ปชช. กว่า 41 ℅ ยังไม่รู้ "ไทยนิยม ยั่งยืน" ทำอะไร

12 พ.ค. 2561 | 15:34 น.
กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,050 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการรับรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน”การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling)เก็บวิธีด้วยวิธีการลงพื้นที่สัมภาษณ์แบบพบตัว โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ 95%

จากการสำรวจ เมื่อถามถึง โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 41.46 %เคยได้ยินชื่อ โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” มาบ้าง แต่ไม่รู้ว่าทำอะไร 37.81 %ระบุว่า รู้จัก โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” และ20.73 %ระบุว่า ไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินชื่อ โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” เลย

สำหรับช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ โครงการฯพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 62.77% ระบุว่าเคยได้ยินหรือรับรู้ข้อมูลข่าวสารของ โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ รองลงมา 52.00% จากผู้นำชุมชน 29.97 %จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ 24.74 %จากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook หรือ Line 17.35% ครอบครัว เพื่อน หรือคนรู้จัก 14.71% สื่อวิทยุ 6.58 %สื่อสิ่งพิมพ์ 5.05 %ป้ายประกาศ แผ่นพับ หรือใบปลิว 0.92% ช่องทางอื่น ๆ เช่น การลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี หรือเสียงตามสายภายในชุมชน และ0.62 %ทางเว็บไซต์ เช่น Mthai Manager เป็นต้น
216303 สำหรับความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ จากผลสำรวจพบว่า โดยภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่ ระบุว่า “ค่อนข้างเข้าใจ” ในหลักการหรือแนวคิดของโครงการ ฯ เมื่อพิจารณาตามกรอบการดำเนินการทั้ง 10 เรื่อง ดังนี้ เรื่องสัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง 51.71 %/เรื่องคนไทยไม่ทิ้งกัน 47.27 % เรื่องชุมชนอยู่ดีมีสุข 48.39 % เรื่องวิถีไทยวิถีพอเพียง 45.22 % เรื่องรู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย 44.78 %เรื่องรู้กลไกการบริหารราชการ 47.27% เรื่องรู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม 48.20 % เรื่องรู้เท่าทันเทคโนโลยี 48.78 % เรื่องร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด 47.51% และเรื่องงานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน 46.34%

เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการฯ ตามกรอบการดำเนินการทั้ง 10 เรื่อง (เฉพาะผู้ที่เข้าใจ
หรือค่อนข้างเข้าใจเกี่ยวกับหลักการหรือแนวคิดของโครงการ ฯ) พบว่า เรื่องสัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง 49.93 %ค่อนข้างเห็นด้วย เรื่องคนไทยไม่ทิ้งกัน 58.02 %เห็นด้วยมากที่สุด เรื่องชุมชนอยู่ดีมีสุข 54.80% เห็นด้วยมากที่สุด เรื่องวิถีไทยวิถีพอเพียง 57.88% เห็นด้วยมากที่สุด เรื่องรู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย ร
50.40% เห็นด้วยมากที่สุด

เรื่องรู้กลไกการบริหารราชการ 53.94 %ค่อนข้างเห็นด้วย เรื่องรู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม 51.72 %ค่อนข้างเห็นด้วย เรื่องรู้เท่าทันเทคโนโลยี 50.33 %ค่อนข้างเห็นด้วย เรื่องร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด 55.80% เห็นด้วยมากที่สุด และ เรื่องงานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน 49.50% เห็นด้วยมากที่สุด

ความต้องการและความคิดเห็นเพิ่มเติมที่ตัวอย่างต้องการให้รัฐบาลดำเนินงานในโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” 10 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 อยากให้รัฐบาลส่งเสริมการประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน และเพิ่มสวัสดิการให้แก่ คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุไร้ญาติหรือไร้ที่อยู่ 15.53 % อันดับ 2 อยากให้รัฐบาลเพิ่มราคาพืชผลทางการเกษตรให้สูงขึ้น เช่น ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น 13.11 %อันดับ 3 อยากให้ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น 11.29 %
216304 อันดับ 4 อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยหรือคนจนอย่างทั่วถึง 8.13 %อันดับ 5 อยากให้พัฒนาและส่งเสริมด้านการเกษตรให้มากขึ้น เช่น สนับสนุนที่ดินทำการเกษตร จัดสรรแหล่งน้ำทำการเกษตร มีตลาดรองรับสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น 6.67 %อันดับ 6 อยากให้รัฐบาลช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง 5.83 %อันดับ 7 อยากให้รัฐบาลดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง จริงจัง และโปร่งใส 4.98 %อันดับ 8 อยากให้รัฐบาลเพิ่มเงินสวัสดิการของรัฐให้มากขึ้น และอยากให้ช่วยส่งเสริมการศึกษาและจัดกองทุนการศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาสหรือเด็กยากจน ร้อยละ 4.61 อันดับ 9 อยากให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณในการพัฒนาชุมชน 3.64 %และอันดับ 10 อยากให้รัฐบาลปราบปราม และแก้ปัญหาการทุจริต 3.16%

สำหรับความคาดหวังของประชาชนต่อผลการดำเนินงานโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 40.39 %ค่อนข้างคาดหวังว่าผลการดำเนินโครงการจะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น และ 30.25%คาดหวังว่าผลการดำเนินโครงการจะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างแน่นอน โดยให้เหตุผลว่า การดำเนินโครงการฯ จะทำให้ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่

ที่ดีขึ้น สามารถนำเงินไปใช้จ่ายแบ่งเบาภาระในครัวเรือนได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทำให้ได้รับความรู้ และความเข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ก่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ รวมถึงหลักการหรือแนวคิดตามกรอบการดำเนินงานทั้ง 10 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด การยกระดับคุณภาพชีวิต การสร้างจิตสำนึกที่ดี
216305 การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง และการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการบริหารงานราชการในระดับต่าง ๆ ถือเป็นนโยบายที่ดี เพราะทำให้รัฐบาลเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชน เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น และมีหลักการดำเนินงานที่ชัดเจน ประชาชนสามารถเห็นถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการทำโครงการได้ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการดำเนินโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” ของรัฐบาลจะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น นอกจากนี้พบว่ายังมีประชาชนบางส่วน13.51%ไม่ค่อยคาดหวังว่าผลการดำเนินโครงการจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น และ4.78% ไม่คาดหวังเลยว่าผลการดำเนินโครงการจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยให้เหตุผลว่า การดำเนินโครงการยังขาดความต่อเนื่อง และวงเงินงบประมาณมีอยู่อย่างจำกัด

จึงไม่สามารถเห็นผลสำเร็จของโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งการประชาสัมพันธ์และการกระจายข้อมูลข่าวสารยังไม่ทั่วถึง

ทำให้ประชาชนไม่ทราบรายละเอียดและประโยชน์ที่แท้จริงจากการทำโครงการ ที่สำคัญประชาชนมองว่ายังขาดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือแม้กระทั่งในกลุ่มประชาชนเอง ทำให้การดำเนินงานเป็นไปได้ยาก จึงไม่สามารถเข้าถึงและแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างตรงจุด

เมื่อถามถึงการมีส่วนร่วมใน โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” ประชาชนส่วนใหญ่ 57.98 %ระบุว่า จะเข้าร่วมเวทีประชาคมรับฟังหลักการและแนวคิดของโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” 55.02% ระบุว่าจะร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนในโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” 48.66 %ระบุว่า จะเข้าร่วมกิจกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น ตามโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน”