"พาณิชย์" ติดตามสถานการณ์ซีเรีย คาดว่ายังไม่มีความรุนแรงเพิ่ม หลัง ปธน. "ทรัมป์" ไม่ประกาศคว่ำบาตร "รัสเซีย" เพิ่ม

17 เม.ย. 2561 | 14:54 น.
นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ความขัดแย้งล่าสุดของการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสในซีเรียว่า แม้ว่าจะมีความตึงเครียดระหว่างประเทศอยู่บ้าง แต่สถานการณ์ความรุนแรงล่าสุดอยู่ในวงจำกัด ซึ่งมีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่ความขัดแย้งจะผ่อนคลายลง เนื่องจากหลายฝ่ายมีการเรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อหาทางออกอย่างสันติ ขณะที่ท่าทีของสหรัฐฯ เริ่มผ่อนคลายลงเช่นกัน หลังจาประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ปฏิเสธที่จะออกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมต่อรัสเซีย
02-37 ทั้งนี้ การปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ต่อซีเรียครั้งนี้เป็นครั้งที่สองนับจากเดือนเมษายน 2560 โดยอ้างสาเหตุของการโจมตีเช่นเดียวกัน และในครั้งนั้นรัฐบาลซีเรียไม่ได้ใช้กำลังทหารตอบโต้แต่อย่างใด ขณะที่ผลของการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ครั้งนี้ ส่งผลในเชิงจิตวิทยาต่อตลาดโภคภัณฑ์เพียงในระยะสั้น โดยราคาน้ำมันดิบ WTI และ Brent ในวันที่ 13 เม.ย. ปรับขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ ต่อ บาร์เรล มาอยู่ที่ 67.39 และ 72.58 ดอลลาร์ ต่อ บาร์เรล ตามลำดับ ก่อนที่จะปรับลดลง โดยในวันที่ 16 เม.ย. ราคาน้ำมัน WTI และ Brent อยู่ที่ 66.22 และ 71.42 ดอลลาร์ ต่อ บาร์เรล ขณะที่ราคาทองคำ ในวันที่ 13 เม.ย. เพิ่มขึ้นประมาณ 10 ดอลลาร์ ต่อ ทรอยออนซ์ มาอยู่ที่ 1,345.21 ดอลลาร์ ต่อ ทรอยออนซ์ ทั้งนี้หากไม่มีความรุนแรงเพิ่มเติมคาดว่าราคาน้ำมันและราคาทองคำกลับจะกลับมาอยู่ในระดับปกติในระยะเวลาอันใกล้

สนค. ประเมินว่า การใช้ปฏิบัติการทางทหารระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย/อิหร่านในชั้นนี้ ยังมีความเป็นได้น้อย แต่กระทรวงพาณิชย์ก็ติดตามอย่างใกล้ชิด ในส่วนของการใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมต่อรัสเซีย ที่ปธน. ทรัมป์ ให้ชะลอไว้ก่อนนั้นน่าจะดีต่อไทย เพราะตลาดรัสเซียกำลังเป็นตลาดส่งออกดาวรุ่งของไทยในขณะนี้ จึงไม่อยากให้เกิดภาวะชะงักงัน
4DQpjUtzLUwmJZZPEbFMx4lnFowhObL2budapSOSMzKX
ทั้งนี้ ใน 2 เดือนแรกของปี 2561 การส่งออกไทยไปรัสเซียมีมูลค่า 200 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว
101.5% มีสัดส่วนการส่งออกคิดเป็น 0.5% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย และเป็นตลาดอันดับที่ 35 โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (46% ของการส่งออกทั้งหมดไปรัสเซีย) ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ และผลไม้กระป๋องและแปรรูป เป็นต้น

สำหรับความเป็นไปได้ในการคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติมโดย UN นั้น คาดว่าจะยังไม่มีมาตรการออกมา ซึ่งก็จะช่วยให้ราคาน้ำมันมีเสถียรภาพต่อไป ทั้งนี้ อิหร่านมีกำลังการผลิตน้ำมัน 3.6-4.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นประมาณ 5%ของกำลังการผลิตน้ำมันในโลก และเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับที่ 3 ของ OPEC ดังนั้น หากอิหร่านถูกคว่ำบาตรจาก UN จะส่งผลกระทบให้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกลดลง และทำให้ราคาน้ำมันปรับสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการส่งออกและอัตราเงินเฟ้อของไทย อย่างไรก็ตามในเบื้องต้น กระทรวงพาณิชย์ยังคงเป้าหมายการส่งออกที่ 8%และคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ 0.7-1.7%