ประยุทธ์ระบุสินค้าเกษตร“ต้องใช้การตลาดนำการผลิต”

21 เม.ย. 2561 | 08:24 น.
ประยุทธ์ระบุสินค้าเกษตร“ต้องใช้การตลาดนำการผลิต”

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”ว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานที่แน่วแน่ ในการ “สืบสาน รักษา ต่อยอดสร้างสุขปวงประชา” เฉกเช่น บูรพมหากษัตริย์ไทย ทุกพระองค์ อีกทั้ง พระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ ก็ทรงมีพระราชกรณียกิจ น้อยใหญ่ เพื่อสนองพระราชปณิธานดังกล่าว และ ได้เห็นเป็นประจักษ์ สู่สายตานานาอารยประเทศ

โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอาหาร และเกษตร แห่งสหประชาชาติ (FAO) นะครับ ได้กล่าวยกย่องบทบาทของ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะทูตพิเศษประจำ FAO ในการรณรงค์แก้ไขปัญหาการขาดอาหารและโภชนาการ ทั้งในประเทศไทย และในภูมิภาคอื่นๆ โดยพระองค์ทรงดำเนินโครงการเพื่อช่วยลดความหิวโหย มาหลายสิบปี อาทิ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน กองทุนพัฒนาเด็ก และเยาวชน ในถิ่นทุรกันดาร เป็นต้น ปัจจุบัน พระองค์มีพระราชดำริ ให้ดำเนินโครงการความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาค เช่น เมียนมา ลาว กัมพูชา ภูฏาน และบังกลาเทศ
tu21-4 นอกจากนี้ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด การจัดตั้งภาคีพัฒนาโคนมแห่งเอเชีย สำหรับส่งเสริมและพัฒนางานด้านโคนม เพื่อให้น้ำนมมีคุณภาพ และ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ ของเกษตรกรโคนม ในระดับภูมิภาค อีกด้วย

ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐบาลไทย ก็ได้ดำเนินโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารเด็กในวัยเรียน และ สนับสนุนอุตสาหกรรมโคนมดังกล่าวด้วย

ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะขจัดความอดอยากหิวโหย ให้หมดสิ้นไปรัฐบาลไทยได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของสหประชาชาติ (SDG) เข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้วยการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและเกษตรกร

แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยอาหาร เพื่อนำไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ของประชาชน และประเทศชาติ ตามพระราชปณิธานอันแน่วแน่ แห่งองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้างต้น นะครับ

นอกจากนี้ ในฐานะที่บ้านเมืองของเราเป็น “ชาติเกษตรกรรม” รัฐบาลจึงให้ความสำคัญอย่างมากที่จะดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน และ ยกระดับคุณภาพชีวิต ของเกษตรกร อาทิ การส่งเสริมสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่เกษตรกรรายย่อย โดยส่งเสริมระบบ “การทำเกษตรแปลงใหญ่” มาใช้กับกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ทั้งการปลูกพืชสวนไร่นา - ประมง - ปศุสัตว์
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตร ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด ตามแนวคิด “การตลาดนำการผลิต” การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ อีกทั้ง สนับสนุนให้เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ผันตัวมาเป็นเกษตรกรมืออาชีพก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชน - ถิ่นเกิดของตนอย่างยั่งยืน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง เพื่อไม่ทำร้ายสุขภาพ เกษตรกรและผู้บริโภค และ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม - ดิน - น้ำ - อากาศด้วย นะครับ

ปัจจุบัน รัฐบาลนี้ได้ริเริ่มโครงการไทยนิยมยั่งยืน โดยจัดสรรเงินงบประมาณ ราว 150,000 ล้านบาทนะครับ ในการดำเนินโครงการในหลากหลายมิติ ส่วนหนึ่งก็เป็นเป็นแผนงาน - โครงการด้านการปฏิรูปโครงสร้าง การผลิตภาคการเกษตรกว่า 24,000 ล้านบาทนะครับ ซึ่งมีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาความยากจน ของเกษตรกร ด้วยการ “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้”

เพื่อจะสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยเริ่มที่ตัวเกษตรกรก่อน ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ซึ่งต้องมีการทำประชาคม การรับฟังปัญหาระดับชุมชน การสำรวจความต้องการ และปัญหาแต่ละท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ต่อไป”

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว