'พนง.แบงก์' สะท้าน! ธุรกรรมสาขาฮวบ

26 เม.ย. 2561 | 12:11 น.
260461-1839

‘แบงก์บัวหลวง’ เผยยอดธุรกรรมออนไลน์พุ่งกระฉูด หลังยกเว้นค่าธรรมเนียม เหตุลูกค้าหนีจากเคาน์เตอร์เซอร์วิสซบแบงก์ พร้อมดันยอดใช้โมบายแบงกิ้งโต 30-40% ... ‘ธนชาต’ ชี้ยอดผ่านสาขาลดลงเกิน 10% ด้าน ‘ใบโพธิ์’ ยัน 2 ปี เห็นสัดส่วนสาขาเหลือไม่ถึง 10% ... ‘รวงข้าว’ เผยยอดใช้งาน K PLUS เพิ่มขึ้น 37% ขณะที่ เคาน์เตอร์ฯ ยันยอดลูกค้าไม่ตก


 

[caption id="attachment_277508" align="aligncenter" width="503"] ปรัศนี อุยยามะพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ปรัศนี อุยยามะพันธุ์
ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)[/caption]

ภายหลังการประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ หรือ โมบายแบงกิ้ง ทั้งการโอนข้ามเขต ชำระราคาสินค้า ส่งผลให้ยอดการทำธุรกรรมเพิ่มสูงขึ้นมาก โดย นางปรัศนี อุยยามะพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดใน 1 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะธุรกรรมโอนเงินข้ามธนาคาร (ORFT) ที่เพิ่มขึ้นสูงถึง 20-30% ส่วนการจ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ (Bill Payment) เพิ่มขึ้น 10-15% ขณะที่ การรับโอนเงินรูปแบบใหม่ (PromptPay) ทรงตัว เมื่อเทียบกับการโอนเงินแบบ ORFT ที่ลูกค้าบางส่วนใช้อยู่แล้ว


MP24-3347-2A-1

ส่วนการชำระบิลค่าสินค้าและบริการที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 10-15% ส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มลูกค้าที่เคยใช้เคาน์เตอร์เซอร์วิสหันมาใช้ช่องทางแบงกิ้งของธนาคารแทน ส่วนลูกค้าที่ใช้บริการผ่านสาขา อาจจะยังกระทบไม่เยอะมากนัก ขณะที่ แนวโน้มการทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงกิ้ง โดยรวมของธนาคารเติบโตขึ้น 30-40% จากเดิมที่ลูกค้า 1 ราย จะทำธุรกรรมเฉลี่ย 20 ครั้งต่อเดือน แต่ปัจจุบัน เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 30 ครั้งต่อเดือน ซึ่งยังเป็นลูกค้าเก่า แต่หากมีฐานลูกค้าใหม่เข้ามา จะทำให้ธุรกรรมเพิ่มมากขึ้นสูงกว่า 100%

 

[caption id="attachment_277510" align="aligncenter" width="503"] ธีรนุช ขุมทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกค้ารายย่อย บมจ.ธนาคารธนชาต ธีรนุช ขุมทรัพย์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกค้ารายย่อย บมจ.ธนาคารธนชาต[/caption]

นางธีรนุช ขุมทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกค้ารายย่อย บมจ.ธนาคารธนชาต กล่าวว่า ตัวเลขการทำธุรกรรมผ่านสาขาลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน มากกว่า 10% จากการที่ลูกค้าหันมาทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ทั้งโมบายแบงกิ้ง อินเตอร์เน็ตแบงกิ้ง และเอทีเอ็ม ซึ่งธุรกรรมส่วนใหญ่เป็นการโอนเงิน จ่ายบิล และสอบถามยอด และแนวโน้มสัดส่วนผ่านสาขาจะลดลงอีก ซึ่งปัจจุบัน มีฐานลูกค้าโมบายแบงกิ้งประมาณ 6 แสนราย

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

นางภิมลภา สันติโชค รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด Commercial Banking Solutions ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ธุรกรรมการเงิน (Transaction Banking) มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่องทาง SCB Easy ที่มีปริมาณธุรกรรมเติบโตแบบก้าวกระโดด จากที่เคยเฉลี่ย 1 ล้านรายการต่อวัน เพิ่มเป็น 2 ล้านรายการต่อวัน สะท้อนว่า พฤติกรรมลูกค้าหันมาใช้ช่องทางดิจิตอลเพิ่มขึ้น โดยธุรกรรมที่ทำส่วนใหญ่จะเป็นการโอนเงิน ชำระเงิน จ่ายบิล สอบถามยอด เป็นต้น ขณะที่ การทำธุรกรรมชำระบิลผ่านสาขาและเครื่อง ATM/CDM มีจำนวนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเหลือสัดส่วนธุรกรรมไม่ถึง 10% หลังจากการยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านดิจิตอล ซึ่งเป็นปัจจัยเร่งให้ธุรกรรมผ่านช่องทางสาขาและเอทีเอ็มลดลง

 

[caption id="attachment_277511" align="aligncenter" width="503"] พัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) พัชร สมะลาภา
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)[/caption]

ด้าน นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า ต้นเดือน เม.ย. มีลูกค้าใหม่สมัครใช้แอพ K PLUS เพิ่มขึ้น 37% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และมีจำนวนการทำธุรกรรมทุกประเภทแตะระดับสูงสุดถึง 20 ล้านรายการต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. ปีก่อน โดยบริการของ K PLUS คือ โอนต่างธนาคารแบบทันที (ORFT) เพิ่มขึ้น 63% และบริการเติมเงินและจ่ายบิลค่าสินค้าและบริการปริมาณการใช้บริการเพิ่มขึ้น 26% และมั่นใจว่า จำนวนลูกค้าปีนี้จะเพิ่มจาก 8.1 ล้านราย เป็น 10.8 ล้านราย


GP-3360_180426_0012

ขณะที่ แหล่งข่าวระดับสูงจาก บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การยกเว้นค่าธรรมเนียมการชำระเงินออนไลน์ของระบบธนาคารพาณิชย์นั้น ขณะนี้ ยังไม่ส่งผลกระทบต่อยอดผู้ใช้บริการของเคาน์เตอร์เซอร์วิสแต่อย่างใด โดยช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ยอดผู้ใช้บริการของเคาน์เตอร์เซอร์วิสยังไม่ลดลง ส่วนหนึ่งเพราะช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่ใช่ช่วงพีกที่มีผู้มาใช้บริการชำระเงินจำนวนมาก จึงยังไม่เห็นผลที่ชัดเจน ต้องรอดูช่วงต้นเดือน ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่มีผู้มาชำระเงินค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ

นอกจากนั้น กลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการชำระเงินในเคาน์เตอร์เซอร์วิสจะมีทั้งกลุ่มคนทำงาน ครอบครัว พ่อค้า แม่ค้า ทั่วไป แตกต่างจากผู้ที่ใช้บริการชำระเงินผ่านแอพของแบงก์ ส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงานรุ่นใหม่ ที่ทำธุรกรรมผ่านมือถือ ซึ่งยังจำกัดอยู่ในคนบางกลุ่มเท่านั้น และยังมีบางกลุ่มที่ยังไม่รับรู้ข้อมูลข่าวสารว่า แบงก์เองมีบริการอะไรบ้าง


counter_service

“ช่วงนี้จำนวนลูกค้าที่มาชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสยังไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญใด ๆ ตัวเลขเป็นปกติ ซึ่งมีจำนวนค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว เพราะเป็นช่วงกลางเดือน ยังคงต้องรอดูในช่วงต้นเดือนที่มีลูกค้ามาใช้บริการจำนวนมาก แต่ในระยะยาวคาดว่า จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะเป็นการให้บริการฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ลูกค้าที่ต้องการประหยัดเงินก็จะหันมาใช้บริการนี้แทน”


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,360 วันที่ 26-28 เม.ย. 2561 หน้า 15
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
“ทิสโก้”ประกาศ “ฟรี”ค่าธรรมเนียมทุกธุรกรรมผ่านTISCO Mobile Banking
ธอส. ประกาศฟรีค่าธรรมเนียมทำธุรกรรมการเงิน


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว