'อี-มันนี่' คู่แข่งแบงก์! อาศัยช่องนาโนไฟแนนซ์ - ปล่อยกู้ผ่าน Request to Pay

09 เม.ย. 2561 | 07:55 น.
090461-1420

เครดิตบูโร ชี้! เทรนด์แบงก์เขอคู่แข่งเพิ่ม ‘อี-มันนี่’ ทำธุรกิจสินเชื่อ กู้ระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม Request to Pay อาศัยช่องทางนาโนไฟแนนซ์ เหตุต้นทุนต่ำ ระบุ 2 เดือนแรกของปี สมาชิกยังไม่วางใจ แห่ตรวจสอบข้อมูลลูกค้า ทั้งรายเก่า รายใหม่เพียบ

บริษัท ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร อยู่ระหว่างแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต เพื่อให้ผู้ประกอบการเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ ฟินเทค สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกของเครดิตบูโรได้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติทางการเงิน ประกอบการพิจารณาในการอำนวยสินเชื่อในอนาคต

 

[caption id="attachment_274633" align="aligncenter" width="312"] สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร สุรพล โอภาสเสถียร
ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร[/caption]

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร เปิดเผยว่า หากกฎหมายการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตอนุญาตให้ฟินเทคเข้ามาเป็นสมาชิกได้ภายในสิ้นปีนี้ จะทำให้เครดิตบูโรมีสมาชิกเพิ่มเป็น 110 ราย จากปัจจุบันที่มี 99 ราย แต่หากกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถออกมาได้ สมาชิกอาจจะมีจำนวนเพียง 102 รายเท่านั้น เพราะขณะนี้ มีผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตนาโนไฟแนนซ์ยื่นขอสมัครเป็นสมาชิก 3-4 ราย ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจอี-วอลเล็ต บริษัท อี-คอมเมิร์ซ แพลตฟอร์ม, บริษัท ดิจิตอล คอนเซนต์ฯ ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นลักษณะกลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมฐานลูกค้าใน Ecosystem และมีความเชื่อมโยงกับบริษัท ไปรษณีย์ไทยฯ และบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรสฯ ด้วย

“กลุ่มนี้ถือใบอนุญาตนาโนไฟแนนซ์ ที่ผ่านมามีการปล่อยกู้กันเอง ก่อนที่จะเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกเครดิตบูโรอยู่แล้ว โดยมียอดปล่อยกู้เป็นหลัก 1 แสนบัญชี แต่หนี้เสียที่เป็นเอ็นพีแอลต่ำกว่า 1.4% แต่ที่เขาต้องการใช้ข้อมูลเครดิตบูโร ก็เพื่อจะขยายพอร์ตสินเชื่อเพิ่มขึ้น ดังนั้น วันข้างหน้า หากเขาสามารถใช้ข้อมูลประวัติเครดิตบูโรไปประกอบการพิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อ โอกาสที่จะทำให้หนี้เอ็นพีแอลและการคิดดอกเบี้ยต่ำลงได้อีก เพราะต้นทุนที่ต่ำกว่า ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มนี้คิดดอกเบี้ยในอัตรา 1% ต่อเดือน หรือประมาณ 12-15% ต่อปี”


090461-1423

ดังนั้น การเข้ามาเป็นสมาชิกเครดิตบูโรของกลุ่มดังกล่าว ผ่านช่องทางนาโนไฟแนนซ์ จึงเป็นความท้าทายสำหรับระบบธนาคารพาณิชย์มาก เพราะจากตัวอย่าง 3-4 บริษัทดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า การสร้างแพลตฟอร์มและปล่อยกู้ที่มีฐานข้อมูลในกลุ่ม หรือที่เรียกว่า Ecosystem นั้น เป็นการปล่อยกู้โดยที่ยังไม่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร แต่เมื่อบริษัทจะเสี่ยงเพิ่มขึ้น จึงต้องการข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ‘อี-วอลเล็ต’ ยังไม่สามารถปล่อยกู้ได้ แต่หากใช้ใบอนุญาตนาโนไฟแนนซ์ให้บริการ ‘อี-มันนี่’ หรือ ทำธุรกิจสินเชื่อได้ เหมือนกับค่ายบริษัทมือถือ หรือ เทลโก้ ที่เคยให้ยืมเงิน หรือ เติมเงิน เช่น ถ้าอนุญาตให้ ‘อี-วอลเล็ต’ หรือ กระเป๋าติดลบ หรือ ใหญ่ขึ้น คือ ยอมให้ ‘อี-วอลเล็ต’ ติดลบ แล้วสามารถเติมหรือยืมเงินได้ โดยใช้ Request to Pay เพราะพวกนี้จะขาดเงินเพียงระยะสั้น ๆ 5 วัน หรือ 8 วัน เท่านั้น


