"สุพันธุ์" พร้อมนำ "สอท." มุ่งเคลื่อนห้ายุทธศาสตร์หลัก

09 เม.ย. 2561 | 14:06 น.
ประธานสภาอุตสาหกรรมคนใหม่เผย 5 ยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อน เน้นการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรองรับเทคโนโลยีเปลี่ยน เชื่อสงครามการค้าสหรัฐกับจีนกระทบทั้งทางบวกและลบ แย้มเตรียมส่งโครงสร้างแก้ไข พ.ร.บ. ให้รัฐบาลในปีนี้

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน ส.อ.ท. ในระยะต่อไปจะมุ่งเน้นการดำเนินงาน 5 ด้านหลัก ได้แก่ 1.เสริมสร้างความเข้มแข็งของ ส.อ.ท. ทั้งเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ รวมถึงความร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรม ความร่วมมือระดับจังหวัด และความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคการศึกษา ,2.การเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย โดยปัจจุบันต้องยอมรับว่าโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก หรือเทคโนโลยีรูปแบบใหม่เกิดขึ้นมาเป็นจำนนมาก ดังนั้น การจะทำให้อุตสาหกรรมแข่งขันได้จึงต้องแปลงเทคโนโลยีมาใช้ในอุตสาหกรรม โดย ส.อ.ท.จะมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ไว้คอยรองรับ รวมถึงมีระบบพี่เลี้ยงน้อง เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมให้เข้มแข็ง

[caption id="attachment_274749" align="aligncenter" width="331"] สุพันธุ์ มงคลสุธี สุพันธุ์ มงคลสุธี[/caption]

3. เน้นกลุ่ม Startup และเอสเอ็มอี เพราะอุตสาหกรรมต่างๆประมาณ 90% มาจากเอสเอ็มอี ดังนั้น จึงต้องเน้นการส่งเสริมกลุ่มดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่ธุรกิจ หรือการประสานความมือกับภาครัฐให้บริษัทขนาดใหญ่เข้ามาช่วยเหลือ ,4.การทำโครงการ CSR ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพราะ ส.อ.ท. มีสถาบันที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว เพราะฉะนั้นจึงต้องเข้าไปดูแล และ 5.การพัฒนาบุคคลากรในองค์กรให้เกิดความสามารถที่จะแข่งขันได้

“ธีมวันนี้คือเน้นการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม (Industry Transformation) โดยต้องยอมรับว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับภาคการผลิต และภาคการบริโภคอย่างมาก ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมทุกอย่างต้องเปลี่ยนไป ส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมต้องปิดกิจการไป เพราะฉะนั้นจึงต้องเน้นเรื่องการใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย โดยภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดต้องร่วมมือกับภาคการศึกษา และภาครัฐ โดย ส.อ.ท.จะผลักดันทุกยุทธศาสตร์คู่ขนานกันไป ซึงปัจจุบันเรามีอยู่ 45 กลุ่มอุตสาหกรรม 74 จังหวัด 9 สถาบัน และ 10 สายงาน โดยวันนี้จะทำงานให้ลึกขึ้น ซึ่งจะมีทีมงานที่ทำงานกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรโดยตรง”

นายสุพันธุ์ กล่าวต่อไปอีกถึงประเด็นเรื่องการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนด้วยว่า มีกลุ่มอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบอย่างแน่นอนโดยมีทั้งทางบวกและทางลบ เนื่องจากการแข่งขันการกีดกันทางการค้าบางอุตสาหกรมจะถูกกระทบ บางอุตสาหกรรมก็จะได้รับอานิสงส์ เช่น สหรัฐถูกเพิ่มภาษีจำนวนมากไปจีน อุสาหกรรมที่ไทยมีอยู่อาจได้ผลกระทบน้อยลง แต่อุตสาหกรรมที่ต่างส่งออกไปไม่ได้ และต้องส่งเข้ามาในประเทศไทยาคาสูงอาจจะได้รับผลกระทบ

“ต้องติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด แต่อย่างน้อยเชื่อว่าผลกระทบในลักษณะดังกล่าวนี้จะอยู่ได้ไม่นาน เพราะจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องขอทั้ง 2 ประเทศ และจะลุกลามไปทั่วโลก ดังนั้น เชื่อว่าที่สุดแล้วก็จะต้องมีบางเรื่องที่ต้องหันมาพูดคุยกัน ซึ่งก็น่าจะทำให้เกิดความยุติธรรมในเศรษฐกิจโลกมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญก็คือันนี้กำลังการผลิตเหลือ โดยที่อุปทานมีมากกว่าอุปสงค์ เพราะฉะนั้นทุกอุตสาหกรรมต้องดิ้นรน หรือต้องมีการวมตัวกันเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะทำให้อุตสาหกรรมเข้มแข็งมากขึ้น”

อย่างไรก็ดี หากถามว่าอุตสาหกรรมใดจะถูกผลกระทบเป็นพิเศษ มองว่าน่าจะเป็นอุตสาหกรรมเหล็กที่น่าจะต้องกังวล แต่ปัจจุบันยังไม่ถูกกระทบโดยตรง รวมถึงอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็จะต้องติดตามสถานการณ์ดูว่าทั้ง 2 ประเทศจะใช้อุตสาหกรรมใดเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ

นายสุพันธุ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ในส่วนของการแก้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส.อ.ท. นั้น ล่าสุดอยู่ระหว่างขั้นตอนของการหารือเพื่อร่วมกันแก้ไข โดยจะพยายามไม่ให้เกิดความขัดแข้ง ซึ่งในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์ได้ว่า ส.อ.ท. ไม่มีข้อขัดแย้งในการเลือกประธาน โดยมีการร่วมมือกัน และมีการหารือกันมากขึ้น ซึ่งในลำดับต่อไปจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานอย่างชัดเจน โดยตั้งเป้าว่าโครงสร้างของการแก้ไข พ.ร.บ. จะต้องออกจาก ส.อ.ท. เพื่อส่งต่อไปยังรัฐบาลภายในปีนี้

“ระยะเวลาในการปรับโครงสร้างจาก ส.อ.ท. คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่กระทบวนการของสภานิจิบัญญัติแห่งชาติอีกประมาณ 6 เดือน โดยปัจจุบันกำลังอยู่ในกระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประเด็นหลักที่จะต้องแก้คือ วิธีการเลือกตั้ง รวมถึงเรื่องของสมาชิก และลักษณะของสมาชิก เพราะวันนี้อุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ดังนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไข”