ธุรกิจทีวีดิจิตอลไทย ยังไหวอยู่ไหม ?

09 เม.ย. 2561 | 10:04 น.
1455454541 นับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ธุรกิจทีวี ไทยได้ปรับเปลี่ยนรูป แบบจากการออก อากาศระบบอนาล็อกซึ่งเดิมมี เพียง 6 ช่องมาเป็นการออกอากาศ ด้วยระบบดิจิตอลเพิ่มเป็น 24 ช่อง ทําให้เกิดการแข่งขันอย่าง มากจากจํานวนช่องที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทุกซ่องต่างมีต้นทุน การเข้าประมูลใบอนุญาตดําเนิน ธุรกิจทีวีดิจิตอลิซาก กสทช.ซึ่ง มีต้นทุนรวมกันถึง 5 หมื่นล้าน บาท การแข่งขันที่มากขึ้น ภายใต้งบโฆษณาทางทีวีที่ชะลอตัวลง ทําให้ธุรกิจทีวีหลายช่องประสบ ภาวะขาดทุนเมื่อกลับมามองย้อนถึง
digitaltv ปัจจัยที่ทําให้ธุรกิจทีวีหลายช่อง ต้องอยู่ในภาวะขาดทุนจะพบว่า มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1.เรื่อง ของเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อทีวีที่ เติบโตอย่างจํากัดอยู่ที่ประมาณ 6.6 หมื่นล้านบาทต่อปี ปัจจัยนี้ เป็นเรื่องของตลาดที่เปลี่ยนแปลง ไป และคาดว่าการเข้าสู่ยุคดิจิตอล จะทําให้แนวโน้มการเติบโตผ่าน สื่อทีวีอยู่ในระดับต่ำเนื่องจาก ธุรกิจยุคใหม่มีการใช้สื่อดิจิตอล ที่หลากหลายเพื่อเข้าถึงผู้บริโภค ทําให้การพึ่งพิงสื่อทางทีวีน้อยลง และ

2.มาจากปัจจัยเรื่องของ โครงสร้างธุรกิจ ด้วยจํานวนช่อง ทีวีในปัจจุบันมีถึง 22 ช่อง และมี ต้นทุนของการให้บริการอยู่ใน ระดับสูงจากการประมูลใบอนุญาต ตอนเริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้น โจทย์เรื่องของต้นทุนการประมูลใบอนุญาตของผู้ประกอบการที่ค่อนข้างสูงยังเป็นวาระสําคัญของผู้ประกอบการและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องหารือร่วมกันเพื่อ แก้ไขปัญหาในระยะยาว
MP23-3353-A อย่างไร ก็ตามในระยะสั้นการปรับตัวภาย ใต้การแข่งขันที่สูงจากคู่แข่งใน อุตสาหกรรมและคู่แข่งจาก สื่อดิจิตอลอื่นๆ ภายใต้ แนวโน้มตลาด ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว ในส่วนนี้ผมอยาก ระหยิบรายงานการวิจัย ของPVC เรื่องทิศทาง แนวโน้มสื้อธุรกิจบันเทิง และมีเดียของโลกที่พูด ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความ สําเร็จในธุรกิจสื่อบันเทิง และมีเดียซึ่งประกอบ ไปด้วยกัน 3 ปัจจัยหลัก เพื่อเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่ช่วย เสริมในเรื่องนี้ได้ คือ

1. เนื้อหา (Content) รายการที่มีเนื้อหาที่จะสามารถ ดึงดูดผู้ชมได้ โดยการสร้างเนื้อหา ที่ดีจะต้องระบุให้ชัดว่าใครคือ ผู้ชมเป้าหมายและต้องสื่อความออกไปให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจใน สารที่ส่งออกไปว่า เต็องการให้ผู้ ชมรับรู้อะไร ต้องกระตุ้นความ รู้สึกให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับเนื้อหา นั้นๆ ผมมองว่าข้อนี้เป็นกุญแจหลัก ขอยกตัวอย่างเนื้อหาที่ ประสบความสําเร็จในไทยเช่น "รายการ The Mask Singer" ของ ช่อง Workpoint เป็นเนื้อหาที่ทํา ให้ผู้ชมรู้สึกสนุกกับเสียงร้องเพลง ของผู้แข่งขัน สไตล์การคอมเมนต์ ของกรรมการและลุ้นว่าใครคือ คนใส่หน้ากากรายการข่าวยอดนิยม "ชูวิทย์ ตีแสกหน้า ปี 2" และ "ถามตรงๆ กับจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์" ของช่องไทยรัฐทีวีที่เน้น เนื้อหาการวิเคราะห์เจาะลึกต่อ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย อย่างตรงไปตรงมา และ "ละคร หลังข่าวเรื่องบุพเพสันนิวาส" ของ ช่อง 3 ด้วยเนื้อหาของละครที่ แปลกใหม่และกระแสในสื่อดิจิตอล ที่แพร่กระจาย อย่างไรก็ตามใน ส่วนของเนื้อหาจําเป็นจะต้องมี ความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยน ไปตามสถานการณ์ โดยเนื้อหาที่ดีต้องสร้างกระแสได้

2. ช่องทางการนําเสนอ (Distribution) ต้องยอมรับว่า หากผู้ประกอบการยังคงพึ่งพิง ช่องทางหลักทางทีวีในการสร้าง รายได้อย่างเดียว อาจจะไม่เพียง พออีกต่อไป เพราะพฤติกรรมผู้ บริโภคเปลี่ยนแปลงไป คนไทยใช้โทรศัพท์มือถือจํานวน 53.61 ล้านหมายเลข มีผู้ใช้งาน อินเตอร์เน็ต 57 ล้านคนและมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ในจํานวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ทั้งหมดมีผู้ที่ใช้ Social Media (อาทิ Facebook, YouTube, Line, Instagram) เป็นประจําผ่าน Smart Device จํานวน 46 ล้าน คน
49 ดังนั้น เนื้อหารายการทําได้ ดีแล้ว ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ต้องฝังเข้าไปผ่านช่องทาง ออนไลน์เหล่านั้น เพื่อให้เกิด ประโยชน์ ซึ่งจะเห็นว่าเม็ดเงิน โฆษณาผ่านอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน มีไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว ปีที่แล้วมี เม็ดเงินโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต กว่า 1.5 พันล้านบาท และเติบโต ปีละไม่ต่ํากว่า 10% นอกจากนี้ เมื่อเนื้อหาที่อาจต้องหาพันธมิตร ต่างชาติเพื่อแลกเปลี่ยน ซื้อขาย เนื้อหารายการทีวี หรือละคร เช่น ขายน้ําละครในต่างประเทศที่โด่ง ตั้งมาฉายในไทย ในขณะที่ละคร ไทยที่ตั้ง ก็นําไปขายของต่างชาติ ก็จะช่วยเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง

3. ประสบการณ์ผู้ชม (User Experiences) ข้อนี้ค่อนข้างสําคัญ เพราะผู้ชมจะรับรู้เนื้อหาผ่านช่อง ทางที่ผู้ประกอบการธุรกิจทีวีนำเสนอ ประสบการณ์การรับรู้ของผู้ชม สามารถส่งผ่านบอกต่อไป ยังผู้ชมรายอื่นๆ ได้ เมื่อก่อนเมื่อ ผู้ชมคนหนึ่งดูรายการแล้วรู้สึก ชอบใจ ก็จะนําไปเล่าให้เพื่อนฟัง ทําให้มีผู้ชมอยากดู เป็นการบอก เล่าปากต่อปาก ซึ่งกระบวนการนี้ อาจใช้เวลามากกว่าจะรับรู้ออกไป เป็นวงกว้างรายการหรือละครนั้นๆ ก็อาจใกล้หรือจบไปแล้ว ทําให้ เจ้าของเนื้อหาไม่ได้รับประโยชน์ มากนัก
ทีวีดิจิทัลไทย-remote-and-tv แต่ปัจจุบันช่องทางการ รับรู้ผ่าน Social Network ของ ผู้ชมมันรวดเร็วมากสามารถ ถ่ายทอดสดผ่านช่องทางเหล่า นั้นผู้ชมจากทุกมุมโลกสามารถ พูดคุยกันได้ทันทีแบบ Real Time ยิ่งเพิ่มปฏิสัมพันธ์ แบบปากต่อปากใด้หลายเท่าตัว ฉะนั้นช่อง ทางทางทีวีอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ อาจต้องเพิ่มช่องทางการรับ ชมของผู้ชมผ่านช่องทางการถ่าย ทอดสดที่ผู้ชมสามารถมีปฏิสัมพันธ์ ตอบสนองต่อเนื้อหานั้นกับกลุ่ม ผู้ชมทั่วทุกมุมโลก ก็จะช่วยเพิ่ม พลังประสบการณ์ของผู้ชมราย อื่นๆ ขยายวงกว้างออกไปได้

ทั้ง 3 ปัจจัยนี้จึงเป็นกุญแจ ความสําเร็จของธุรกิจทีวีในด้าน การตลาด ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบ การธุรกิจทีวีไทยหลีกไม่พ้นที่จะ ต้องทําคือ “เนื้อหาต้องดี ช่องทาง ต้องเฉียบ ประสบการณ์ผู้ชมต้อง โตน” ซึ่งจะต้องผสมองค์ประกอบ เหล่านี้อย่างเหมาะสมและแน่นอน ว่าธุรกิจทีวีไทยยังพอมีเวลาปรับ ตัวและรอการพิสูจน์ครับ

....................
เซกชั่นการเงิน|หน้า 23 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,353 ระหว่างวันที่ 1-4 เม.ย. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว