ทุจริตคอร์รัปชัน จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

06 เม.ย. 2561 | 06:54 น.
2655 คอร์รัปชันทําลาย เศรษฐกิจประเทศ มี ตัวอย่างให้เห็นมามาก เช่นประเทศกรีซ ที่ เคยเป็นประเทศร่ํารวยก็กลับจน ประชาชนเดือดร้อน หรือประเทศ เวเนซุเอลาในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่มีน้ํา มัน ผู้คนอดอยาก ประเทศจีนเล็ง เห็นอันตรายจากคอร์รัปชัน โดย 5 ปีที่ผ่านมาได้จับข้าราชการทุจริต ไปมากกว่า 1.3 ล้านคน บ้างรับ โทษประหาร บ้างติดคุกตลอด ชีวิต ล้วนถูกยึดทรัพย์ทั้งหมดรวม ทั้งของภรรยาและลูกหลาน ส่วน ที่หนีไปต่างประเทศก็จับมาลงโทษ ได้ 3,453 คน

ประธานาธิบดี ลี กวน ยู เคยกล่าวไว้ว่า ข้าราชการและ นักการเมืองทุจริตทําร้ายคนในชาติ มากกว่าคนค้ายาเสพติด เพราะ คนค้ายาเสพติดทําร้ายเพียงคนที่ เสพยา แต่ข้าราชการและนักการ เมืองทุจริตทําร้ายประเทศชาติ และคนในชาติทุกๆ คน ทําลาย เศรษฐกิจและทําให้คนในชาติจน จึงควรได้รับโทษหนักกว่าด้วยการ ประณามทั้งตระกูล นอกจากการ ยึดทรัพย์และจําคุกตลอดชีวิต แต่สังคมไทยเป็นสังคมยกย่อง บูชาคนมีเงินและอํานาจ ไม่สนใจ ว่าดีหรือเลวในแง่ศีลธรรม แม้ศาล พบหลักฐานการลักทรัพย์ของชาติ และประชาชน ก็ยังน่านับถือเพราะ คนเหล่านี้ก็กลับมามีอํานาจได้อีก เราจึงนิยมการให้อภัย การประณาม คนเหล่านี้ทําไม่ได้ เพราะมีกฎหมายปกป้องให้เขาฟ้องร้องฐานหมิ่น ประมาทเราได้ ยิงให้อภัยก็ยิ่งส่ง เสริมให้ชั่วอีก และชั่วมากขึ้นอีก เห็นได้ว่า มาตรฐานคุณธรรมของ สังคมไทยต่ํากว่าประเทศอื่น ๆ อย่างจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ประเทศเหล่านี้จึงมีความก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจเหนือกว่าไทย
06-3353 การทุจริตปล้นเงินของชาติ และประชาชนจํานวนมากทําได้ หลายแบบ ที่มักทํากันทําได้จาก โครงการภาครัฐ การจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐในแต่ละปีมีวงเงินที่ใช้จ่าย มากมายมหาศาลจึงเป็นช่องทางให้ กลุ่มโจรเห็นเป็นโอกาส รวมหัวกัน แสวงหาอํานาจรัฐเข้ามาเป็นรัฐบาล เพื่อปล้นชาติ จึงต้องมีกฎหมายไว้ เพื่อป้องกันคนชั่วเหล่านี้

พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง 2560 แม้เป็นของใหม่ แต่ก็จะไม่ให้ผล ในการป้องกันการทุจริต โทษก็เบามาก มาตรา 120 มีโทษปรับ ไม่เกิน 2 แสนบาท เดี๋ยวนี้โกงกัน เป็นพันล้านหมื่นล้านบาท เงิน หลักแสนบาทเหมือนเศษสตางค์ โทษจําคุกก็มีเพียง 1-10 ปี หาก ติดคุกก็มีการอภัยลดโทษคนใน คุกทุกปี ไม่นานก็ออกจากคุกได้

หลักการการป้องกันการ ทุจริตจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐใน ประเทศที่เจริญทางสังคมคุณธรรม แล้ว นอกจากลงโทษหนักแล้วยัง อาศัยการมีระเบียบปฏิบัติที่ทําให้ เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบ การสนใจเข้ามาร่วมแข่งขันจํานวน มาก ยิ่งมากยิ่งดี การแข่งขันที่ ยุติธรรมกว้างขวางทําให้รัฐได้ของดี ราคายุติธรรม รัฐให้ความเป็น ธรรมแก่ทุกรายเท่าเทียมกันโดย ยึดหลักความโปร่งใส เปิดเผย แข่งขันเป็นธรรม หากมีการโต้แย้ง ร้องเรียนไม่ว่าเรื่องใดต้องทําในลักษณะเปิดเผยในระบบสารสนเทศ ทุกฝ่ายเข้าถึงเนื้อหาที่ร้องเรียน และการตอบของเจ้าหน้าที่ได้
488884 แต่เมื่อมาดูพ.ร.บ.จัดซื้อ จัดจ้าง 2560 ก็เห็นได้ว่าปัจจัย เหล่านี้ไม่ถูกทําให้เกิดขึ้น เช่น มาตรา 116 กําหนดให้การร้อง เรียนอุทธรณ์ไม่ว่าเรื่องอะไร ต้อง ทําเป็นหนังสือไปยังหน่วยงาน ราชการ ทําให้บุคคลที่ 3 ไม่อาจ รู้ว่าร้องเรียนเรื่องอะไรบ้าง และ ได้ตอบข้อร้องเรียนไปอย่างไร และ ในมาตรา 119 แม้กําหนดให้ต้อง พิจารณาเรื่องร้องเรียนให้เสร็จใน 30 วัน แต่ก็ระบุว่าภายในอีก 30 วันหลังจากนั้น รวม 60 วัน หาก ยังพิจารณาข้อร้องเรียนอุทธรณ์ ไม่แล้วเสร็จ ก็ไม่ต้องพิจารณาอีก ต่อไป ให้ยุติเรื่องและให้ทําสัญญา จัดซื้อจัดจ้างฯ ได้เลย อย่างนี้ตอบ ข้อร้องเรียนอย่างไรก็ย่อมได้ ความยุติธรรมย่อมไม่มี เช่นนี้ จะเอื้อ ประโยชน์ให้พรรคพวกของตน แบ่งเงินที่ปล้นมาก็ทําได้ง่าย

ยิ่งไปกว่านั้นยังระบุใน มาตรา 115ว่าหากเจ้าหน้าที่เลือก ที่จะใช้ “วิธีเฉพาะเจาะจง” หรือ ที่ในระเบียบพัสดุฯ เดิมเรียกว่า แวิธีพิเศษ” ก็ระบุว่าไม่อนุญาต ให้ใครโต้แย้งได้ ซึ่ง “วิธีพิเศษ”นี้ ที่ผ่านมานักการเมืองใช้ในการ ทุจริตอย่างถูกต้องตามระเบียบ พัสดุฯ ปล้นเงินไปแล้วรวมหลาย แสนล้านบาท ฟ้องร้องเอาผิดยาก
1522994519192 มาคราวนี้พ.ร.บ.ก็ระบุว่า ให้ทําได้อย่างถูกกฎหมาย โดย มาตรา 56 กําหนดเงื่อนไขในการ เลือกใช้ “วิธีเฉพาะเจาะจง” ให้ ทําได้ไม่ยาก โดยอ้างความจําเป็น เร่งด่วน อ้างว่าวิธีประกาศเชิญ ชวนก่อให้เกิดความล่าช้าและเสีย หาย ฯลฯ เช่นนี้ การทุจริตเอื้อ ประโยชน์ให้พรรคพวกตนเองย่อม ทําได้ง่าย และถูกกฎหมาย ใน ประเทศที่เจริญทางสังคมคุณธรรม เขาระบุว่าจะใช้ "วิธีเฉพาะเจาะจง" ต้องอธิบายเหตุผลในระบบ สารสนเทศให้สาธารณชนทราบ ก่อน การโต้แย้งหากไม่เห็นพ้อง และการตอบของเจ้าหน้าที่ต้อง ทําในระบบสารสนเทศเพื่อให้ทุก ฝ่ายได้อ่าน และหากเหตุผลเป็น ที่ยอมรับจึงดําเนินการได้ ทําให้ การทุจริตจึงจะทําได้ยาก

คนจํานวนมากจะแสวงหา อํานาจทางการเมืองเพื่อเข้ามา ทุจริตถูกต้องตามกฎหมาย การเมือง จะเป็นธุรกิจทุจริตหากําไรจาก การลักทรัพย์ที่ควรใช้เพื่อความ เจริญของชาติและประชาชน จะ เกิดความไม่ยุติธรรมในสังคม คนรวยกระจุก คนจนกระจาย และ ยังปิดโอกาสไม่ให้มีคนดีมีศีลธรรม มาทํางานการเมืองอีกด้วย

.......................
คอลัมน์ : เทรดวอตช์ |หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3353 ระหว่างวันที่ 1-4 เมษายน  |โดย: บัณฑูร วงศสีลโชติ รองประธานคณะกรรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
e-book-1-503x62