โวยกลับลำ! ภาษีบ้านหรู 50 ล้าน

06 เม.ย. 2561 | 11:06 น.
060461-1716

เอกชน-หอการค้า โวย! ‘ภาษีที่ดิน’ อุ้มบ้านหรู หลังถอยกลับไปยึดหลังละ 50 ล้านอัพ ขณะที่ สนามกอล์ฟกว่า 200 แห่ง เฮลั่น! ... อ้างดันท่องเที่ยวโต ... กมธ. อ้างบางส่วนยังไม่พร้อม ยืดพิจารณาไปถึงปลาย พ.ค. นี้

จากกรณีคณะกรรมาธิการวิสามัญ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. พลิกกลับไปยึดร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดให้บ้านหลังแรกตั้งแต่ 0-50 ล้านบาท จากราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ได้รับยกเว้นภาษี และยกเลิกตัวเลขที่เคยเคาะไว้ที่ 20 ล้านบาท โดยไม่สนใจกระแสวิจารณ์อีกครั้ง กรณี “อุ้มคนรวย”


1389669639

พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง โฆษกคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ว่า มี กมธ. ท่านหนึ่ง เสนอให้กลับไปใช้เกณฑ์มูลค่าบ้านหลังแรก 50 ล้านบาทขึ้นไป อยู่ในข่ายเสียภาษีที่ดิน เนื่องจากเป็นร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งผ่านวาระแรกของ กมธ.วิสามัญ แล้ว นอกจากนี้ บ้านหลังแรก 50 ล้านบาท ยังผ่านการรับฟังความเห็นประชาชน และมีการสำรวจตัวเลขทั้งหมดว่า มีไม่ถึง 1 หมื่นหน่วย ตามที่กระทรวงการคลังระบุ ขณะที่ บ้านหลังแรกมูลค่า 20 ล้านบาทขึ้นไป มีจำนวน 2-3 หมื่นหลังทั่วประเทศ แต่หากท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถจัดเก็บรายได้เข้าท้องถิ่นตนเอง จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลตามปกติ หรือ แบ่งงบสนับสนุนจากท้องถิ่นที่สามารถเก็บรายได้สูงกว่าไปยังท้องถิ่นเล็ก อาทิ กทม. และจังหวัดปริมณฑล เป็นต้น

ด้าน นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรและกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า หาก กมธ. และกระทรวงการคลังกลับไปยึดมูลค่าบ้านหลังแรกตั้งแต่ 0 บาท - 50 ล้านบาท สมควรได้รับการยกเว้นภาษีอีกครั้ง มองว่า ท้องถิ่นห่างไกลจะกระทบ ไม่สามารถจัดเก็บรายได้เพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่ของตนเองได้ เนื่องจากบ้านมูลค่า 50 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังสำรวจมีเพียง 9,000 หลังทั่วประเทศ เท่านั้น และส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หากเป็นเช่นนี้มองว่า ก็ควรยกเว้นที่อยู่อาศัยทั้งหมด ไม่ต้องจัดเก็บจะเหมาะสมกว่า


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

นอกจากนี้ ยังยกเว้นประเภทธุรกิจอื่นอีกหลายรายการ อาทิ สนามกอล์ฟ กำหนดให้เป็นประเภทกีฬา เกรงว่าจะกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศ


060461-1729

น.พ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริหาร ราชธานี กรุ๊ป กล่าวว่า การเรียกเก็บภาษีเป็นดาบ 2 คม รัฐบาลเกรงว่า ตลาดอสังหาฯ จะได้รับผลกระทบหากเรียกเก็บภาษีแบบแรง ๆ โดยเฉพาะบ้านหลังแรก มูลค่าต่ำ ๆ ผู้บริโภคต้องรับภาระสูง การกลับไปยึดตัวเลขที่ 50 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่า เจตนาที่แท้จริงของรัฐบาล คือ ไม่ต้องการให้ประชาชนรับภาระภาษีนั่นเอง สำหรับ ‘บริษัท ราชธานี’ ยอมรับ มีที่ดินรอการพัฒนาจำนวนมาก พื้นที่ไหนรกร้างก็เข้าไปพัฒนา หากต้องเสียภาษี