สินเชื่อบุคคล

ดังนั้น เมื่อ Request to Pay ส่งไปให้ยืม 6 วัน พอถึงวันที่ 6 หรือ ยืมเงิน 8 วัน พอถึงวันที่ 9 ผู้ใช้บริการมีทางเลือก คือ 1.จ่ายคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย หรือ 2.จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย โดยเลี้ยงเงินต้นไว้ก่อน ซึ่งปัจจุบัน Business Model นี้ ระบบทำได้หมดอยู่แล้ว และต่อไปหากสามารถทำได้อย่างนี้ คนค้าขายที่ขาดเงินระยะสั้นก็สามารถมาใช้แพลตฟอร์มนี้ได้ เพราะมีความยืดหยุ่นสูง

“ถ้ายอมให้ อี-มันนี่ ทำเช่นนี้ได้ ต้องมีวงเงิน 2 ก้อน คือ ก้อนหนึ่งเป็นเงินของลูกค้าที่เอาใจใส่ในกระเป๋า เพื่อรองรับการใช้จ่ายในอนาคต และอีกก้อนจะเป็นของ อี-มันนี่ เอง ที่เตรียมไว้เพื่อรองรับการปล่อยกู้ กรณีที่ลูกค้า เช่น นาย ก., นาย ข. และนาย ค. ที่เงินใน อี-วอลเล็ต ติดลบ โดยที่ อี-มันนี่ สามารถเติมเงินในส่วนนี้ได้ ก็เหมือนกรณีเทลโก้ให้ลูกค้ามือถือยืมเงิน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะเหมือนการแสดงอิทธิฤทธิ์ Disrupt ระบบสินเชื่อ”


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

สำหรับการตรวจสอบข้อมูลในเครดิตบูโร นายสุรพล กล่าวว่า ช่วง 2 เดือนแรกของปี พบว่า สมาชิกทั้ง 99 ราย ยังไม่ไว้ใจสถานการณ์ โดยยังคงมีการตรวจดูข้อมูลเครดิตลูกค้าเก่าและรายใหม่ ซึ่่งในส่วนของเครดิตบูโรเอง ยังเกาะสัญญาณการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต แม้ว่ามาตรการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ออกมาเบรก หรือ ชะลอลูกหนี้รายใหม่ แต่สถาบันการเงินต้องเคลียร์ลูกหนี้รายย่อย เช่น ปรับโครงสร้างหนี้

ขณะที่ สินเชื่อบ้านนั้น ปีนี้ตลาดคาดหวังจะเติบโตที่ระดับ 10% จากที่ผ่านมา ทำได้ 6.6% เพราะคนซื้อถูกจำกัดด้วยรายได้และประวัติเครดิตที่สถาบันการเงินเข้มงวดมากขึ้น ทั้งลูกค้าและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งเป็นข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เรื่องปัญหาเอ็นพีแอล 2 ขา โดยแนวโน้มสถาบันการเงินทุกค่ายจะหันเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 5 หมื่นบาทขึ้นไป และสินเชื่อรถยนต์จะกลับมาเป็นพระเอกในปีนี้


MP24-3322-A

“เท่าที่ติดตามยังไม่เห็นบัญชี Re-Entry ชัดเจนนัก แต่ปีที่แล้ว ตัวเลขที่ออกมาเป็นการกำกับเพียงไตรมาสเดียว จึงต้องดูผลกำกับในปีนี้ทั้งปีด้วย ซึ่ง ธปท. ขอข้อมูลจากเราไปเพื่อจะดูผลกระทบเช่นกัน”


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,355 วันที่ 8-11 เม.ย. 2561 หน้า 23
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
จี้ปรับตัวรับมือ‘ไร้เงินสด’สมาคมค้าเงินคาดเหลือ15% แนะใช้ดิจิตอล-อี-มันนี่
‘อี-คอมเมิร์ซ’ร้อนฉ่า โซเชียลสู้มาร์เก็ตเพลส


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว