ขาใหญ่ยึดที่เมืองใหม่! ปั่นราคาแปดริ้วทะลุไร่ละ 20 ล้าน

29 เม.ย. 2561 | 09:17 น.
290461-1555 TP11-3258-A

ที่ดินในพื้นที่อีอีซีราคาพุ่งต่อเนื่อง หลัง 'ประยุทธ์' สั่งลุยเมืองใหม่อัจฉริยะ บนเนื้อที่ 1.25 หมื่นไร่ ให้สิทธิประโยชน์เอกชนลงทุน เข้าบอร์ดบีโอไอ 9 พ.ค. นี้ ประเดิมพื้นที่แรกฉะเชิงเทรา ราคาที่ดินขึ้นไปไร่ละ 20 ล้านบาท

จากนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หนึ่งในโครงการเร่งด่วนที่คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เห็นชอบการดำเนินงานในเรื่องของการพัฒนาเมืองใหม่ในพื้นที่อีอีซี ส่งผลให้เอกชนหลายรายได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินที่คาดว่าจะเป็นพื้นที่เป้าหมายในการตั้งเมืองใหม่เป็นจำนวนมาก จนทำให้ราคาที่ดินในปัจจุบันถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะใน จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายแรกในการตั้งเมืองใหม่


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

กนศ. สั่งเดินหน้าเมืองใหม่
น.ส.พจนี อรรถโรจน์ภิญโญ รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กนศ. ได้เห็นชอบแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะตัวอย่างในพื้นที่อีอีซีแล้ว และให้สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ไปศึกษาแนวทางการพัฒนาฯ เป็นเวลา 6 เดือน พร้อมกับการกำหนดผังพื้นที่ เพื่อนำกลับมาเสนอ

 

[caption id="attachment_277858" align="aligncenter" width="314"] น.ส.พจนี อรรถโรจน์ภิญโญ รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) น.ส.พจนี อรรถโรจน์ภิญโญ
รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.)[/caption]

โดยกำหนดกรอบขนาดพื้นที่ของเมืองอัจฉริยะระยะแรกไว้ราว 1.25 หมื่นไร่ รองรับประชากร 1.5 แสนคน ซึ่งจะสามารถรองรับการสร้างงานที่ดีได้ และมีการบริการครบครัน รวมทั้งคุ้มค่าต่อการลงทุน และระยะที่ 2 จะขยายพื้นที่ออกไปรวม 2.5 หมื่นไร่ รองรับประชากร 3 แสนคน และระยะที่ 3 ขนาดพื้นที่รวม 4.25 หมื่นไร่ รองรับประชากร 1 ล้านคน ในอีก 15 ปีข้างหน้า

สำหรับรูปแบบการลงทุนนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ รูปแบบรัฐดำเนินการร่วมทุนกับภาคเอกชนในพื้นที่ของรัฐ โดยเอกชนนำ รัฐเป็นผู้สนับสนุน เป็นการสร้างเมืองใหม่ในที่ดินทั้งของรัฐและเอกชน ที่ส่วนใหญ่เอกชนเป็นผู้ลงทุนสร้างเมือง กรณีที่ 2 เอกชนเป็นผู้ลงทุนในพื้นที่เอกชน ซึ่งจะต้องเสนอขอตั้งเมืองใหม่กับ สกรศ. นอกจากนี้ กนศ. ยังมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองใหม่อัจฉริยะ จำนวน 18 ฉบับ เพื่อลดอุปสรรคด้านการดำเนินงาน รวมถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้วย


TP15-3327-1C

ชงบอร์ดบีโอไอดึงลงทุน
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยว่า ทาง กนศ. ได้มอบหมายให้บีโอไอไปจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียด โดยจะเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนใน 2 ส่วน ได้แก่ กิจการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ เพื่อส่งเสริมผู้พัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่เมืองอัจฉริยะ และกิจการพัฒนาระบบเมือง เมืองอัจฉริยะ เพื่อส่งเสริมผู้ลงทุนพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะในด้านต่าง ๆ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และภาษีเงินได้นิติบุคคล และหากตั้งในพื้นที่อีอีซีจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เพิ่มขึ้นอีก 3-5 ปี เป็นต้น

โดยในวันที่ 9 พ.ค. นี้ คาดว่าจะมีการนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่จะมีรายละเอียดของประเภทกิจการที่ส่งเสริมออกมา รวมถึงมาตรการเพิ่มเติม

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

บิ๊กทุนรวมที่ดินชงรัฐ
นายจอมพงษ์ ชูทับทิม เลขาธิการ หอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ขณะนี้ กลุ่มเอกชนรายใหญ่จากกรุงเทพมหานคร 5-6 ราย รวมแปลงที่ดินจำนวน 5,000 ไร่ เพื่อเตรียมเสนอ สกรศ. ตั้งเมืองใหม่ โดนเน้นพื้นที่ที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม ใกล้สถานีรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่

ทั้งนี้ ที่ดินแปลงใหญ่ในมือนายทุนรายละกว่า 1,000 ไร่ขึ้นไป ได้แก่ ค่ายดั๊บเบิ้ลเอ มีที่ดินอยู่ที่ อ.พนมสารคาม 1,000 ไร่, กลุ่มเบียร์ช้าง มีที่ดินอยู่ อ.บ้านโพธิ์, เครือซีพี มีที่ดินอยู่ อ.พนมสารคาม และ อ.บ้านโพธิ์ นอกจากนี้ ยังมีค่ายบุญรอดและแกรนด์สปอร์ต ฯลฯ ส่งผลให้ราคาที่ดินขยับต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เดือน พ.ค. นี้ รัฐบาลจะเลือกพื้นที่ว่าเป็นทำเลไหนที่เหมาะสร้างเมืองใหม่ หากเป็นทำเลไหน ทุนใหญ่จะสามารถรวมแปลงที่ดินได้หมด และทันทีที่รัฐบาลชี้เป้าพื้นที่ ราคาที่ดินทำเลดังกล่าวจะขยับขึ้นอีก 50-100%


GP-3361_180429_0018

ราคาที่พุ่งไม่หยุด
นายวัฒนา รัตนวงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับคณะกรรมการอีอีซีจังหวัด เพื่อสรรหาพื้นที่ตั้งเมืองใหม่ ล่าสุด ยังไม่สามารถเลือกพื้นที่ได้ เนื่องจากต้องเลือกแปลงที่ดินที่เหมาะสมที่สุด ได้แก่ ทำเลบางน้ำเปรี้ยว บางคล้า บ้านโพธิ์ บางปะกง แต่ทั้งนี้ บางน้ำเปรี้ยวเป็นที่ดินที่ราชพัสดุ จำนวน 4,000 ไร่ ซึ่งกรมธนารักษ์มอบให้ สกรศ. พัฒนาเป็นเมืองใหม่ แต่ปัจจุบัน ทหารเรือใช้พื้นที่ ข้อดี คือ เป็นที่ดินรัฐ ไม่ต้องเวนคืน แต่ข้อเสีย มีชาวบ้านใช้ประโยชน์ทำการเกษตร นอกจากนี้ มองว่าไกลจากกรุงเทพมหานครมากเกินไป เนื่องจากทำเลอยู่ติดกับ จ.นครนายก ไปทาง จ.ปราจีนบุรี

สำหรับราคาที่ดินในปัจจุบัน บริเวณถนนบางปะกง-ฉะเชิงเทรา ไร่ละ 16-20 ล้านบาท ซึ่งขยับขึ้นต่อเนื่อง และที่ดินอยู่ในมือนายทุนทั้งหมดแล้ว รองลงมา คือ ถนนบายพาส พนมสารคาม-บางปะกง ขนาด 4 ช่องจราจร ไร่ละ 5 ล้านบาท


588

นายอนวัช สุวรรณเดช รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า ขณะนี้ ยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะเลือกที่ดินของภาคเอกชน หรือ รัฐ ล่าสุด ส่งข้อมูลเบื้องต้นให้ สกรศ. เพื่อจ้างที่ปรึกษาศึกษา ส่วนกรมจะดำเนินการเฉพาะพื้นที่รอบท่าเรือจุกเสม็ดรอบสนามบินอู่ตะเภา และรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา


มีที่ดินรัฐแล้ว 3 พันไร่
นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า สำหรับการใช้ประโยชน์จากที่ธนารักษ์ เพื่อจัดทำเป็นเมืองใหม่อัจฉริยะนั้น เป็นการพิจารณาของอีอีซีเองว่า ที่ราชพัสดุที่ได้ไปนั้น จะใช้ประโยชน์ในเรื่องใดในแต่ละพื้นที่ จากที่กรมธนารักษ์ยกให้อีอีซีไปราว 1 หมื่นไร่ ซึ่งกรมธนารักษ์ไม่ได้เข้าไปตัดสินใจ มีเพียงตัวแทนที่เข้าไปอยู่คณะทำงานเท่านั้น โดยที่ราชพัสดุผืนใหญ่ใน จ.ฉะเชิงเทรา ที่ให้ไปนั้น เป็นที่ทหารเรือ ที่ไม่ได้ขัดข้อง และยินยอมยกให้ใช้ประโยชน์แล้วที่ อ.บางคล้า พื้นที่ประมาณกว่า 3 พันไร่ ส่วนจะให้เป็นพื้นที่เมืองใหม่หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับทางอีอีซีจะตัดสินใจ


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,361 วันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. 2561 หน้า 01-02
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
'ขอนแก่น' ลุยเมกะโปรเจ็กต์! เดินหน้ารถไฟฟ้ารางเบา ผุดเมืองใหม่ต่อยอดไมซ์ซิตี
“ประยุทธ์” สั่งลุยศึกษาเมืองใหม่ EEC  ไม่เกิน 2 สัปดาห์เปิดทีโออาร์ไฮสปีด ชี้ “แจ๊ค หม่า” จะประกาศอบรมเอสเอ็มอีไทย


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว