เร่งประมูลแหลมฉบัง 3 มาร์เก็ตซาวดิ้ง 2 ครั้ง ศึกษาข้อมูลออกทีโออาร์ ส.ค.61

11 พ.ค. 2561 | 15:48 น.
2656659 ท่าเรือแหลมฉบัง เดินหน้าประมูลท่าเรือ เฟส 3 ยันต้องทํามาร์เก็ตซาวดิ้งอีก 2 ครั้งก่อนทีโออาร์ คลอด ส.ค.นี้ ต่างชาติ 60 ราย ให้ความสนใจ ชิงโครงการ 1.3 แสนล้านบาท แต่ยังข้องใจผลตอบแทนคุ้มหรือไม่

โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ถือเป็น 1 ใน 5 โครงการ เร่งด่วนของการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี ที่มีความคืบหน้าเป็นลําดับ ซึ่งเมื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม ที่ผ่านมาได้ มีการจัดรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน เพื่อศึกษารูปแบบการลงทุน (มาร์เก็ต ซาวดั้ง) ครั้งที่ 1 ไปแล้ว โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 200 ราย ซึ่งครอบคลุมในหลายสาขา ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ผู้รับเหมา ก่อสร้าง ผู้บริหารท่าเรือ ผู้ใช้บริการ ท่าเรือ กลุ่มนําเข้าและส่งออก สินค้า สถาบันการเงิน เป็นต้น
1 (Custom) ร.ต.ต.มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อํานวยการท่าเรือแหลมฉบัง เปิด เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ใน การเปิดรับฟังความเห็นจากภาค เอกชนครั้งแรกนี้ ได้รับความสนใจ จากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะนักลงทุน จากต่างประเทศกว่า 60 ราย จาก ประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ดูไบ แคนาดา สิงคโปร์ ฝรั่งเศส โดยเฉพาะนักลงทุนจีนเข้ามาร่วม ฟังจํานวนหลายราย เป็นต้น
โดยทางท่าเรือแหลมฉบัง ได้มีการชี้แจงนักลงทุนรับทราบถึง โครงการดังกล่าว แบ่งการดําเนิน งาน เป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรกจะ เป็นการลงทุนในส่วนของการท่าเรือ

แหลมฉบัง ในการจัดหาผู้ประมูล โครงสร้างพื้นฐาน เช่น การถม ทะเลราว 1.6 พันไร่ การขุดร่อง น้ํา ระบบไฟฟ้า น้ําประปา ระบบ บําบัดน้ําเสีย รางรถไฟ เป็นต้น รวมถึงความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อสร้างการรับรู้ ดึงดูดความ สนใจของเอกชน ในส่วนนี้ งบ ประมาณลงทุนคร่าวๆ ประมาณ 4 หมื่นล้าน บาท ส่วนที่ 2 จะ เป็นการประมูลจัดหา เอกชน ที่จะมาก่อสร้าง ท่าเรือและบริหารท่าเรือตาม ที่ท่าเรือแหลงฉบังกําหนด รวมถึง การนําระบบการจัดการขนตู้สินค้า แบบอัตโนมัติมาใช้งานด้วย ใช้งบ ลงทุนคร่าวๆ ราว 8 หมื่นล้านบาท หรือทั้งโครงการราว 1.2-1.3 แสน ล้านบาท อย่างไรก็ตามจะมีการจัด มาร์เก็ต ซาวดั้ง ครั้งที่ 2 ในเดือน มิถุนายน 2561 เกี่ยวกับรายละเอียด
GP-3364_๑๘๐๕๑๑_0017 ร่วมทุนเพื่อจูงใจให้เอกชนที่จะ เข้าร่วมประมูลมีความสนใจมากยิ่งขึ้น เมื่อรับฟังความเห็นทั้ง 3 ครั้งแล้ว จะนํามาปรับปรุงในราย ละเอียด เพื่อจัดทําที่โออาร์ในการ ประมูล ที่คาดว่าจะออกประกาศ ได้ในเดือนสิงหาคมปีนี้ และใน เดือนพฤศจิกายน 2561 คาดว่า จะได้รับผู้ที่ผ่านการคัดเลือก และ เสนอคณะกรรมการนโยบายการ พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวัน ออกเห็นชอบและลงนามในสัญญา และเริ่มก่อสร้างในปี 2562 แล้ว เสร็จในปี 2568

ร.ต.ต.มนตรี กล่าวอีกว่า สําหรับการรับฟังความเห็นที่ผ่าน มา นักลงทุนมองว่าเป็นโครงการ ขนาดใหญ่ แต่การกําหนดอัตรา ค่าภาระ(Tariff) ในอัตราเดียวกัน ท่าเรือแหลมฉบังรยะที่ 1 และ 2 ว่าจะมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน หรือไม่ รวมถึงการปรับเปลี่ยน เงื่อนไขให้นักลงทุนต่างชาติมี สัดส่วนการลงทุนเกินกว่า 49% ได้หรือไม่ ในส่วนนี้จะนําไปหารือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่อไป

นอกจากนี้ นักลงทุนยัง มีข้อกังวลกับเงื่อนไขสัญญา 30 ปี อาจจะสั้นเกินไป เพราะมีความ ไม่แน่นอนว่า จะมีการขยายท่า เทียบเรือในบริเวณใกล้เคียงเพิ่ม ขึ้นอีกหรือไม่ ซึ่งจะทําให้กระทบ ต่อผู้ลงทุน ในส่วนนี้ทางท่าเรือ แหลมฉบัง ก็มีความกังวลในส่วน นี้เหมือนกัน และได้รายงานไป ยังกระทรวงคมนาคมแล้วว่า จะ มีมาตรการอย่างไรกําหนดออก มา ในการกําหนดดูแลไม่ให้นัก ลงทุนได้รับผลกระทบ เป็นต้น

...........................
เชกชั่นอีอีซี | หน้า 11 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ |ฉบับ 3365 ระหว่าง วันที่ 13-16 พ.ค.2561|
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว