7 ปี "ไฟสงครามซีเรีย" ... 8 ฝ่าย บนกระดานชีวิต

13 เม.ย. 2561 | 04:51 น.
สงครามกลางเมืองซีเรียเปิดฉากขึ้นในปี 2011 จากการลุกฮืออย่างสันติ เพื่อต่อต้านรัฐบาล นายบาชาร์ อัล อัสซาด แต่สถานการณ์กลายเป็นความขัดแย้งที่ซับซ้อน เเละมีฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสงครามกลางเมืองครั้งนี้เพิ่มขึ้น ท่ามกลางชีวิตเเละเลือดเนื้อของชาวซีเรียที่สูญเสียไปหลายชีวิต

จากสงครามภายในประเทศจนกลายเป็นสงครามตัวแทน ตอนนี้สมรภูมิซีเรียมีอยู่เเปดฝ่ายที่ห่ำหั่นกัน คือ รัฐบาลซีเรีย กลุ่มกบฎต่อต้านรัฐบาล กองกำลังชาวเคิร์ด ตุรกี สหรัฐฯ รัสเซีย อิหร่าน และกลุ่มไอเอส


[caption id="attachment_275236" align="aligncenter" width="503"] © AFP Photo/Youssef Karwashan © AFP Photo/Youssef Karwashan[/caption]

เป้าหมายของเเต่ละกลุ่มบนกระดานสงครามเเละชีวิตที่ต้องเสียไปนั้น มีเหตุผลใดที่เคลื่อนไหวในคราวนี้ รวมทั้งอุณหภูมิบนเวทีการเมืองโลกที่วูบวาบเป็นระยะ เมื่อ ‘หมีขาว’ มักคำรามเเละพร้อมจะกางเขี้ยวเล็บเพื่อฟัดพญาอินทรีกับสมรภูมิครั้งนี้

กลุ่มกบฎต่อต้านรัฐบาล
ประกอบด้วย กองกำลังที่มีแนวคิดหลายด้าน เช่น กลุ่มแบ่งแยกดินแดน กองกำลังอิสลามสายอนุรักษ์นิยมขนาดใหญ่ แต่กลุ่มหลัก คือ กองกำลังปลดปล่อยซีเรีย ทุกกลุ่มมีเป้าหมายเดียวกัน คือ โค่นล้มรัฐบาลเเละนายอัสซาด และจัดตั้งกลุ่มของตนเองเป็นผู้ปกครองซีเรีย

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

กองทัพฝ่ายรัฐบาลซีเรีย คือ กองทัพซีเรียที่ภักดีต่อประธานาธิบดี สนับสนุนด้วยกองกำลังกึ่งพลเรือนและกลุ่มติดอาวุธบางกลุ่ม เมื่อรัสเซียเข้ามาเเทรกเเซงเหตุการณ์ในซีเรียครั้งนี้ ทำให้ฝ่ายรัฐบาลที่เกือบเพลี่ยงพล้ำ กลับพลิกเป็นฝ่ายชนะ เช่น การยึดเมืองอเล็ปโปกลับคืนมาอยู่ในการควบคุมของรัฐบาลได้

กองกำลังชาวเคิร์ด
กลุ่มที่อยู่กึ่งกลางของสองฝ่ายนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ คือ กลุ่มติดอาวุธวายพีจี และกลุ่มพีวายดี ชาวเคิร์ดถือเป็นปราการแนวรับสำคัญของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล เพราะกลุ่มชาวเคิร์ดมีบทบาทสำคัญต่อการกวาดล้างกลุ่มไอเอส โดยเฉพาะการยึดคืนเมืองรักกา แต่เป้าหมายของชาวเคิร์ดแตกต่างออกไป แม้ต้องการโค่นผู้นำซีเรีย แต่ชาวเคิร์ดต่อสู้เพื่ออิสรภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนเอง


 

[caption id="attachment_275282" align="aligncenter" width="503"] เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐตุรกี เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐตุรกี[/caption]

ตุรกี
ตุรกีมีส่วนร่วมในสงครามกลางเมืองครั้งนี้ แต่มีสิ่งแอบแฝง เพราะตุรกีเน้นต่อสู้กับชาวเคิร์ด เพราะตุรกีมองว่า เป็นกองกำลังส่วนขยายของกลุ่มติดอาวุธจากพรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน (พีเคเค) ที่พยายามแบ่งแยกดินแดนในตุรกี ดังนั้น กลุ่มดังกล่าวจึงถูกตุรกีระบุว่า เป็นกลุ่มก่อการร้าย

สหรัฐฯ
มีทหารอยู่ภายในซีเรีย 2 พันนาย (ไม่นับรวมเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการลับอีกหลายนาย) การส่งทหารเข้าไปในซีเรียมีหลายมิติด้วยกัน เช่น ต่อสู้กับกลุ่มไอเอส ปราบกลุ่มอัลกออิดะห์ ต้านทานอิทธิพลอิหร่าน โค่นล้มรัฐบาลที่นำโดยนายอัสซาด เป็นต้น บางสิ่งบางอย่างที่น่าสนใจในสมรภูมินี้ของสหรัฐฯ คือ สหรัฐฯ จับมือเป็นพันธมิตรกับตุรกีเพื่อต่อสู้กับนายอัสซาด และยังสนับสนุนกองกำลังชาวเคิร์ดไปด้วย

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

รัสเซีย
รัสเซียส่งกองกำลังเข้าไปแทรกแซงสงครามกลางเมืองครั้งนี้ด้วยการสนับสนุนรัฐบาลซีเรียเมื่อปี 2015 ด้วยการปราบกลุ่มไอเอสและกลุ่มต่อต้านรัฐบาล จนเมื่อปลายปีที่แล้ว รัสเซียจะช่วยให้รัฐบาลซีเรียประกาศชัยชนะเหนือกลุ่มต่อต้านได้สำเร็จ พร้อมทยอยถอนทหาร แต่รัสเซียยังมีฐานทัพอากาศและยุทโธปกรณ์ทางทหารในซีเรียหลายจุด

อิหร่าน
ประเทศนี้เตรียมเข้าร่วมกับรัฐบาลซีเรียด้วย และให้ความช่วยเหลือนายอัสซาดตลอดมา นอกเหนือจากเหตุผลการนับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์เหมือนกันแล้ว  อิหร่านยังเเสดงความพยายามในการขยายอิทธิพลในภูมิภาคตะวันออกกลางอีกด้วย

13-12

กลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลาม
กลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ไอเอส เเละกลุ่มอัลกออิดะห์ รวมทั้งกลุ่มหัวรุนแรงอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มรัฐอิสลาม ซึ่งเคยควบคุมพื้นที่หลายแห่งในซีเรีย ด้วยเป้าหมาย “ก่อตั้งรัฐอิสลาม” แต่ปีที่ผ่านมา กลุ่มนี้บทบาทลดลงจากการสูญเสียพื้นที่ยึดครองไปจำนวนมาก

……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
หมีขาว 'อัด' อินทรี! ค้านกรณีซีเรีย 'ครั้งที่ 12' กลางเวทียูเอ็นเอสซี
ทิศทาง ‘สงครามซีเรีย’ 2018

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว