เจาะแผนพีอาร์รัฐ ทุ่มงบ!"รุกโซเชียล"

26 เม.ย. 2561 | 07:08 น.
4555154 ปฏิเสธไม่ได้ว่า “โซเชียล มีเดีย” หรือสื่อสังคม ออนไลน์ โดยเฉพาะรายใหญ่ๆ ทั้ง Facebook, Line, Twitter, Youtube, Google ทรงอิทธิพลขนาดไหนในยุคปัจจุบัน จึงเป็นหนึ่งในช่องทางสื่อสารที่ “นักการเมือง” เลือกใช้โปรโมตผลงานและเช็กเรตติ้งคะแนนความนิยมของตัวเอง
11777_20180424022947 ย้อนไปในรอบ 10 ปี 2 อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เลือกใช้ โซเชียลมีเดีย ในการสื่อสาร “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” มีคนกด ติดตามในเฟซบุ๊กแฟนเพจ 2.2 ล้านคน “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” 6 ล้านคน หรือถ้าระดับโลกคงนึก ถึง “โดนัลด์ ทรัมป์” ใช้ทวิตเตอร์ ที่มีคนติดตาม 50.2 ล้านคน เป็นฐานในการก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ

จึงไม่น่าแปลกใจหาก “บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ที่จะครบ 4 ปี ในตําแหน่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)วันที่ 22 พฤษภาคม 2561 และ4 ปี ในตําแหน่งนายกรัฐมนตรีวันที่ 24 สิงหาคม 2561 ยอมเปิดใจเบนเข็มไปใช้บริการ “โซเชียลมีเดีย” มากขึ้นบ้าง
1524723149261 3 เมษายน ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ เปิดตัวเฟซบุ๊ก แฟนเพจและแอพพลิเคชัน “สายตรงไทยนิยม สายตรงลุงตู่” เป็นช่องทางสื่อสารของตัว เอง มีรูปการ์ตูนหน้าตัวเองแทน การใช้ชื่อ-นามสกุลตัวเองเป็นชื่อ แฟนเพจเหมือนคนอื่นๆ มีเป้า หมายให้ประชาชนส่งเรื่องร้อง ทุกข์ และความคิดเห็น มาโดยตรง ถึงนายกฯ

แต่นี่ประตูสู่โลกออนไลน์ “อย่างเป็นทางการ” ช่องทาง แรกของ พล.อ.ประยุทธ์ แต่ไม่ใช่ ช่องทางเดียวที่จะเกิดขึ้น
เพราะจากประกาศราคา กลางจัดซื้อ-จัดจ้าง ที่เผยแพร่ อยู่ในเว็บไซต์สํานักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี (สลน.) http:// spm.thaigov.go.th ระบุว่า มี 2

Print

จาก 3 โครงการประชาสัมพันธ์ รวมวงเงิน 12,100,000 บาท ที่ ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียมากขึ้น โครงการแรก เป็น “โครงการจ้างทํา Line Official Account เพื่อประชาสัมพันธ์ ข่าวสารรัฐบาลเชิงรุก” โดยมีสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงาน เจ้าของโครงการวงเงินงบประมาณ ที่ได้รับจัดสรรจํานวน 7,300,000 บาท จากราคากลาง 7,029,900 บาท

โดยราคากลางใช้ราคาตลาด โดยสืบราคาจากท้องตลาดจาก บริษัทไลน์คอมพานี (ประเทศ ไทย) จํากัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบ การที่ได้รับอนุญาตให้ดําเนิน กิจการสําหรับการจ้างแต่เพียง รายเดียวในประเทศไทย

รายละเอียดของโครงการ ระบุว่าจะใช้บัญชื่อย่างเป็นทางการ ได้ 12 เดือน แบ่งเป็น Line Official Account (OA) จํานวน 25 ข้อความต่อเดือน ในรูปแบบ ตัว อักษร รูปภาพ วิดีโอ ไฟล์เสียง หรือลิงก์ต่างๆ ผ่านฟังก์ชัน Rich Message และ Rich Video และ Line Official Home (OH) จํานวน 60 ข้อความต่อเดือน

นอกจากนี้ยังมี Line Sticker จํานวน 8 รูป (8 characters) ที่ออกแบบโดยสํานัก โฆษกฯ ระยะเวลาดาวน์โหลด 30 วัน และใช้งานได้ 90 วัน
30653026_1857842754247785_5603431737016188928_n-768x661 โครงการที่ 2 ชื่อ โครงการ ประชาสัมพันธ์ “ประเทศไทย เดินหน้าทันโลก” เผยแพร่ผ่าน Facebook ที่มีสํานักโฆษกสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าของโครงการเช่นกันวงเงิน

งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร 800,000 บาท จากราคากลาง 758,030.80 บาท มีการสืบราคา จากท้องตลาดจากบริษัทเอกชน 4 ราย โดยในวงเงินนี้แบ่งเป็น ค่าออกแบบสื่อมัลติมีเดีย รูปแบบ

อินโฟกราฟิก แบบเคลื่อนไหว จํานวน 8 ตอน ค่าจัดทําเนื้อหา โครงการประชาสัมพันธ์ประเทศ ไทยเดินหน้าทันโลก 8 ตอน ค่า ควบคุมและการผลิตโครงการ ประชาสัมพันธ์ฯ 8 ตอน และยัง มีค่าบริหารจัดการเฟซบุ๊ก 1 เพจ ที่รวมถึงค่าซื้อบูสต์โพสต์ด้วย
1524724304643 และโครงการที่ 3 เป็น โครงการเดิมที่ดําเนินการต่อเนื่อง “โครงการจ้างทําวารสารไทยคู่ฟ้า” พิมพ์ 4 สี 40 หน้า พร้อม เผยแพร่และจัดส่งทางไปรษณีย์ จํานวน 2 ฉบับ เจ้าของโครงการ สํานักโฆษกสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้รับการจัดสรรงบ ประมาณ 4 ล้านบาท ราคากลาง 3,959,000 บาท
000001 แบ่งเป็น ค่าจัดทําเนื้อหา ถ่ายภาพ สัมภาษณ์ จัดวาง อาร์ตเวิร์กจัดหาภาพประกอบจัด ทําอ-แม็กกาซีน รูปแบบ PDF ฉบับ ละ 2 แสนบาท รวม 4 แสนบาท

ค่าพิมพ์จํานวน 55,000 เล่ม รวม 110,000 เล่ม รวมเงิน 2,500,000 บาท ค่าพิมพ์ซอง บรรจุพลาสติก 3 หมื่นซอง ค่า ไปรษณีย์ 30,000 เล่ม และ ค่าบริหารการนําส่งไปรษณีย์ 30,000 เล่ม รวม 600,000 บาท
ค่าเผยแพร่ผ่าน อี-แม็ก กาซีน ค่ากระจายวารสาร ไปยัง กลุ่มเป้าหมายในสถานที่สาธารณะ 1 หมื่นเล่ม กําหนดจุดวางไม่ น้อยกว่า 200 จุด รวมวงเงิน 2 แสนบาท
0002

เปิดกว้างข้อมูลถึงประชาชน

นายอิทธิเดช สุพงษ์ ผู้อํานวยการกลุ่มสื่อสารเชิงกลยุทธ์ สํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิด เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ช่องทางในการประชาสัมพันธ์ ของรัฐบาลเดิมที่มีเพียงวิทยุ โทรทัศน์ ของกรมประชา สัมพันธ์ และสื่อกระดาษที่ สํานักโฆษก จัดทํา “จดหมายข่าวรัฐบาล” แต่ปัจจุบันไม่ได้ ทําแล้ว จากนั้นทํา “วารสารไทยคู่ฟ้า” แต่นานๆจะออกสักครั้ง

ส่วนสื่อออนไลน์ที่ เคยทําคือ แอพพลิเคชัน “Thaigov” แต่ไม่ถึง 1 ปี ก็ ปิดตัว ขณะเดียวกันสํานัก โฆษก ก็ทําสื่อภายใต้ชื่อ “ไทยคู่ฟ้า” และ “ทําเนียบ รัฐบาล” ทั้งเฟซบุ๊กแฟนเพจ ช่องใน Youtube วารสาร สารคดีในวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ส่วน “สายตรงไทยนิยม” ต่างจากไทยคู่ฟ้า เพราะ เป็นบัญชาของนายกรัฐมนตรีที่ ต้องการมีช่องทางสื่อสารของ ประชาชนกับนายกรัฐมนตรี โดยตรง จึงมอบหมายให้นาย กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรี ประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ดําเนิน การ เป็นทีมแอดมินร่วมกับศูนย์ รับเรื่องราวร้องทุกข์ 1111
1524740803200 สําหรับ Line Official Account ที่กําลังจัดทํา เป็น ช่องทางสื่อสารระยะยาวของสํานักโฆษก เพราะปัจจุบัน ประชาชนติดตามข่าวสารจากไลน์จํานวนมากจะมีการออกแบบสติกเกอร์เป็นโลโกแทน สํานักโฆษกจะไม่ใช่เป็นรูป
นายกรัฐมนตรี เพราะถ้าเปลี่ยนนายกฯ โลโก หรือ สติกเกอร์นี้ก็ยังสามารถใช้ งานได้ต่อไป

ผอ.กลุ่มสื่อสารเชิง กลยุทธ์ บอกด้วยว่า นอกจาก สื่อกระดาษ สื่อออนไลน์ แล้ว ก็ยังมีช่องทางการสื่อ สารลักษณะแถลงข่าว พบ ปะสื่อมวลชน อย่างกิจกรรม “Meet the press” กับ “สื่ออยากรู้ รัฐบาลอยากเล่า” เป็นการเชิญรัฐมนตรีและ หน่วยงานต่างๆ มาแถลงให้ ข้อมูลและให้สื่อมวลชน สอบ ถามในประเด็นที่น่าสนใจ

......................
รายงาน|เจาะงบแผนพีอาร์รัฐ ทุ่มงบ!"รุกโซเชียล" |โดย จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง |เชกชั่นการเมือง หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3360 ระหว่างวันที่ 26-28 เม.ย.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว