ทางออกนอกตำรา : No Fee ของฟรีไม่มีในโลก

05 เม.ย. 2561 | 08:33 น.
2154 ยังช็อกกันอยู่ไม่หายกับเหตุการณ์ที่แบงก์ขนาดใหญ่ ดาหน้ากันยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินและการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ App. ของธนาคารบนมือถือและเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ

ในฐานะที่ทำข่าวการเงิน การธนาคารมายาวนาน ผมขอบอกว่า นี่คือ “ฟ้าใหม่” ในระบบการเงิน การธนาคารของประเทศไทย

แม้ในขณะนี้จะมีบางธนาคารประกาศฟรีตลอดไป บางธนาคารฟรีเฉพาะถึงสิ้นปี แต่เชื่อหัวนายบากบั่นเถอะครับว่า การโอนเงิน การสั่งจ่ายเงินบนมือถือ เครื่องมือสื่อสาร และอินเตอร์เน็ต หลังจากนี้จะฟรีตลอดไป...แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์
Bank-PNG-File เหตุการณ์นี้ ไม่มีใครเชื่อว่าจะเกิดขึ้น แต่มันเกิดอย่างรวดเร็ว จนนักลงทุนในตลาดหุ้นต่างตกใจกันอย่างหนัก เนื่องจากค่าธรรมเนียมหรือค่าต๋งในการทำธุรกรรมทางการเงินของประชาชน รายย่อย รายใหญ่ ถือเป็นรายได้หลักของธนาคารมาอย่างยาวนาน

ตลอดระยะเวลา 10-15 ปีมานี่ ผลกำไรของธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจาก “รายได้ดอกเบี้ย” ที่ขึ้นอยู่กับการปล่อยกู้ออกไป

อีกส่วนหนึ่งมาจาก “รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย” โดยเฉพาะ “รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ” ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งรายได้สำคัญของธนาคาร

ค่าบริการที่ผมเรียกว่า ค่าต๋งนี่แหละ ที่นายธนาคารถูกกระแสสังคมมองว่าเป็นการค้ากำไรเกินควร และเอาเปรียบผู้บริโภค เนื่องจากเป็นการให้บริการที่มีต้นทุนต่อหน่วยที่ตํ่า หรือถึงตอนนี้แทบไม่มีต้นทุน แต่มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บริการมาอย่างตลอด และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
fitness-bank ปี 2548 รายได้ค่าธรรมเนียมของระบบธนาคารพาณิชย์มีแค่ 56,441 ล้านบาท
ปี 2557 รายได้ค่าธรรมเนียมพุ่งพรวดเป็น 163,634 ล้านบาท
ครึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิรวมทั้งปี 223,873 ล้าน

ปี 2560 ผมรวบรวมตัวเลขรายได้ค่าธรรมเนียมของระบบธนาคารมาได้แค่ช่วง 9 เดือน พบว่าธนาคารพาณิชย์ 11 แห่ง มีรายได้ค่าธรรมเนียม และบริการรวมทั้งสิ้น 1.25 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นมาจากปีก่อนหน้า 9,100 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.93%....ถือว่าสูงจนน่าตกใจมั้ยครับ
ธนาคารทหารไทย หรือทีเอ็มบี มีรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้นในอัตราสูงที่สุด คือ เพิ่มขึ้น 32.1%
money-png-falling-money-png-808 ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคารที่มีรายได้ค่าธรรมเนียม และบริการอยู่ในระดับที่สูงที่สุด 3.09 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.49%

ธนาคารกสิกรไทย แจ้งว่า รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากค่าธรรมเนียมรับจากการโอนเงิน ค่าคํ้าประกัน และค่าธรรมเนียมการเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น
รายได้ค่าต๋งที่เพิ่มขึ้นนี้ นายธนาคารบอกผมว่า ทั้งระบบธนาคารมีต้นทุนในการบริหารจัดการเงินสดเพื่อรับมือการเบิก การถอน การโอนเงิน ค่าดูแล ค่าขนเงิน อยู่ทั้งสิ้นปีละ 1.4 แสนล้านบาท แต่ธนาคารก็มีรายได้จากการให้บริการเงินของเราในบัญชีนั่นแหละมาหล่อเลี้ยง...
รายได้จากไหนบ้างนะหรือครับ ผมจะพาไปดูให้พวกเรารู้กันตาแจ้ง...

