ข้าพระบาท ทาสประชาชน : บทเรียนการเมือง การเลือกตั้งมาเลเซีย

16 พ.ค. 2561 | 09:55 น.
3652626 สถานการณ์การเมืองมาเลเซีย ในช่วงเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีความขัดแย้งแตกแยกของคนในชาติลักษณะที่คล้ายคลึงกับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง สาเหตุก็มาจากการที่รัฐบาลพรรคอัมโนที่ปกครองมาเลเซียมาร่วม 60 ปี ที่มีนายราจิบ ราซัค เป็นหัวหน้าพรรคและเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการสนับสนุนให้ขึ้นสู่อำนาจจากนายมหาธีร์ อดีตผู้นำ  มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต ใช้อำนาจเพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยเฉพาะการทุจริตและการถูกกล่าวหาการยักยอกเงินจากกองทุนพัฒนาประเทศ กรณี 1MDB ซึ่งถือเป็นกรณีทุจริตที่ฉาวโฉ่ที่กระฉ่อนไปทั่วโลก มีมูลค่าความเสียหายนับแสนล้านบาท
750x422_801683_1526271791 เมื่อถูกเปิดโปงเรียกร้องให้ดำเนินการกับผู้กระทำความผิด นายราจิบ ก็มีการปกปิดการกระทำความผิด ใช้อำนาจเข้าแทรกความเป็นอิสระของสถาบันตุลาการ รัฐสภา และสำนักงานอัยการสูงสุด และสถาบันอิสระอื่น ๆ ทำทุกวิถีทางให้ตนเองและพวกพ้อง ญาติพี่น้อง พ้นความผิด ใครหรือหน่วยงานใดที่คิดจะตรวจสอบเรื่องนี้ ล้วนถูกอำนาจเบ็ดเสร็จของนายราจิบจัดการ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลระดับใด จนเกิดกระแสการต่อต้านจากประชาชนมาเลเซียอย่างกว้างขวาง มีการเดินขบวนขับไล่รัฐบาลนายราจิบครั้งใหญ่ มีมวลชนสนับสนุนจำนวนมาก

[caption id="attachment_281623" align="aligncenter" width="503"] ชาวมาเลเซียสวมใส่ ‘เสื้อเหลือง’ ชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ ขับไล่นายกฯ นาจิบ ราซัค ชาวมาเลเซียสวมใส่ ‘เสื้อเหลือง’ ชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ ขับไล่นายกฯ นาจิบ ราซัค[/caption]

ขณะเดียวกันรัฐบาลก็สร้างกลุ่มมวลชนที่สนับสนุนตน ให้ออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเช่นกัน ทำให้เกิดการแบ่งฝ่ายเป็นมวลชนเป็นฝ่ายเหลือง ฝ่ายแดง จนกลายเป็นวิกฤติการเมืองเช่นเดียวกับประเทศไทย เพียงแต่ยังไม่มีกองทัพหรือ ทหารเข้ามาทำการรัฐประหารเท่านั้น ซึ่งก็อาจจะมีบริบทางการเมืองที่แตกต่างกัน คือยังไม่มีการใช้ความรุนแรงด้วยระเบิด อาวุธร้ายแรงหรือกองกำลังติดอาวุธอันธพาลการเมือง เข้าทำร้ายมวลชนเหมือนบ้านเรา

บทเรียนที่น่าศึกษาอย่างยิ่งคือ การที่ประชาชนมาเลเซียจัดการกับผู้นำที่ฉ้อฉล ทุจริต ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จอย่างไร นี่คือสิ่งที่น่าสนใจศึกษาเป็นบทเรียนอย่างยิ่งเมื่อบ้านเมืองตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ ชาวมาเลเซียจึงขอให้มหาธีร์ รัฐบุรุษของคนมาเลเซีย วัย 92 ปี ที่วางมือทางการเมืองไปนานหลายปีแล้วให้ออกมากอบกู้บ้านเมือง แต่ที่สำคัญและยิ่งใหญ่เป็นที่น่าชื่นชมก็คือ การที่ 'มหาธีร์' ยอมออกมาร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชน และหันไปจับมือเป็นพันธมิตรกับ นายอันวาร์ อิบราฮิม ทั้งที่เป็นคู่แค้นทางการเมือง

[caption id="attachment_281628" align="aligncenter" width="503"] อันวาร์ อิบราฮิม อันวาร์ อิบราฮิม[/caption]

โดยเป็นที่รู้โดยทั่วไปว่า มหาธีร์เคยเล่นงานนายอันวาร์ แทบเอาชีวิตไม่รอด จนหลุดพ้นจากตำแหน่งทางการเมือง และถูกดำเนินคดีต้องติดคุกติดตะราง แทบหมดสิ้นอนาคตทางการเมือง แต่เพื่ออนาคตของประเทศชาติ และเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง ทั้งสองคนก็ลืมอดีตลืมบาดแผลในใจ หันมาจับมือกันเพื่ออนาคตของประเทศชาติ

นี่จึงเป็นกรณีตัวอย่างที่ดีที่สุด ที่การเมืองไทยควรจะได้ศึกษาเป็นแบบอย่าง เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซียเกิดขึ้น เป็นโอกาสสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง แก้ปัญหาการเมืองด้วยการเมือง การรวมกันของผู้ยิ่งใหญ่ทางการเมืองทั้งสอง เป็นพันธมิตรพรรคฝ่ายค้านปากาตัน ฮาราปัน ที่นำโดยมหาธีร์ อดีตผู้นำมาเลเซีย จึงเกิดขึ้นในการเลือกตั้งแม้จะถูกนายราจิบ ที่กุมอำนาจรัฐ วางแผนและกลเกมต่าง ๆ เพื่อเอาเปรียบในทางการเมืองทุกวิถีทางเพียงใด

[caption id="attachment_281642" align="aligncenter" width="503"] มหาธีร์ โมฮัมเหม็ด มหาธีร์ โมฮัมเหม็ด[/caption]

พันธมิตรฝ่ายค้านก็สามารถฝ่าฟันอุปสรรค และสร้างกระแสนิยม ปลุกคนมาเลเซียให้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง ล้างอำนาจอันไม่ชอบธรรมของนายราจิบ ด้วยการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง จนสามารถเอาชนะพรรครัฐบาลหรือพรรคอัมโน ได้อย่างช็อคโลก เหนือความคาดหมาย ด้วยประชามติมหาชนชาวมาเลเซีย ทำให้ฝ่ายค้านได้คะแนนเสียงจำนวน สส.ถึง 113 ที่นัง ครองเสียงข้างมากจากรัฐบาลกลางจำนวน 222 ที่นั่ง ทำให้สามารถจัดตั้งรัฐบาล สร้างประวัติศาสตร์การเมืองของมาเลเซีย และทำให้มหาธีร์ กลายเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในวัย 92 ปี  เป็นนายกฯ ที่อายุมากที่สุดในโลก เป็นตำนานและบทเรียนให้ชาวไทย และชาวโลกได้ศึกษาจดจำไปอีกนาน

6548 การเมืองการเลือกตั้งในมาเลเซีย มิได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในมาเลเซียเท่านั้น ย่อมส่งผลสะเทือนถึงการเมือง การเลือกตั้งของไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ชัยชนะของมหาธีร์ จึงเป็นชัยชนะของธรรมะ เป็นชัยชนะของการเมืองที่ยึดเอาความถูกต้อง ผลประโยชน์แห่งชาตินำหน้า เป็นชัยชนะแห่งพลังความสามัคคีของประชาชน บนพื้นฐานของความปรองดองเพื่อชาติโดยแท้จริง
63-e1492932996964 เมื่อหันมามองการเมืองในประเทศชาติของเรา จำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยต้องคิดหาทางออกให้บ้านเมืองของเรา และศึกษาบทเรียนการเลือกตั้งของมาเลเซียเป็นอุทธาหรณ์ หวังว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้ศึกษาและนำกรณีดังกล่าวมาเป็นบทเรียนสำคัญ เพราะการเมือง การเลือกตั้งของมาเลเซียย่อมส่งผลสะเทือนถึงไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ หากคิดจะเดินหน้าเข้าสู่เส้นทางการเมือง อำนาจที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด หากขาดความชอบธรรม และใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ตนและพวกพ้องโดยทุจริต ไม่ซื่อสัตย์ต่อประชาชนแล้ว อำนาจจะยิ่งใหญ่เข้มแข็งเพียงใด ก็ล้มครืนลงได้ด้วยพลังของมหาชน
19399748_10155018986631144_5228355715475657747_n กรณีเลือกตั้งในมาเลเซียจึงเป็นอุธาหรณ์ที่สำคัญยิ่ง ผู้นำการเมืองที่ดี จำเป็นจะต้องสามัคคีกับประชาชนทุกๆพลัง ทุกกลุ่ม ทุกเชื้อชาติในประเทศชาติของตน เพื่อให้มาร่วมกันสร้างอนาคตใหม่ให้กับประเทศ ล้างการเมืองในระบบเก่าที่ทุจริตและสร้างความเสียหายแก่บ้านเมืองให้หมดสิ้นด้วยความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ไม่เห็นแก่พวกพ้องหรือไม่ยอมเอาผลประโยชน์ประเทศชาติไปตอบแทนบุญคุณใคร

สถานการณ์บ้านเมืองยามนี้ ผู้นำประเทศต้องเลิกจับประชาชนไว้เพียงเป็นตัวประกัน ไม่ควรอาศัยโอกาสเพียงแค่ถ้าประชาชนไม่ต้องการทักษิณ กลัวทักษิณกลับมามีอำนาจ ต้องจำยอมอยู่กับระบอบการเมืองแบบทหาร อย่างที่เห็นและเป็นอยู่ โดยมิได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปบ้านเมืองให้ดีขึ้น
Former Manchester City owner Shinawatra gestures during their English Premier League soccer match against Manchester United at the Etihad Stadium in Manchester หรือยังย้ำตามรอยของการเมืองเดิม ๆ หากไม่เก็บรับบทเรียนและไม่คิดเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองเยี่ยงผู้นำประเทศ  อย่างรัฐบุรุษของชาติแล้ว คสช.หรือท่านนายกฯในฐานะผู้นำประเทศ อาจเจอกับสึนามิทางการเมืองแบบเดียวกับการเมืองในมาเลเซีย ก็เป็นได้ ซึ่งหากบ้านเมืองข้างหน้า ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น เดินตามรอยอย่างมาเลเซีย ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเวลาและโอกาส อย่างยากที่จะแก้ไขได้ครับ

...................
คอลัมน์: ข้าพระบาททาสประชาชน | โดย...ประพันธุ์ คูณมี | หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3366 ระหว่างวันที่ 17 -19 พ.ค.2561|
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว