ฉาย บุนนาค : ‘ศรีปราชญ์’ และตระกูล ‘บุนนาค’ ในนวนิยายย้อนประวัติศาสตร์ไทย (2)

03 เม.ย. 2561 | 13:09 น.
6266 ชั่วโมงนี้ คงไม่มีใครไม่พูดถึงละครดัง “บุพเพสันนิวาส” ละครย้อนอดีตที่มีเรตติ้งสูงสุดนับตั้งแต่มีทีวีระบบดิจิตอล จากนวนิยายยอดนิยม สู่ละครยอดฮิต ทำให้ปัจจุบันประชาชนมากมายหันมาให้ความสนใจเรื่องของประวัติศาสตร์และความเป็นมาของเราในอดีตมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดียิ่งนักการเรียนรู้เรื่องราวในอดีตเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์สังคมในปัจจุบัน ไม่ต่างจากการรู้จักบรรพบุรุษในวงศ์วานของตน ก็ถือเป็นคำอธิบายที่มาของเราในวันนี้ด้วยเช่นกัน
1522760799481 ฉบับก่อน เราได้กล่าวถึงหนึ่งในบรรพบุรุษสกุล “บุนนาค” ในละครบุพเพสันนิวาส นั่นคือ “หลวงศรียศ” ซึ่งภายหลังดำรงตำแหน่ง “พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)” ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
อย่างไรก็ตาม “หลวงศรียศ” หาใช่บรรพบุรุษสกุล “บุนนาค” เพียงท่านเดียวที่รับราชการสมัยนั้น… “เจ้าพระยาชำนาญภักดี” สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ คือบรรพบุรุษสกุลบุนนาคอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเป็น “หลานตา” ของ “เจ้าพระยาบวรราชนายก” (เฉกอะหมัด) ต้นตระกูลบุนนาค ซึ่งถวายตัวรับใช้ราชการในรัชสมัย “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช” และ “สมเด็จพระเพทราชา” (อ่าน : ฉาย บุนนาค : “หลวงศรียศ” และ ตระกูล “บุนนาค” ในนวนิยายย้อนประวัติศาสตร์ไทย (1) )

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หาใช่ยุครุ่งเรืองทางการค้าและการทูตเท่านั้น หากเป็นยุคด้านวรรณกรรม เพราะมีกวีลือนามแห่งรัชสมัยได้แก่ “พระโหราธิบดี” หรือ “พระมหาราชครู” ผู้ประพันธ์หนังสือ “จินดามณี” ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และกวีอีกผู้หนึ่งคือ “ศรีปราชญ์” ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนิรุทธคำฉันท์

“ศรีปราชญ์” คือกวีเอกที่ฉายแววตั้งแต่อายุ 7 ขวบ หลังเขียนแต่งต่อบทโคลงบนกระดานชนวนของบิดา ซึ่งบทโคลงนั้นเป็นการบ้านที่พระนารายณ์มอบหมายให้ หลังจากท่านแต่งไว้แล้วติดขัด ซึ่งทำให้เป็นที่พอพระทัยและเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ารับราชการของเด็กชาย “ศรี”

ย่างเข้าวัยหนุ่มของ “ศรีปราชญ์”… ด้วยความเจ้าชู้ คึกคะนอง และเมาสุราเป็นครั้งครา จึงทำให้ต้องโทษหลายต่อหลายครั้ง แต่ด้วยความเป็นคนโปรดของขุนหลวงและด้วยคำขอจากบิดาต่อขุนหลวงก่อนเข้ารับราชการ จึงมิเคยต้องโทษถึงขั้นประหาร…

แต่ก็ด้วยการเมืองไทยในอดีตก็ไม่ต่างกับปัจจุบัน ความริษยาและความดีเด่นของท่านศรีปราชญ์ก็ทำให้เป็นที่อิจฉาของข้าหลวงอื่นๆที่แวดล้อม จนสุดท้ายต้องถูกเนรเทศและถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายจนต้องโทษประหาร

1522760974882 แม้นักวิชาการบางท่านจะยังมีข้อสงสัยในความมีตัวตนจริงของ “ศรีปราชญ์” แต่เรื่องราวและผลงานของท่านช่างไพเราะ และเตือนใจคนเรายิ่งนักโดยเฉพาะโคลงบทสุดท้ายที่ศรีปราชญ์ได้ขออนุญาตเขียนไว้กับพื้นธรณีก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหาร

เพียงเพราะ “ศรีปราชญ์” มีความโดดเด่นเกินวัย จนเป็นที่โปรดปรานของขุนหลวง และด้วยความคะนองพลั้งเผลอในวัยหนุ่มจึงทำให้มีแผลเรื่องความเจ้าชู้ และแผลนี้เองก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือใส่ร้ายซํ้าสองจนต้องโทษประหาร ทั้งที่ท่านมิได้กระทำผิด… มิต่างจากเจ้าหน้าที่รัฐในปัจจุบัน

โคลงบทนี้ หาใช่คำสาปแช่ง แต่คือ “กฎแห่งกรรม” ที่สะท้อนเตือนใจคน โดยเฉพาะพวกเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้อำนาจอย่างไม่สุจริตและเป็นธรรม มุ่งทำลายล้าง กลั่นแกล้งด้วยอคติ
....................
คอลัมน์ : ฉาย บุนนาค /หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ / ฉบับ 3354 ระหว่าง วันที่ 3-5 เมษายน 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว