'แอมเนสตี้' เผยยอด "โทษประหารชีวิต" ปี 60 - 142 ประเทศเลิกไปแล้ว จีนนั่งเเท่นเบอร์หนึ่ง

13 เม.ย. 2561 | 04:02 น.
เมื่อเร็ว ๆ นี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล องค์การนอกภาครัฐที่ทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและทั่วโลก เปิดเผยรายงาน "สถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตในปี 2560" (Death Sentences and Executions in 2017)

นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า ไทยยังคงเป็นหนึ่งใน 56 ประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิตอยู่ ในปี 2560 มีการตัดสินโทษประหารชีวิต 75 ครั้ง ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 ที่มี 216 ครั้ง แม้ว่าไทยยังมีโทษประหารชีวิตอยู่ แต่มีการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายเมื่อเดือน ส.ค. 2552 ซึ่งเป็นการก้าวเข้าสู่ปีที่เก้าที่ไม่มีการประหารชีวิตจริง

 

[caption id="attachment_275269" align="aligncenter" width="503"] © Fotolia/blattwerkstatt © Fotolia/blattwerkstatt[/caption]

"ขณะนี้ประเทศไทยใกล้จะกลายเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติแล้ว หากไม่มีการประหารชีวิตติดต่อกันครบสิบปี องค์การสหประชาชาติจะถือว่าเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติทันที ซึ่งจะกลายเป็นพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของไทย”

สำหรับไทยนั้น ข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2560 ระบุว่า มีนักโทษประหารชีวิตทั้งหมด 502 คน เป็นชาย 414 คน หญิง 82 คน โดยกว่าครึ่งเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด


แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

"แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ดำเนินการตามเจตน์จำนงที่ระบุไว้ในแผนสิทธิมนุษยชน โดยประกาศพักการใช้โทษประหารชีวิตชั่วคราวอย่างเป็นทางการ และเสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อลดจำนวนความผิดทางอาญาที่มีบทลงโทษด้วยการประหารชีวิต รวมทั้งให้ลงนามและให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights) ที่มุ่งยกเลิกโทษประหารชีวิต” นางปิยนุช กล่าว

รายงานของเเอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า แอมเนสตี้ฯ คัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็น ความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตตามที่ประกาศไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และถือเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งมีงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า โทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใด ๆ กับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น


750x422_798714_1523525628

รายงานเผยเเพร่ว่า "สถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตในปี 2560” พบว่า การประหารชีวิตส่วนใหญ่ในโลกเกิดขึ้นในจีน อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย อิรัก และปากีสถาน ตามลำดับ ส่วนประเทศในอาเซียนที่ยังมีโทษนี้ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม ที่มีการประหารชีวิตประชาชน ส่วนไทยเป็นหนึ่งใน 56 ประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิตอยู่ ในขณะที่อีก 142 ประเทศทั่วโลก ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติ

รายงานเผยเเพร่ว่า เมื่อ 40 ปีที่แล้ว 16 ประเทศยกเลิกโทษประหารชีวิต เเต่ปัจจุบัน142 ประเทศ (มากกว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลก) ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติแล้ว แสดงให้เห็นว่าทัศนคติและความเชื่อดั้งเดิมสามารถเปลี่ยนแปลงได้


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

รายงานเผยเเพร่ว่า ข้อมูลของ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่เผยแพร่นั้น ยืนยันว่าแนวโน้มทั่วโลกมุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยในปี 2560 มีประชาชนอย่างน้อย 993 คน ที่ถูกประหารชีวิตใน 23 ประเทศ โดยตัวเลขเหล่านี้ไม่ครอบคลุมการประหารชีวิตหลายพันครั้งที่เกิดขึ้นในจีน ซึ่งทางการถือว่า ข้อมูลการใช้โทษประหารชีวิตเป็นความลับทางราชการ

รายงานเผยเเพร่ว่า ปี 2560 มีการตัดสินโทษประหารชีวิตอย่างน้อย 2,591 ครั้ง ใน 53 ประเทศ โดย 50 ประเทศพิพากษาประหารชีวิต หรือประหารชีวิตประชาชนในคดียาเสพติด ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ โดยในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือมีการประหารชีวิตคดียาเสพติดสูงที่สุด ส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น ประเทศที่ใช้โทษประหารชีวิตกับความผิดนี้สูงสุด คือ 10 จาก 16 ประเทศ

 

[caption id="attachment_275271" align="aligncenter" width="400"] © Janet Lackey, CC-BY-NC © Janet Lackey, CC-BY-NC[/caption]

“จนถึงสิ้นปี 2560 ยังคงมีนักโทษประหารอยู่ทั่วโลกอย่างน้อย 21,919 คน”

สำหรับประชาคมอาเซียน (สมาชิก 10 ประเทศ) พบว่า กัมพูชาและฟิลิปปินส์ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท ส่วนบรูไน สปป.ลาว และเมียนมายกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ (หมายถึงการที่ยังคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิต แต่ได้ระงับการประหารชีวิตจริงเป็นระยะเวลา 10 ปีติดต่อกัน) ส่วนไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนามยังคงมีและใช้โทษประหารชีวิตอยู่

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

รายงานระบุว่า สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนามยังคงประหารชีวิต โดยปี 2560 สิงคโปร์ประหารชีวิตประชาชนแปดคน มาเลเซียนั้นมีสี่คนเป็นอย่างน้อยที่ถูกประหารชีวิต ส่วนเวียดนามนั้น ทางการเวียดนามไม่ได้เปิดเผยสถิติการประหารชีวิตอย่างเป็นทางการ เนื่องจากตัวเลขการประหารชีวิตถือเป็นความลับทางราชการ จึงไม่สามารถยืนยันตัวเลขที่แท้จริงได้เเละเวียดนามมีแนวโน้มการประหารชีวิตที่สูงที่สุดในภูมิภาค


……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ฐานโซไซตี : บ้านเอื้ออาทรหลอน”วัฒนา” โทษแรง“ประหารชีวิต”
"คิม จองอึน" สั่งประหารชีวิตรองนายกฯ


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว