'อาคม' สั่งลุย! มอเตอร์เวย์เชื่อมไทย-มาเลเซีย งบทะลุ 5.7 หมื่นล้าน

25 เม.ย. 2561 | 19:09 น.
“อาคม” สั่งลุยมอเตอร์เวย์เชื่อมไทย-มาเลเชีย วงเงินลงทุน 5.7 หมื่นล้านบาท เล็งเปิดประมูลพีพีพีต้นปีหน้า บูมการค้าชายแดน 5 แสนล้านบาท คาดเอกชนกวาดรายได้ตลอดสัมปทานทะลุ 4.1 หมื่นล้านบาท เคาะค่าผ่านทางตลอดสาย 88 บาท

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายในงานสัมมนาเพื่อประเมินความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายหาดใหญ่-ชายแดนไทย-มาเลเซีย ว่า โครงการดังกล่าวนี้มีวงเงินลงทุนโครงการ 57,022 ล้านบาท แบ่งเป็น วงเงินลงทุนก่อสร้าง 37,399 ล้านบาท ประกอบด้วย งานทางและโครงสร้าง 27,424 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,974 ล้านบาท งานระบบ 2,856 ล้านบาท ค่าลงทุนระยะเริ่มต้น 145 ล้านบาท ขณะที่ วงเงินค่าบริหารและบำรุงรักษา (O&M) อยู่ที่ 19,623 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าบำรุงรักษา 12,440 ล้านบาท และค่าดำเนินงาน 7,183 ล้านบาท

 

[caption id="attachment_277335" align="aligncenter" width="503"] อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[/caption]

โดยรายได้จะมาจากการเก็บค่าผ่านทางและรายได้เชิงพาณิชย์จากศูนย์บริการทางหลวง (Service Area) จำนวน 1 แห่ง แบ่งเป็น 2 ฝั่ง ด้านทิศตะวันออกพื้นที่ 71 ไร่ และด้านทิศตะวันตกพื้นที่ 48.5 ไร่ สำหรับอัตราค่าผ่านทางนั้นจะคิดค่าแรกเข้า 10 บาท และคิดตามระยะทาง 1.25 บาทต่อกิโลเมตร เมื่อรวมตลอดเส้นทางทั้งเส้นจะมีอัตราค่าผ่านทางรวม 88 บาท

อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเร่งเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในปีนี้ ก่อนเปิดประกวดราคาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 และลงนามสัญญาก่อสร้างช่วงกลางปี 2562 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปีเพื่อเปิดให้บริการตามแผนในปี 2565-2566

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

นายอาคม กล่าวต่อว่า เมื่อโครงการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ คาดว่าจะมีปริมาณการจราจรเริ่มต้นในปี 2567 อยู่ที่ 20,910 คัน รวมรายได้จากค่าผ่านทาง 478 ล้านบาทต่อปี จากนั้นในปี 2596 ปริมาณการจราจรจะเพิ่มเป็น 46,050 คัน คิดเป็นการเติบโต 125% เช่นเดียวกับรายได้ที่จะมีปริมาณการเติบโต 348% รวมทั้งหมด 2,145 ล้านบาท ทั้งนี้ รวมรายได้ตลอด 30 ปี ของมอเตอร์เวย์สายนี้ จะอยู่ที่ 41,767 ล้านบาท

สำหรับการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนนั้น จะใช้แบบ PPP Net Cost ให้เอกชนลงทุนพร้อมรับความเสี่ยงเองทั้งหมด เบื้องต้น กรมทางหลวงได้แบ่งขอบเขตการลงทุนออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เอกชนเป็นผู้ออกแบบ จัดหาแหล่งเงินทุน และก่อสร้างโครงการทั้งหมด โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน ระยะที่ 2 เอกชนเป็นผู้ดำเนินงานและบำรุงรักษาทั้งโครงการตลอดระยะเวลาสัญญา โดยกำหนดกรอบระยะเวลาร่วมทุนไม่เกิน 33 ปี แบ่งเป็นระยะออกแบบและก่อสร้างโครงการ 3 ปี และระยะเวลาดำเนินงานและบำรุงรักษาไม่เกิน 30 ปี

 

[caption id="attachment_277336" align="aligncenter" width="503"] อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[/caption]