จากข้อมูลของ ธปท. ซึ่งกำหนดให้สถาบันการเงินต้องแจ้งค่าธรรมเนียม ค่าบริการให้กับประชาชนรับทราบพบว่า มีการเก็บค่าธรรมเนียมจิปาถะบันเทิงรวม 67 รายการ อัตราค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 10-15,000 บาท

ย่อยลงไปพบว่า ค่าธรรมเนียมที่คิดจากเงินฝากบัญชีออมทรัพย์ 8 รายการ ค่าธรรมเนียมที่คิดจากเงินฝากกระแสรายวัน 8 รายการ ค่าธรรมเนียมจากเช็ค 4 รายการ ค่าธรรมเนียมที่คิดหรือชาร์จจากบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต 4 รายการ
580b585b2edbce24c47b287c ค่าธรรมเนียมที่คิดจากการถอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต 6 รายการ ค่าธรรมเนียมที่ชาร์จจากการฝาก/โอนด้วยบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต 6 รายการ ค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตหรืออินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง 6 รายการ ค่าต๋งจากการทำธุรกรรมต่างประเทศ 10 รายการ ค่าต๋งจากธุรกรรมอื่นๆ เช่น บริการต่อทะเบียนรถ ค่าเช่าตู้นิรภัย ค่ารับรองเครดิตลูกค้า 8 รายการ

ค่าต๋งที่คนต้องสนใจคือเงินฝากออมทรัพย์ จะมีค่ารักษาบัญชีกรณีไม่มีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ 1-2 ปี และมียอดคงเหลือตํ่ากว่า 500-1,000 จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเดือนละตั้งแต่ 40-100 บาท แต่ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ที่ 50 บาท

ค่ารักษาบัญชีที่เคลื่อนไหวและมียอดคงเหลือตํ่ากว่า 1,000-5,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 0-100 บาท

ค่าธรรมเนียมรับฝากเหรียญ 0-2% ของมูลค่าเงินฝาก ส่วนใหญ่จะคิดส่วนที่เกิน 100-2,000 บาทขึ้นไป

ค่าธรรมเนียมฝาก-ถอนข้ามเขต 10 บาททุกๆ การฝาก-ถอน 1 หมื่นบาท ขั้นตํ่า 0-30 บาท สูงสุด 1,000 บาท

ค่าธรรมเนียมการโอนเงินอัตโนมัติจากบัญชีออมทรัพย์ไปยังกระแสรายวัน 0-30 บาท

ค่าโอนเงินอัตโนมัติระหว่างบัญชีออมทรัพย์และกระแสรายวัน 15-30 บาท

ค่าธรรมเนียมโอนเงินระหว่างธนาคาร 50-120 บาท
15-3353-2 ยังมีค่าธรรมเนียมของการใช้บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต และบัตรเดบิต ที่คิดจากเราโดยเราไม่เคยตระหนักว่าเป็นเงินของเราแต่เวลาจะเอาออกมาใช้ต้องจ่ายสตางค์

ค่าธรรมเนียมฝากเงินต่างธนาคารในเขตและข้ามเขต คิดตั้งแต่ 50-120 บาท ตามจำนวนเงินฝาก
ค่าธรรมเนียมฝากเงินธนาคารเดียวกันแต่ข้ามเขต คิด 10 บาทต่อเงินฝาก 1 หมื่นบาท ขั้นตํ่า 10 บาท สูงสุด 1,000 บาท

ค่าธรรมเนียมโอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต 10-15 บาทต่อรายการ

ค่าธรรมเนียมโอนเงินข้ามธนาคาร 25-35 บาทต่อรายการ

ค่าธรรมเนียมถอนเงินต่างธนาคารในเขต คิดตั้งแต่ 5-10 บาทต่อรายการ โดย 4-5 รายการแรกของเดือนไม่คิดค่าธรรมเนียม
Kroll_Tiny-Bank-tile-image ค่าธรรมเนียมถอนเงินต่างธนาคารนอกเขต คิดตั้งแต่ 10-20 บาทต่อรายการ บางธนาคารมีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม 5-10 บาทต่อรายการ กรณีที่ถอนเงินมากกว่า 5-10 ครั้งต่อเดือน

ค่าธรรมเนียมถอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต 0-15 บาทต่อรายการ

ค่าธรรมเนียมถอนเงินต่างประเทศ 70-560 บาทต่อรายการ ส่วนใหญ่คิด 100 บาทต่อรายการ

ค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินสดผ่านบัตรเครดิต 3% ของยอดเงินเบิกถอน

ค่าธรรมเรียกแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเครดิต 0-15,000 บาท

ค่าธรรมเนียมคิดตามหนี้บัตรเครดิต ตั้งแต่ 200-300 บาทต่อรอบบัญชี

นี่คือค่าต๋งที่เราต้องจ่าย จากเงินของเรา...
.....................
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา /หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ /ฉบับ 3354 ระหว่าง วันที่ 3-5 เมษายน 2561
e-book-1-503x62 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง.......


[caption id="attachment_274065" align="aligncenter" width="503"] ทางออกนอกตำรา : ปิดฉาก “ค่าต๋ง” แบงก์เลิกเป็นเสือนอนกิน? ทางออกนอกตำรา : ปิดฉาก “ค่าต๋ง” แบงก์เลิกเป็นเสือนอนกิน?[/caption]