ไทยเป็นเจ้าภาพเวที "นโยบายประมงอาเซียน"

09 พ.ค. 2561 | 11:55 น.
ประเทศไทย โดยกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม The 26th Meeting of the ASEAN Sectoral Working Group on Fisheries (26th ASWGFi) ระหว่างวันที่ 7-12 พ.ค. 2561 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร

วันที่ 9 พ.ค. 2561 - เปิดเวทีให้ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อพิจารณานโยบายพัฒนาด้านการประมงของภูมิภาคอาเซียน โดยมีประเทศและองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการพัฒนาการประมงในอาเซียนเข้าร่วมหารือ เพื่อร่วมกันพัฒนาการประมงในภูมิภาคอาเซียนให้เกิดความยั่งยืนและเกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 60 คน


112542

นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการประชุมดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2561 ว่า แผนแม่บทของอาเซียนมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ มุ่งเน้นที่การสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับภูมิภาค ซึ่งการพัฒนาภาคการประมงถือเป็นนโยบายที่อาเซียนได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

เนื่องจาก ปัจจุบันทรัพยากรสัตว์น้ำในภูมิภาคเสื่อมโทรมลงอย่างมาก อันเป็นผลมาจากการทำประมงที่เกินกำลังผลิตของธรรมชาติ การทำประมงอย่างไม่รับผิดชอบ และมีการลักลอบทำการประมงในพื้นที่อนุรักษ์ต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing)


appTP6-3142-A

นอกจากนี้ ในส่วนของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังมีความจำเป็นที่ต้องเร่งพัฒนาและยกระดับการเพาะเลี้ยงตั้งแต่ต้นน้ำกระทั่งถึงปลายน้ำ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ปลอดโรค ปลอดภัย รวมทั้งให้ความใส่ใจกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น การจัดประชุมในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่คณะทำงาน ซึ่งเป็นระดับอธิบดีและระดับผู้ตัดสินใจเชิงนโยบายสูงสุดในการดำเนินงานความร่วมมือ เพื่อพัฒนาการประมงของภูมิภาคที่อยู่ภายใต้การประชุมของระดับรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียน (AMAF) จะได้ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม / โครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ / แผนงานความร่วมมือด้านการประมงของอาเซียน


30-6-2560-14-29-05

อาทิ โครงการด้านความมั่นคงทางอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความปลอดภัยด้านอาหาร ความร่วมมือภายใต้มาตรการต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ จะมีการรายงานความก้าวหน้าโครงการ / กิจกรรมภายใต้ความร่วมมือด้านการประมงระหว่างอาเซียนกับองค์กรระหว่างประเทศ และประเทศผู้สนับสนุน ได้แก่ SEAFDEC, UNEP/GEF, Islamic Development Bank (IDB), สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย อีกด้วย

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมประมงในฐานะตัวแทนประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมและดำรงตำแหน่งประธานการประชุมในครั้งนี้  จะผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนในประเด็นที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ และประเด็นที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการพัฒนาความร่วมมือด้านการประมงที่ประเทศไทยมีบทบาทนำ

 

[caption id="attachment_279913" align="aligncenter" width="503"] อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง อดิศร พร้อมเทพ
อธิบดีกรมประมง[/caption]

โดยจะหยิบยกขึ้นหารือเพื่อเป็นกรอบแนวทางในบริหารจัดการประมงในภูมิภาคที่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างสมดุลและยั่งยืนต่อไป โดยประเด็นการหารือที่สำคัญ ประกอบด้วย

การพัฒนานโยบายประมงร่วมอาเซียน (ASEAN Common Fisheries Policy) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเกษตรและป่าไม้ (AMAF) ครั้งที่ 38 เมื่อเดือน ต.ค. 2559 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย


fish

ในขณะนั้น ได้เสนอให้ประเทศสมาชิกพิจารณาจัดทำนโยบายประมงอาเซียน และที่ประชุมได้ขานรับข้อเสนอ โดยเห็นชอบให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกันพิจารณาจัดทำนโยบายประมงร่วมอาเซียน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการประมงและความมั่นคงทางด้านอาหารในภูมิภาคอันจะสนับสนุนประชาคมอาเซียนที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

คาดว่าการประชุมครั้งนี้จะได้มีความคืบหน้าในการวางแนวทางการดำเนินการพร้อมกับหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนจากองค์กร หรือประเทศคู่เจรจาของอาเซียนเพื่อจัดทำนโยบายประมงร่วมดังกล่าวต่อไป


ra81

การผลักดันความปลอดภัยทางอาหารของอาเซียน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและประเทศคู่ค้า โดยยกระดับมาตรฐานตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงจนถึงส่งออก ซึ่งคณะทำงานประมงอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวอย่างมาก

โดยสนับสนุนให้มีการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีและเหมาะสมของฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของอาเซียน ได้แก่ ASEAN Shrimp GAP :สำหรับกุ้งทะเล ASEAN GAqP ซึ่งเป็นมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วไป ซึ่งทั้ง 2 มาตรฐาน ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีของอาเซียนเรียบร้อยแล้ว


CPF70

ทั้งนี้ มาตรฐานดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจต่อรองกับประเทศผู้นำเข้านอกภูมิภาคการบริหารจัดการด้านโรคสัตว์น้ำข้ามแดนระหว่างประเทศอาเซียน ประเทศไทยมีบทบาทนำด้านโรคสัตว์น้ำเนื่องจากมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญและมีความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ

ที่ใช้ในการดำเนินการ ซึ่งประเทศสมาชิกเล็งเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทย จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายสุขภาพสัตว์น้ำของอาเซียน ASEAN Network of Aquatic Animal Health Centres (ANAAHC) ขึ้น ซึ่งตั้งอยู่ ณ กรมประมง กรุงเทพฯ


m2532b-2

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการตรวจวิเคราะห์โรค การรับรองสุขภาพสัตว์น้ำในภูมิภาคอาเซียน และมีความคืบหน้าในการดำเนินการโดยได้มีการจัดประชุม The 1st Meeting of ASEAN Network of Aquatic Animal Health Centres (ANAAHC) ณ กรุงเทพฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ 21-22 มิ.ย. 2560 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ

โดยมีผู้แทนด้านสุขภาพสัตว์น้ำจากประเทศสมาชิกอาเซียน องค์กรภาคเอกชนด้านสุขภาพสัตว์น้ำ SEAFDEC และ NACA เข้าร่วมในการประชุมครั้งนั้นด้วยการป้องกันยับยั้งและขจัดการทำประมง IUU ประเทศไทยได้พัฒนาและดำเนินการแก้ไขปัญหาการประมง IUU ของไทยในทุกมิติ


112543

โดยมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ซึ่งในส่วนของภูมิภาคอาเซียนที่ผ่านมาประเทศสมาชิกได้ร่วมกันกำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติ (guideline) เพื่อป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมง IUU มาโดยตลอด และประเทศไทยยินดีให้ความร่วมมือพร้อมช่วยเหลือประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาและดำเนินการในการแก้ไขปัญหาการประมง IUU ภายในภูมิภาคให้หมดไป

ทั้งนี้ การจัดประชุมดังกล่าวฯ คาดว่าจะนำไปสู่ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาภาคการประมงในภูมิภาคมากขึ้นเป็นลำดับ และเกิดนโยบายประมงร่วมอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การใช้ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืนภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีความชัดเจนมากขึ้น


……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ไอยูยู ลามประมงพื้นบ้านติดระบบพีพีดีเอนำร่อง "ฉัตรชัย" ยกนิ้วชู "ประจวบ" ชุมชุมตัวอย่าง
ปลื้ม! รัฐมนตรีประมงอียูยกไทยเป็นโมเดลยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานภาคประมง


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว