เงินเฟ้อมี.ค.61 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 9เหตุกำลังซื้อเริ่มฟื้นตัว

02 เม.ย. 2561 | 06:33 น.
พาณิชย์เผยเงินเฟ้อเดือน มี.ค.61 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 9 มาจากกำลังซื้อที่เริ่มฟื้นตัวและความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น จับตาพื้นที่ใดอ้างกระทบอัตราค่าจ้างแรงงานใหม่ร้อง 1569

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนมีนาคม 2561 ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.79 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน เนื่องจากการบริโภคและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ไม่ใช่อาหารสดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งมีผลจากการขยายตัวของความต้องการสินค้าและบริการนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯและภาคต่างๆ

pim

ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าวสารเจ้าราคาโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทำให้มีผลเงินเฟ้อของข้าวขยับเพิ่มสูงร้อยละ 1.57 แต่ไม่ได้กระทบภาพรวมเงินเฟ้อทั้งหมด ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณที่ดีว่าพืชผลภาคการเกษตรหลายชนิดเริ่มมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นส่งผลดีต่อเกษตรกรที่จะขายสินค้าเกษตรดีขึ้น และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสแรกปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 0.64

 

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อมาจากการขึ้นราคาในหมวดอาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม พลังงาน เคหสถาน ขนส่ง ส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง อาหารสดบางประเภทและการสื่อสาร ลดลงตามกลไกตลาด ดังนั้น ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสที่ 2 น่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้นโดยเฉลี่ยน่าจะเกินกว่าร้อยละ 1โดยมีปัจจัยมาจากในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีวันหยุดยาวหลายวัน และมีการใช้อัตราค่าจ้างแรงงานใหม่ที่ปรับขึ้นทั่วประเทศที่เป็นปัจจัยส่งผลให้เงินเฟ้อในช่วงไตรมาสที่ 2 และแนวโน้มไตรมาสที่เหลือปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะเกินกว่าร้อยละ 1 ทำให้ทั้งปีที่คาดการณ์ไว้อัตราเงินเฟ้อของประเทศในปี 61 จะอยู่ที่กรอบ 0.7-1.7 ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่มาจากมาตรการต่างๆที่ภาครัฐใช้กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นสำคัญ

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

นอกจากนี้ แม้อัตราค่าจ้างแรงงานใหม่จะปรับขึ้นและมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 61 เป็นต้นไป โดยกระทรวงพาณิชย์ได้มีการวิเคราะห์ต้นทุนออกมาแล้วกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงไม่ใช่สาเหตุที่จะปรับราคาสินค้าและบริการในด้านต่างๆเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้สั่งการให้ผู้บริหารและส่วนการงานที่เกี่ยวข้องให้ออกตรวจสอบราคาสินค้า และบริการตามพื้นที่ต่างๆอย่างใกล้ชิดหากพื้นที่ใดมีการปรับราคาสินค้าและบริการเกินความจำเป็น โดยอ้างในเรื่องของค่าจ้างแรงงานใหม่โดยไม่มีเหตุผลให้ดำเนินคดีทางกฎหมายได้ทันที หรือประชาชนพบเห็นร้องเรียนสายด่วน 1569 ของกรมการค้าภายในได้ทันที

e-book-1-503x62