อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) กับก้าวย่างที่มั่นคงและรุ่งเรืองในอนาคต

18 เม.ย. 2561 | 18:18 น.
180461-0058

… กลุ่มประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS (The Greater Mekong Subregion) มีพัฒนาการที่น่าทึ่งในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา กลุ่มประเทศซึ่งในอดีตได้เผชิญกับภัยพิบัติจากความยากจน ปัจจุบัน ได้กลายมาเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจมากมาย

แผนงานพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (The GMS Economic Cooperation Program) มีส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงนี้ นับตั้งแต่การก่อตั้งแผนงาน GMS ในปี 2535 อันมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและความร่วมมือในภูมิภาค กลุ่มประเทศสมาชิก GMS 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา, จีน, ลาว, เมียนมา, ไทย และเวียดนาม ได้ร่วมกันสร้างกรอบเพื่อความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิดโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเร่งด่วนมูลค่ากว่า 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของอนุภูมิภาคเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า และทำให้การค้าระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก GMS เพิ่มขึ้นจาก 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถึงมากกว่า 414 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ


10-3353

อย่างไรก็ตาม อนุภูมิภาคยังคงเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนา เช่น การลดปัญหาความยากจน การปรับตัว และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ความมั่นคงด้านอาหาร และการผันเข้าสู่สังคมเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจัยเหล่านี้ยังคงเป็นความท้าทายอันดับแรก ๆ ที่ต้องได้รับการพัฒนาภายใต้แผนงาน GMS นอกจากนี้ ประเทศ GMS ยังพบกับอุปสรรคความท้าทายใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาความไม่เท่าเทียมที่รุนแรงขึ้น การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ลี้ภัยข้ามพรมแดน และผลกระทบต่อการจ้างงานของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4

กลุ่มประเทศสมาชิก GMS ได้ทำข้อตกลงร่วมกันที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) และข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งให้ความสำคัญในด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

นอกจากความท้าทายแล้ว ยังมีโอกาสเกิดขึ้นมากมายในภูมิภาค ยกตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปใช้กับภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาคการศึกษา, การเกษตร, ด้านสุขภาพ และภาคการเงิน เนื่องจากกลุ่มประเทศ GMS ตั้งอยู่บนระหว่างเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าที่เพิ่มขึ้นของเอเชียใต้ไปด้วย

เนื่องในโอกาสที่ผู้นำของประเทศสมาชิก GMS จะมารวมตัวกัน ณ กรุงฮานอย เพื่อร่างแผนงาน GMS ในอนาคต จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ร่วมกันพิจารณาว่า จะนำโครงการความริเริ่มต่าง ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ มาปรับใช้ร่วมกับแผนงาน GMS อย่างไร โดยที่ยังสามารถตอบสนองความต้องการของอนุภูมิภาคได้


Screen-Shot-2561-04-06-at-4.44.33-PM

แผนปฏิบัติการฮานอย (The Ha Noi Action Plan) และกรอบการลงทุนในระดับภูมิภาค GMS ปี 2022 (The GMS Regional Investment Framework 2022) จะได้รับการเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำ GMS เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานของประเทศ GMS และเกิดความร่วมมือที่เข้มแข็งผ่านนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เอกสารทั้ง 2 ฉบับ ได้เน้นถึงเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของแผนงาน GMS อันได้แก่ ความเชื่อมโยง ความสามารถในการแข่งขัน และประชาคมของอนุภูมิภาค

ในเรื่องของความเชื่อมโยง ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกนั้น มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างมากภายใต้แผนงาน GMS ก่อให้เกิดการก่อสร้างถนนสายใหม่และปรับปรุงถนนที่มีอยู่แล้ว ระยะทางรวมกว่า 10,000 กิโลเมตร และมีการสร้างสายส่งสัญญาณไฟฟ้าและสายจ่ายกำลังไฟฟ้ายาวถึง 3,000 กิโลเมตร โครงข่ายคมนาคมเหล่านี้ได้ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นโครงข่ายที่มีการเชื่อมต่อถึงกันภายในแนวระเบียงเศรษฐกิจข้ามพรมแดน จากความสำเร็จของการดำเนินงานใน 25 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้ประโยชน์จากการพัฒนาค่อย ๆ ขยายไปสู่เขตพื้นที่ชนบท แผนปฏิบัติการฮานอยมุ่งเน้นที่จะต่อยอดขยายพื้นที่แนวระเบียงเศรษฐกิจต่อไป เพื่อกระตุ้นความเชื่อมโยงทั้งในและระหว่างประเทศ


แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

ความสามารถในการแข่งขันของอนุภูมิภาคได้รับการปรับให้ดีขึ้นเช่นกัน อันเป็นผลมาจากการอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่งและการค้าอย่างต่อเนื่อง การกระตุ้นการส่งออกสินค้าเกษตร และการสนับสนุนให้ประเทศ GMS เป็นจุดหมายการท่องเที่ยวไหลเวียนมากกว่า 60 ล้านคน ในปี 2560 ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องแก้ไขกฎระเบียบที่ล่าช้าและซ้ำซ้อน และกำจัดมาตรการกีดกันทางการค้าและการขนส่งที่ยังคงอยู่

ในด้านประชาคม ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักสุดท้าย ก็ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็งขึ้นผ่านโครงการริเริ่มข้ามพรมแดนต่าง ๆ ซึ่งช่วยควบคุมการการแพร่กระจายของโรคระบาดในชุมชน ช่วยทำให้ประชากรสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษามากขึ้น ช่วยอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอันอุดมสมบูรณ์ของอนุภูมิภาค อีกทั้งยังช่วยรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอีกด้วย

 

[caption id="attachment_276199" align="aligncenter" width="446"] ©www.aseanthai.net ©www.aseanthai.net[/caption]

กลุ่มประเทศสมาชิก GMS ได้ร่วมกันกำหนดแผนงานของโครงการใหม่จำนวน 227 โครงการ มูลค่า 66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใต้กรอบการลงทุนในระดับภูมิภาค GMS ปี พ.ศ. 2561-2565 โครงการเหล่านี้จะช่วยกระจายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ผ่านการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานข้ามพรมแดน

ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี ในฐานะที่เป็นเลขานุการของแผนงาน GMS นับตั้งแต่การริเริ่มแผนงาน คาดว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า จะสามารถให้การสนับสนุนด้านการเงินมูลค่ากว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการพัฒนาในด้านการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว ภาคพลังงาน การรับมือ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจการเกษตร และการพัฒนาของชุมชนเมือง อย่างไรก็ดี เอดีบีได้ให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับแผนงาน GMS ไปแล้วกว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับตั้งแต่ที่แผนงานได้เริ่มขึ้น


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

เพื่อให้สามารถบรรลุโครงการพัฒนาดังที่กล่าวมาได้ และเพื่อให้เกิดความคืบหน้าในโครงการเร่งด่วนอื่น ๆ เช่น การควบคุมโรคติดเชื้อ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หุ้นส่วนด้านการพัฒนาที่เข้มแข็งจึงจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากแผนงาน GMS ตั้งอยู่บนรากฐานของความร่วมมือจากหลาย ๆ ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หุ้นส่วนการพัฒนา นักวิชาการ และสื่อสารมวลชน

อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงจะได้รับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนพัฒนาที่เข้มแข็ง ผ่านกรอบความร่วมมืออื่น ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งจะทำให้เกิดโอกาสทางการพัฒนาใหม่ ๆ ในภายภาคหน้า

 

[caption id="attachment_276201" align="aligncenter" width="503"] ©Hoang Anh ©Hoang Anh[/caption]

ภาคเอกชนจะกลายมาเป็นหุ้นส่วนพัฒนาที่สำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต ดังนั้น จึงเป็นเรื่องน่ายินดี ที่เห็นพวกภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทผ่านโครงการและแผนงานต่าง ๆ ของ GMS มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ผ่านสภาธุรกิจ GMS (The GMS Business Council) โครงการริเริ่มธุรกิจในลุ่มแม่น้ำโขง (The Mekong Business Initiative) ระบบการค้าออนไลน์ การประชุมด้านการท่องเที่ยวและการเกษตรของลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Tourism and Agriculture Forums) และการประชุมของภาคการเงินและการค้าระหว่างประเทศ (GMS Finance Sector and Trade Finance Conference) ที่เพิ่งจุดไปเมื่อเร็ว ๆ นี้

ผมมั่นใจว่า อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงจะสามารถเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ได้ แต่ในขณะเดียวกัน อนุภูมิภาคจะสามารถหยิบยกโอกาสใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างทางได้เช่นเดียวกัน หากประเทศสมาชิก GMS ร่วมมือกัน จะทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าที่รวดเร็ว ยั่งยืน และครอบคลุมทุกภาคส่วนไปอีก 25 ปีข้างหน้า และนานกว่านั้น โดยเอดีบีจะยังคงบทบาทในฐานะหุ้นส่วนพัฒนาที่สำคัญและเชื่อถือได้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ GMS

 

[caption id="attachment_276202" align="aligncenter" width="462"] ทาเคฮิโกะ นาคาโอะ ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ทาเคฮิโกะ นาคาโอะ
ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี)[/caption]

……………….
บทความ โดย ทาเคฮิโกะ นาคาโอะ
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,353 วันที่ 1-4 เม.ย. 2561 หน้า 10

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ไทยพร้อมร่วมมือปท.สมาชิกลุ่มน้ำโขงบริหารจัดการทรัพยากรให้มั่งคั่งยั่งยืน
กำหนดการนายกฯ ร่วมประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 3


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว