'บุญชัย' ลั่นสวรรค์ช่วย คลื่น 2300 ติดปีก Dtac

07 พ.ค. 2561 | 05:45 น.
หลังจากบริษัททีโอที จํากัด (มหาชน) และบริษัท เทเลแอสเสท จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มดีแทค ไตรเน็ต พร้อมกับบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด ลงนามในสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคมและสัญญาการ ใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศระบบ 2300 MHz เพื่อเปิดให้บริการ 4G LTE-TDD คลื่น 2300 MHz บนแบนด์วิดธ์60 MHz สัญญา สินสุดปี 2568 ทําให้ทีโอที่จะมีรายได้จากการโรมมิ่งปีละ 4,510 ล้านบาท

นายบุญชัย เบญจรงค กุล ประธานกรรมการบริษัท โท เทิล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) บมจ.) หรือ ดีแทค เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจะทําให้ ดีแทค บริการได้ดีมาก เพราะคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ยังไม่ทราบว่าประมูลหรือจะเลือน ประมูลออกไป “ได้คลื่นมาก็ปลอบใจนะ มีอะไรให้ลูกค้าให้บริการ ได้ เหมือนสวรรค์ช่วยไม่ให้ลําบาก”
boonchai
นายบุญชัย กล่าวอีกว่ารัฐบาลชื่นชมเพราะโครงการของทีโอที (หมายถึงข้อตกลงพันธมิตร คู่ค้าบริการไร้สายคลื่นความถี่ 2300 MHz) เป็นการเสนองาน แบบโปร่งใส เห็นประโยชน์ของ ชาติของสังคมเป็นหลัก ส่วนทาง ทีโอที ก็ดีใจได้ร่วมเป็นพันธมิตร กับดีแทค ทราบมาว่าตื่นเต้นทั้ง องค์กร “ทีโอที่เขาแฮปปีนะ เพราะ มีรายได้จากค่าเช่าเน็ตเวิร์กปีละ 4,510 ล้านบาท”

แหล่งข่าววงการโทรศัพท์ เคลื่อนที่วิเคราะห์ดีลนี้ว่า เมื่อดี แทค ได้คลื่นความถี่ 2300 รัฐบาลชื่นชมเพราะโครงการของทีโอที (หมายถึงข้อตกลงพันธมิตร คู่ค้าบริการไร้สายคลื่นความถี่ 2300 MHz) เป็นการเสนองานแบบโปร่งใส เห็นประโยชน์ของชาติของสังคมเป็นหลัก ส่วนทาง ทีโอที ก็ดีใจได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับดีแทค ทราบมาว่าตื่นเต้นทั้ง องค์กร “ทีโอที่เขาแฮปปีนะ เพราะ มีรายได้จากค่าเช่าเน็ตเวิร์กปีละ 4,510 ล้านบาท”

แหล่งข่าววงการโทรศัพท์ เคลื่อนที่วิเคราะห์ดีลนี้ว่า เมื่อดี แทค ได้คลื่นความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์ ก็ไม่จําเป็นต้องทุ่มเงิน มหาศาลเพื่อชิงการประมูลคลื่น 1800 ให้ได้ เพราะได้คลื่นความถี่ ของทีโอทีไว้รองรับลูกค้าแทนแล้ว ที่สําคัญมีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งอีกด้วย ก็ต้องดูต่อไปว่าดีแทค ยังจะเข้าประมูลคลื่น 1800 หรือไม่ และจะสู้ราคาไปถึงระดับไหน
โดยหากดีแทคไม่ได้คลื่น 1800 ก็สามารถเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์ที่รองรับคลื่นความถี่ 2300 ให้ลูกค้าฟรีและไม่ต้อง กังวลด้วยว่าลูกค้าจะเปลี่ยนค่าย ไปเอไอเอสหรือทรู เพราะเครื่อง 2300 เอาไปใช้ที่ 2 เน็ตเวิร์ก นี้ไม่ได้เว้นแต่เป็น ไอโฟน ที่เป็นมัลติโหมดมัลติแบรนด์

“ถ้าไม่มีใครเข้าประมูล คลื่น 1800 ก็แสดงว่าการจัดการประมูลที่ผ่านมาคือ ความล้มเหลว เป็นผลพวงของการอยากได้หน้าได้ผล งานสร้างภาพลวงตามาตลอด ส่วนต้นทุนเอไอเอสกับทรูจะ สูงกว่าดีแทคมาก เพราะจ่าย ล่วงหน้าไปคนละ 75,000 ล้าน บาทแล้ว ดีแทค ไม่ต้องจ่าย เลยเอางบขนาดนี้ลงทุนสร้างโครงข่าย และซื้อเครื่องแจกลูกค้าได้ 20-30 ล้านเครื่อง สบาย ๆ มาที่หลังแต่ดังกว่า” แหล่งข่าวให้ความเห็น
.................
หน้า 2 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,360 ระหว่างวันที่ 26 -28 เมษายน 2561
e-book-1-503x62