อัดอั้น! กับกรอบการเมือง คสช.

01 เม.ย. 2561 | 09:46 น.
รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้ความเห็นต่อปรากฏการณ์แห่จัดตั้งพรรคใหม่ ว่า หากดูผิวเผินคงไม่บ่งบอกอะไร เพราะแต่ละครั้งที่เปิดให้จัดตั้งพรรคใหม่ก็จะเป็นเช่นนี้ แต่ถ้าหากมองถึงบรรยากาศและพลวัตทางการเมือง ปรากฏการณ์นี้มีความน่าสนใจหลายประการ

 

[caption id="attachment_273362" align="aligncenter" width="318"] รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)[/caption]

ประการแรก คือ ประชาชนอัดอั้นกับการอยู่ภายใต้กรอบทางการเมืองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อยากจะมีความเปลี่ยนแปลง จึงแห่ออกมาขอจดจัดตั้งพรรคการเมืองจำนวนมาก
ประการที่ 2 คือ ระบบจัดตั้งพรรคที่เปิดโอกาสให้เข้ามาทำงานทางการเมืองได้ง่ายขึ้น
ประการที่ 3 คือ ขั้วการเมืองต่าง ๆ การมีจำนวนพรรคใหม่ที่สุดท้ายแล้ว อาจจะมีมากกว่า 100 พรรค อาจจะเป็นกลลวง เป็นการโยนหิน บางส่วนก็อาจจะช่วยในการหาสมาชิก ส.ส. แล้วนำมารวมกัน อีกส่วนอาจคิดว่า ทำตรงนี้ไปจับผลัดจับผลูได้เข้าไปทำงานทางการเมือง

สุดท้าย คือ การขับเคลื่อนของกลุ่มต่าง ๆ ทางการเมืองที่บางส่วนก็เป็นกลุ่มเดิม บางส่วนเป็นนักวิชาการ เป็นข้าราชการ ก็อาจจะมีแฝงอยู่ รวมถึงในส่วนของภาคประชาชนที่มีมาเรื่อย ๆ ก็ทำให้คนเหล่านี้อยากเข้ามาทำงานทางการเมือง อาทิ พรรคกรีน เป็นต้น


แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

ถามว่า พ.ร.บ.พรรคการเมืองฉบับใหม่ มีส่วนสร้างแรงจูงใจให้มีการจัดตั้งพรรคหรือไม่ คงไม่ใช่ เพราะทั้งการจัดตั้งโครงสร้าง ข้อบังคับ การคัดสรร การลงสมัคร รวมถึงการวางนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย สมาชิกต้องมีทุนประเดิมโดยรวม “ไม่ใช่ตีหัวเข้าบ้าน” สุดท้ายจากพรรคการเมืองทั้งหมดที่มาจดจัดตั้งเหลือ 5-10% ก็เก่งแล้ว

การจัดตั้งพรรคใหม่จำนวนมาก ไม่มีส่วนสำคัญหรือสัมพันธ์กับคุณภาพของทางการเมือง แต่อยู่ที่บรรดาพรรคเหล่านี้ทำแล้วได้เรื่องได้ราวจริง ดังเช่น การนำเสนอนโยบายที่บ้านนี้เมืองนี้ต้องการ ไม่ใช่เอาของต่างประเทศมา เหมือนกับรัฐธรรมนูญที่เอาของประเทศนั้น ประเทศนี้มา ต้องเป็นเหล้าใหม่ใส่ขวดใหม่ แต่ถ้ายังทำตัวแบบเดิม ก็คงไม่ต่างไปจากขวดใหม่กับเหล้าเก่า หรือขวดใหม่ใส่น้ำ ที่ถ้าไม่ใช่แค่น้ำไม่ดี แต่กลับเป็นน้ำเสีย เราคงต้องรอดูเรื่องของนโยบายที่จะออกมา สมาชิกพรรค การหาเสียง และการคัดสรรสมาชิก ส.ส. เลยไปถึงการทำงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


bkk-1

การพัฒนาที่ผ่านมา ไม่ได้ไปสร้างให้ประชาชนทำงานผ่านพรรคการเมืองโดยตรง ส่วนใหญ่จะใช้ประชาชนเป็นฐาน หาประโยชน์จากประชาชน ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ ประชาชนต้องตื่นรู้ ไม่ฝากอนาคตไว้กับพรรคการเมืองต่าง ๆ ไม่ต้องเป็นสมาชิกพรรคก็ได้ แต่ใช้สิทธิเลือกตั้งที่ดี พิจารณาให้ถี่ถ้วน หากเห็นว่า ไม่เหมาะสม ก็ไม่ต้องเลือกใครเข้าไปทำหน้าที่


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,346 วันที่ 8-10 มี.ค. 2561 หน้า 14
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
สวนดุสิตโพลสำรวจความคิดเห็นทางการเมืองเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
เลือกตั้งท้องถิ่นส่อเลื่อน เลขากฤษฏีกายอมรับ“ต้องแก้กม.เกือบทั้งฉบับ”


e-book-1-503x62