405483_501921946488050_476441016_n

ด้าน นายคงธวัช พงษ์ศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มสุวรรณ กรุ๊ป เจ้าของสุวรรณกอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จ.นครปฐม กล่าวว่า กรณีที่มีการผ่อนผันภาษีที่ดิน-บ้านหลังแรก ตามข้อเท็จจริง กลุ่มกำลังซื้อระดับบนไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมีกำลังจ่ายภาษีได้ แต่ที่รู้สึกดี คือ สนามกอล์ฟได้รับการยกเว้น เพราะเรียกร้องมานานจากการเรียกเก็บภาษีฟุ่มเฟือยของกรมสรรพสามิต หากถูกจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราพาณิชย์อีก เจ้าของสนามจะได้รับผลกระทบ เพราะต้องใช้ทุนมาปรับปรุงสนามให้อยู่ในสภาพที่ดี ดึงดูด การท่องเที่ยวจากต่างชาติ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ไต้หวัน ที่เดินทางมาเล่นกอล์ฟในไทย หากไม่มีทุนเพียงพอ จะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหนีไปเล่นที่สนามประเทศเพื่อนบ้านได้ สำหรับสนามกอล์ฟในไทยที่เปิดให้บริการมีจำนวนกว่า 200 สนาม ซึ่งเป็น กทม. ปริมณฑล กว่า 100 สนาม ขนาดเนื้อที่ตั้งแต่ 450-2,000 ไร่ มูลค่าลงทุนสนามละ 1,000 ล้านบาท

นายอภิชาติ ประสิทธิ์นฤทธิ์ นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หรือ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เผยว่า มีข้อเสนอให้เปลี่ยนไปเก็บภาษีในเพดานที่สูงกว่าเดิม คือ บ้านมูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป แต่ประเด็นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการหารือของ กมธ. หลังจากพิจารณาในหลักการเดิม คือ การเก็บภาษีในกลุ่มมูลค่าบ้าน 20 ล้านบาทขึ้นไป แม้ทำให้ปริมาณรายได้เข้ารัฐจะสูงขึ้น จากจำนวนคนที่เข้ามาในระบบมากขึ้น แต่พบว่า ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่พร้อมกับการรับภาระจ่ายภาษีส่วนนี้ ยังจะต้องศึกษากลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างละเอียด เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้ธุรกิจหลากหลาย สวนสนุก สวนสัตว์ โรงพยาบาล สถานศึกษา และกลุ่มรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

“ขณะนี้ ขยายกรอบระยะเวลาการพิจารณาประเด็นดังกล่าวออกไปอีก 60 วัน คาดก่อนปลายเดือน พ.ค. น่าจะมีความชัดเจน ทั้งนี้ ยืนยันว่า การขยายเพดานการเก็บภาษีในมูลค่าที่สูงขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มคนรวยแต่อย่างใด เนื่องจากไม่ใช่กลุ่มที่มีผลต่อรัฐ เป็นเพียงการทำให้กฎหมายฉบับนี้ลดแรงเสียดทานต่อผู้ที่ได้รับผลกระทำต่อการบังคับใช้กฎหมายฉบับดังกล่าวเท่านั้น


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,354 วันที่ 5-7 เม.ย. 2561 หน้า 02
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดิน ต่อเวลา 2 เดือน! อ้างหลายประเด็นยังไม่ได้ข้อสรุป
ภาษีที่ดินสกัดฟองสบู่ 3ปีขายไม่หมดเก็บอัตราพาณิชย์-เอกชนโขกราคาดักหน้า


e-book-1-503x62