นายอาคม กล่าวอีกว่า มอเตอร์เวย์เส้นทางนี้จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักที่กระตุ้นเศรษฐกิจภาคใต้ควบคู่ไปกับเพิ่มมูลค่าการค้าด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone : SEZ) ที่มียอดการค้าเกือบ 5 แสนล้านต่อปี แบ่งเป็น ด่านสะเดา 3.25 แสนล้านบาทต่อปี และด่านปาดังเบซาร์ 1.5 แสนล้านบาทต่อปีทั้งยังสามารถลดต้นทุนการขนส่งและระยะเวลาเดินทางได้เกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดด้วยการออกแบบมอเตอร์เวย์ระบบปิด จากเดิม 90 นาทีเหลือเพียงไม่ถึง 60 นาที นับว่าเป็นเส้นทางสายใหม่ที่จะกลายมาเป็นเส้นทางสายหลักส่งเสริมการค้าชายแดนและลดปัญหาจราจรแออัดบริเวณด่านชายแดน เนื่องจากปัจจุบันเริ่มปริมาณขนส่งสินค้ามากขึ้นทำให้รถติดจนต้องลงทุนก่อสร้างด่านศุลกากรแห่งที่สองที่ด่านชายแดนสะเดา โดยในอนาคตจะแยกเส้นทางรถยนต์ส่วนบุคคลและรถบรรทุกรวมถึงรถทัวร์โดยสารสาธารณะออกจากกันแบบด่านชายแดนของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เพื่อแก้เรื่องความแออัดดังกล่าว


S__3350754

สำหรับเรื่องการใช้เทคโนโลยีในระบบมอเตอร์เวย์สายนี้ จะเป็นระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ (ETC) และเป็นแบบไม่มีไม้กั้นและไม่ใช้บัตร (Cardless) เพื่อแก้ปัญหารถติดหน้าด่านเก็บเงินตลอดจนการเชื่อมต่อระบบการเดินทางด้วยบัตรใบเดียวหรือตั๋วร่วม (บัตรแมงมุม)


แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

ทั้งนี้ สำหรับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายหาดใหญ่-ชายแดนไทย/มาเลเซีย มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณจุดตัดกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ กม.1242+135 บริเวณอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา มีแนวสายทางมุ่งหน้าลงด้านทิศใต้ และมีจุดสิ้นสุดโครงการ(กม.62+596) ที่ชายแดนไทย-มาเลเซียบริเวณที่ตั้งของ ด่านศุลกากรสะเดา แห่งที่ 2 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา รวมระยะทางประมาณ 62 กิโลเมตร โดยบริเวณ กม.11+630 จะมีแนว Spur Line ระยะทาง 7.83 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางสู่ท่าอากาศยานหาดใหญ่และ ทางหลวงหมายเลข 4135 ส่วนการออกแบบจะเป็นทางหลวงพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร มีการควบคุมทางเข้าออกอย่างสมบูรณ์ มีด่านเก็บค่าผ่านทางด้วยระบบปิดทั้งหมด 4 ด่าน โดยโครงการมีที่พักริมทาง 1 แห่ง

โดยในการเปิดรับฟังความเห็นนักลงทุนในครั้งนี้ พบว่า มีเอกชนจากหลากหลายประเทศเข้าร่วมรับฟังทั้งจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อาทิ บริษัท Vinci concession, บริษัท UEM grouo berhad บริษัท Sojitz บริษัท Egis บริษัท Mitsubishi ขณะที่เอกชนจากประเทศไทยนั้นมีกลุ่มทุนใหญ่เข้าร่วม อาทิ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ (ITD) บมจ.ช.การช่าง (CK) บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น(UNIQ) บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น (STEC) รวมถึงกลุ่มยักษ์ใหญ่ค้าปลีกอย่าง บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN)


5MOT_2561-04-25 รวค.เปิดงานสัมมนามอเตอร์เวย์หาดใหญ่

……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
กรมทางฯชวนเอกชนร่วมลงทุนPPPมอเตอร์เวย์2 สายขายซอง30 พ.ค. นี้
มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราชคืบใช้ IRIวัดผิวทางไม่ได้มาตรฐานสั่งรื้อ


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว