“อุตตม”ถกสภาอุตฯเร่งเครื่องดันอุตสาหกรรมเป้าหมาย-ส่งเสริม SMEs

24 เม.ย. 2561 | 07:07 น.
“อุตตม”ถกสภาอุตฯ เร่งเครื่องผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมายและส่งเสริม SMEs ทุกระดับหารือแนวทางขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่เป็นรูปธรรม พร้อมแจงมาตรการที่กระทรวงและเครือข่ายกำลังดำเนินการหลัง“สุพันธุ์”เข้ารับตำแหน่งประธานสภา

ดร. อุตตม สาวนายน หารือคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมชุดใหม่จำนวน 347 คน จากทั่วประเทศที่มาประชุมและกล่าวถึง “นโยบายรัฐในการส่งเสริมภาคเอกชน” ให้คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมชุดใหม่ ที่มีนายสุพันธุ์ มงคลสุธี เป็นประธานทราบถึงแผนงานของกระทรวงอุตสาหกรรม ในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs พร้อมร่วมหารือมาตรการในการผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมาย และแนวทางการให้ส่งเสริมพัฒนา SMEs อย่างครบวงจรในทุกมิติ

austama1

ทั้งในด้านการช่วยเหลือทางการเงิน และการพัฒนาด้านอื่น โดยในปัจจุบันปัจจัยทางเศรษฐกิจทุกตัวมีทิศทางที่สดใส การลงทุนภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานเริ่มส่งผล ประกอบกับการลงทุนภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัว รวมทั้งการส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมชี้ว่าวันนี้คือโอกาสเพราะอุตสาหกรรมไทยคือหัวจักรสำคัญที่ฉุดภาคเศรษฐกิจ และประเทศไทยมีจุดเด่นหลายด้าน แต่ต้องปรับเปลี่ยนให้ก้าวทันเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ ดร.อุตตมฯ เปิดเผยภายหลังจากการหารือกับคณะกรรมการสภาอุตฯ ว่า “ได้นำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย การช่วยเหลือและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นระบบและครบวงจร หลายๆ มาตรการได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ทั้งยุทธศาสตร์และแผนงานการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม การผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และในเร็วๆ นี้ กระทรวงอุตฯ จะนำยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมอาหาร เข้าเพื่อให้ ครม. เห็นชอบด้วยเช่นกัน”

สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ในทุกชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย กระทรวงฯ ได้นำเสนอมาตรการในการส่งเสริมพัฒนาอย่างเป็นระบบและครบวงจร ตั้งแต่การยกระดับเศรษฐกิจฐานชุมชน ผ่านโครงการอุตสาหกรรมชุมชนเชื่อมโยงการท่องเที่ยวให้เป็น CIV 4.0 รวมทั้งการพัฒนาผู้ประกอบการในสาขาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ภายใต้โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ

car

ในขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs จะมีโครงการ Big Brothers ที่เชื่อมโยงองค์กรธุรกิจชั้นนำระดับโลกกว่า 50 ราย เช่น ปตท. เดลต้า เอสซีจี เดนโซ่ โตโยต้า มาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ประกอบการ SMEs ไปสู่การมีแนวคิดทำธุรกิจแบบสากล สามารถเป็นพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนให้เป็น Smart Factory โดยให้การช่วยเหลือทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ที่จัดตั้งขึ้น รวมไปถึงการผลักดัน SMEs สู่ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลกผ่านแพลทฟอร์มดิจิทัลเพื่อช่วยในการจับคู่ธุรกิจออนไลน์ (B2B) ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับบริษัททั่วโลก

ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 หรือ ITC ที่ได้จัดตั้งขึ้นแล้วทั่วประเทศ ณ ศูนย์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้ง 13 แห่งทั้งประเทศ จะมีบทบาทสำคัญที่เป็นข้อต่อกลางที่จะเข้ามาช่วยให้ SMEs สามารถปฏิรูปปรับเปลี่ยนธุรกิจของตนเอง รวมทั้งการบ่มเพาะให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปพัฒนาและดำเนินธุรกิจได้เองต่อเนื่องในอนาคต โดยศูนย์ ITC แต่ละแห่งจะมีรูปแบบที่เหมาะสมกับความต้องการในพื้นที่ เช่น ศูนย์เชียงใหม่เน้นอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอาหาร ส่วนศูนย์ที่สงขลาจะเน้นเรื่องอุตสาหกรรมฮาลาล เป็นต้น
chem ที่สำคัญคือ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อให้มาช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ไทยด้วย ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นเสนอตัวในการดำเนินโครงการ 3-Stage Rocket Approach ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการปรับตัวเข้าสู่การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอย่างเหมาะสม โครงการ Open Innovation Columbus ที่จะผลักดันให้เกิดการเร่งพัฒนานวัตกรรมอย่างก้าวกระโดดผ่านเวทีในการแลกเปลี่ยนนวัตกรรม การบ่มเพาะแนวคิดธุรกิจ และการสร้างโอกาสในการร่วมลงทุน รวมไปถึงโครงการ Flex Campus ที่ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม ที่เสริมจากการศึกษาในระบบปกติที่อาจไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม

นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังเตรียมการพัฒนาบุคลากรป้อนสู่ตลาดแรงงานที่ต้องสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม โดยจะขยายผลโมเดลที่ได้เริ่มต้นแล้วที่วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบคือ สัตหีบโมเดล ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นแบบการจัดการศึกษาร่วมสมัยยุคไทยแลนด์ 4.0 ในพื้นที่ EEC ที่มาจากความร่วมมือไตรภาคี เป็นโมเดลของประเทศออสเตรียที่ปั้นคนตอบโจทย์สถานประกอบการ ช่วยลดช่องว่างความต้องการแรงงงานภาคอุตสาหกรรม กับความต้องการศึกษาต่อของนักศึกษาโดยเนื้อหาหลักสูตรจะยึดโยงกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ตามแนวทางอุตสาหกรรม S-Curve ด้วย
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานภาคเอกชน ที่มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และในช่วงเวลานี้ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจทุกตัวมีทิศทางเป็นบวก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่สูง และตลาดโลกฟื้นตัวทำให้การส่งออกมีมูลค่าสูงสุดในรอบ 7 ปี”

ดร.อุตตมฯ ได้กล่าวเชิญชวนให้สภาอุตฯ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การร่วมเป็น Big Brother ในการสนับสนุนพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตให้กับ SMEs ในทุกระดับ ทุกพื้นที่ รวมถึงระดับชุมชน พร้อมทั้งได้เสนอและตกลงร่วมกันกับสภาอุตฯ ที่จะจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินมาตรการต่างๆ อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย การพัฒนาบุคลากรอุตสาหกรรม การส่งเสริม SMEs การยกระดับเศรษฐกิจฐานชุมชน และการส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ

โดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และ รองประธานสภาอุตสาหกรรมเป็นประธานร่วมกัน โดยเน้นการทำงานเป็นทีมโดยอาศัยเครือข่ายของสภาอุตสาหกรรมที่มีอยู่ทุกจังหวัด มีการรายงานความคืบหน้าทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการ SMEs ในทุกระดับได้รับทราบถึงกลไกและมาตรการการขับเคลื่อนดังกล่าว

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว