ธรรมศาสตร์ เปิดตัว “โซลาร์ไรด์” มอเตอร์ไซด์รับจ้างไฟฟ้า

29 มี.ค. 2561 | 07:46 น.
ธรรมศาสตร์ร่วมกับบริษัทชั้นนำ เปิดตัว“โซลาร์ไรด์” มอเตอร์ไซด์รับจ้างไฟฟ้า และสถานีชาร์จพลังงานจากโซลาร์เซลล์ ผลักดันธรรมศาสตร์รังสิตสู่ “สมาร์ทซิตี้”เต็มสูบ

ภาพการทดลองนั่งวินมอ -29 มี.ค.61-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ร่วมมือกับบริษัท STAR 8 (THAILAND) เปิดตัว“โซลาร์ไรด์” (SOLARYDE) โครงการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และสถานีชาร์จไฟจากพลังงานโซลาร์เซลล์ ภายในมหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ต่อยอดความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และผลักดันให้ธรรมศาสตร์กลายเป็นสมาร์ทซิตี้นำร่อง (SMART CITY) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเต็มรูปแบบ โดยรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าดังกล่าวจะเข้ามาทดแทนรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ใช้น้ำมันที่มีอยู่เดิม ซึ่งในเฟสแรกจะเริ่มทำการเปลี่ยนจำนวนทั้งสิ้น 25 คันในเดือนมีนาคม และจะเพิ่มจำนวนเป็น 50 คันในเดือนเมษายน และ 150 คัน ภายในสิ้นปี 2561 นี้  ทั้งนี้ การนำร่องใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าครั้งนี้จะช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้มากกว่า 500 เมตริกตันต่อปี

[caption id="attachment_272828" align="aligncenter" width="503"] ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล[/caption]

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มธ. กล่าวว่า โครงการโซลาร์ไรด์ (SOLARYDE) เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และภาคเอกชนในการต่อยอดนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวเพื่อพลังงานสะอาดและยั่งยืน และการผลักดันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สู่สมาร์ทซิตี้นำร่อง (SMART CITY) โดยโซลาร์ไรด์เป็นโครงการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างพลังงานสะอาดและประหยัดแบบครบวงจร ตัวมอเตอร์ไซค์ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี ที่มาพร้อมสถานีชาร์จไฟ ซึ่งใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งไปก่อนหน้านี้ พร้อมให้บริการนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารับจ้างในอัตราค่าบริการเท่าเดิม แต่มีโอกาสช่วยลดมลพิษให้กับมหาวิทยาลัย และเป็นการประหยัดการใช้พลังงานให้กับประเทศชาติ อีกทั้งยังเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการ เนื่องจากรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าดังกล่าว ได้ถูกจำกัดความเร็วไม่เกิน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเบื้องต้น ได้เริ่มดำเนินการเปลี่ยนรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ให้บริการภายในมหาวิทยาลัย ให้เป็นรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจำนวน 25 คัน พร้อมให้บริการในเดือนมีนาคม ซึ่งจะเพิ่มจำนวนเป็น 50 คันในเดือนเมษายน และ 150 คัน ภายในสิ้นปี 2561 นี้ตามลำดับ ซึ่งปัจจุบันตัวเลขปริมาณยานพาหนะทุกประเภทที่เข้ามาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีสูงถึงประมาณ 22,000 คันต่อวัน คิดเป็นคาร์บอนที่ปล่อยประมาณ 3,700 เมตริกตันต่อปี ทั้งนี้ การนำร่องใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าครั้งนี้จะช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนในศูนย์รังสิตได้มากกว่า 500 เมตริกตันต่อปี และมีเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนจากบริการขนส่งสาธารณะทุกประเภท (Zero Carbon Transportation) ให้เป็นศูนย์ ภายในเวลา 5 ปี

ภาพประกอบ (2) (1) อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ได้ตั้งเป้าหมายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน จากการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ โดยเน้นที่การใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน การเพิ่มและรักษาต้นไม้ใหญ่ เพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ รวมทั้งการกำหนดเป้าหมายไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดขยะ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ ความร่วมมือกับบริษัทโซลาร์ตรอนในการติดตั้งแผงผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 5 เมกะวัตต์ การใช้รถรางไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งได้นำร่องติดตั้งไปแล้วจำนวน 6 คัน รวมไปถึงการสร้างอาคารที่ได้รับการออกแบบเพื่อการประหยัดพลังงาน ฯลฯ ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวทิ้งท้าย

[caption id="attachment_272829" align="aligncenter" width="503"] นายณัฐพล อัครลาวัณย์ นายณัฐพล อัครลาวัณย์[/caption]

นายณัฐพล อัครลาวัณย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท STAR 8 (THAILAND) กล่าวเพิ่มเติมว่า รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่จะใช้ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นรุ่นพิเศษที่มีระบบเปลี่ยนแบตเตอรี่อย่างรวดเร็วทันใจ (Easy Swap Battery) สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้อย่างสะดวกรวดเร็วเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมดเพื่อให้สามารถบริการได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน โดยแบตเตอรี่ก้อนเก่าจะถูกนำไปชาร์จไฟฟ้าจนเต็มและนำมารอเปลี่ยนต่อไป โดยสถานีชาร์จไฟ (Battery Charging & Swapping Station) ได้รับการออกแบบดีไซน์พิเศษจากทีมงานวิศรกรของบริษัท เพื่อให้สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้เต็มภายในระยะเวลาไม่ถึง 4 ชั่วโมงเท่านั้น นอกจากนี้สำหรับรูปลักษณ์ของรถมอเตอร์ไซค์เอง ทางบริษัท star 8 ก็ได้ออกแบบพิเศษใหม่ให้กับโครงการนี้ โดยมุ่งเน้นรูปทรงที่โมเดิร์นทันสมัยตามสไตล์ของรถไฟฟ้า และเข้ากับแนวคิดของมหาวิทยาลัยที่มีความคิดก้าวหน้าทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

ภาพแบตเตอรี่สำรอง  SolaRyde .พร้อมกันนี้ยังได้พันธมิตรเข้ามาร่วมในโครงการดังกล่าวโดย นางสาวพจณี คงคาลัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อความต่อเนื่องในการเดินหน้าสนับสนุนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ธนาคารจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมอำนวยความสะดวกด้านการชำระค่าบริการ และพิเศษสุดๆ เพื่อร่วมสร้างการรับรู้และเชิญชวนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยลดมลพิษและประหยัดการใช้พลังงานให้กับมหาวิทยาลัย ผู้ใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารับจ้างของบริษัท STAR 8 (THAILAND) ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  สามารถชำระค่าบริการ ผ่าน QR Code บนแอปพลิเคชัน ‘บัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง’ ของธนาคารกรุงเทพ เพียงเที่ยวละ 1 บาท ตั้งแต่วันนี้จนถึง 11 เมษายน 2561 ส่วนรถมอเตอร์ไซค์ผู้ให้บริการ เพียงรับชำระเงินผ่าน QR Code ของธนาคารกรุงเทพ ก็จะได้รับเงินคืน 10 บาทต่อรายการ สูงสุดถึง 300 บาท ต่อเดือน ตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 มิถุนายน 2561 e-book