สนพ.รณรงค์“ชั่วโมงช่วยชาติ ลดใช้ไฟฟ้า กลางวันและกลางคืน”

28 มี.ค. 2561 | 04:56 น.
EPPO Banner Web (300x250Pixels) -28 มี.ค.61-ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ของประเทศในช่วงหน้าร้อนปี 2561 คาดว่าจะเกิดขึ้นระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 30,303 เมกะวัตต์ พีคไฟฟ้าต่ำกว่าที่พยากรณ์ไว้ราว 2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งในปี 2561 นี้ สนพ. คาดว่าพีคไฟฟ้าจะอยู่ที่ 31,000 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 2.1 โดยปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อให้พยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าเบี่ยงเบนไปจากคาดการณ์ คือกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง (IPS) ที่อาจจะเติบโตขึ้น และสภาพอากาศที่แปรปรวนอาจส่งผลให้อุณหภูมิลดลง  ซึ่งในปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าอุณหภูมิช่วงหน้าร้อนอยู่ที่ 36-38 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลดลง 1 องศาเซลเซียส จะมีผลต่อการใช้ไฟฟ้าประมาณ 400 เมกะวัตต์

[caption id="attachment_272408" align="aligncenter" width="395"] ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร[/caption]

พร้อมกันนี้ยังได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและขอความร่วมมือจากภาคประชาชน เอกชน และอุตสาหกรรม ช่วยกันลดใช้ไฟฟ้าอย่างจริงจัง ผ่านคลิปวิดีโอหนังสั้น “ชั่วโมงช่วยชาติ ลดพีคไฟฟ้ากลางวันและกลางคืน” โดยร่วมรณรงค์ปฏิบัติการ ‘ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน’ การใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าใน 2 ช่วงเวลา ครั้งละ 2 ชม.คือ ลดพีคไฟฟ้าช่วงกลางวัน ตั้งแต่บ่ายโมงถึงบ่าย 3 โมง (13.00 -15.00 น.) และลดพีคไฟฟ้าช่วงกลางคืน ตั้งแต่ 1 ทุ่มถึง 3 ทุ่ม (19.00 -21.00 น.) เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันนี้ – พฤษภาคม 2561 เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak)

ทั้งนี้เพื่อช่วยลดพีคไฟฟ้าไม่ให้สูงขึ้นจนทำสถิติรอบใหม่ อันจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ มาตรการลดพีค (Demand-Side Management) เป็นการปรับเปลี่ยนปริมาณและลักษณะการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้เพื่อให้สมดุลกับการผลิตไฟฟ้า เพราะฉะนั้นทางเลือกที่ทุกคนทำได้ทันทีคือ การปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น, ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม 26 องศาเซลเซียส (เพิ่ม 1 องศา ประหยัดไฟเพิ่ม 10%) และปรับ Cool mode เป็น Fan mode, ปลดปลั๊กไฟเมื่อเลิกใช้ และเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานเบอร์ 5 และเปลี่ยนเวลาที่ใช้ไฟฟ้า คือหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นใน 2 ช่วงเวลา คือ เวลา 13.00-15.00 น. และ 19.00-21.00 น. เพื่อลดปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว