต้องมีสำนักงานมาบริหารจัดการ

23 พ.ค. 2561 | 05:18 น.
คลังแจงร่างกฎหมาย กบช.อยู่ในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา เมินเสียงต้าน เดินหน้าตั้งกบช. หากกฎหมายมีผลบังคับ เหตุเป็นเรื่องการบริหารงานปกติ ไม่เกี่ยวกับบริหารเงินกองทุน

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยประมาณการว่า จำนวนผู้สูงอายุจะมีถึง 20 ล้านคนในปี 2568 ทำให้เป็นภาระต่องบประมาณรัฐบาล โดยคาดว่า ในปี 2567 รัฐบาลจะมีงบประมาณในการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เบี้ยยังชีพและสมทบกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.)ถึง 6.98 แสนล้านบาท คิดเป็น 15.83% ของภาระงบประมาณ  จึงมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ...เพื่อจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.)

แต่ปัจจุบันกำลังได้รับการคัดค้านจากเอกชนในการจัดตั้งสำนักงานขึ้นมาดูแลกองทุน กบช. เพราะเห็นว่า กบช.เป็นเงินของภาคเอกชนทั้งหมด โดยที่ลูกจ้างจ่ายและนายจ้างสมทบ ไม่มีเงินจากรัฐมาเกี่ยวข้อง จึงไม่เห็นความสมเหตุสมผลที่จะให้รัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวในการบริหารจัดการไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมเจ้าของเงินควรมีอิสระในการเลือกนโยบายการลงทุนและผู้จัดการกองทุนและเรียนรู้การจัดการเงินออมของตนเอง

porn

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)เปิดเผยว่าขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ...อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา หลังจากผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)ไปแล้ว ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ตามม.77 แห่งรัฐธรรมนูญไปแล้วหากสำนักงานกฤษฎีกาจะสอบถามในฐานะหน่วยงานรัฐก็ต้องยืนยันตามร่างกฎหมายที่เสนอไป

“เราคงพูดรายละเอียดมากไม่ได้ เพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกา แต่ประเด็นที่เอกชนค้านนั้นเห็นว่า การตั้งสำนักงานขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการเป็นเรื่องปกติ ซึ่งก็เหมือนกับกอช. หรือ กบข.ที่ต้องมีหน่วยงานเข้ามาบริหาร เพราะจะมีบริษัทเล็กๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายมาดูแลในเรื่องนี้ ก็ต้องให้มีสำนักงานการกลางมาช่วยดูแล ส่วนการบริหารการลงทุนจะเป็นอีกเรื่อง ซึ่งก็ต้องขึ้นกับเรื่องทางสำนักงานจะว่าจ้างกองทุนรายเดียวหรือหลายรายมาบริหาร”

อย่างไรก็ตามกบช.เป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ ก็จะมีรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่อาจจะมีเงินสะสมไม่เพียงพอก็ต้องจัดตั้งกบช.ขึ้น ซึ่งรัฐเองก็ต้องสมทบเงินเข้าไปด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า มีเงินรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

ทั้งนี้กระทรวงการคลังคาดการณ์ว่า ปีแรกของการจัดตั้งกบช.จะมีเงินสะสมในส่วนของสมาชิกและนายจ้างรวมราว 6 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันที่มีแรงงานในระบบราว 16 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้มีลูกจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคสมัครใจไปเพียง 3 ล้านคน มีเงินกองทุนรวมกันประมาณ 9 แสนล้านบาท  ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 12-13 ล้านคน ยังไม่มีระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าว จะกำหนดให้ลูกจ้างและนายจ้างต้องเข้าเป็นสมาชิกกบช.

สำหรับบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ภาคสมัครใจ อยู่แล้ว หากอัตราการส่งเงินสะสมและสมทบเข้ากองทุนไม่ตํ่ากว่าอัตราที่กฎหมาย กบช.กำหนด ก็ไม่จำเป็นต้องโอนเข้ามาเป็นสมาชิกของกบช. โดยยังคงอยู่ในระบบเดิมได้ แต่หากอัตราเงินสะสมและสมทบตํ่ากว่าที่ กบช.กำหนดหากสมัครใจเพิ่มเงินสะสมและสมทบให้เท่ากับหรือสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด ก็จะไม่ถูกบังคับให้ต้องเข้ากบช.
MP19-3367-A

 

 

 

หน้า 19 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,367 วันที่ 20-23 พ.ค. 2561  e-book-1-503x62-7