ฉาย บุนนาค : “หลวงศรียศ” และ ตระกูล “บุนนาค” ในนวนิยายย้อนประวัติศาสตร์ไทย (1)

27 มี.ค. 2561 | 11:55 น.
หัวคอลัมน์SB คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า ปรากฏการณ์ “บุพเพสันนิวาส” และ “อุ่นไอรัก” ได้จุดประกายและปลุกจิตวิญญานของ “ชาตินิยม” ในหัวใจประชาชนคนไทยทั้งชาติให้ระลึกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยในอดีต ไม่ว่าจะเป็นทั้งอาหารการกิน การละเล่น ศิลปะวรรณกรรมต่างๆและการแต่งกายให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งอย่างมีสีสัน

โดยเฉพาะละครบุพเพสันนิวาส… ละครไทยเรตติ้ง 16 บวก (ทั่วประเทศ) จากการประมวลผลของบริษัทวัดเรตติ้งสากล เอซี เนลสัน ซึ่งแปลความได้ว่ามีประชากรจำนวน กว่า 10 ล้านคนดูละครเรื่องนี้พร้อมกันเฉลี่ยในทุกๆนาทีระหว่าง เวลา 2 ทุ่ม 20 นาที ถึง 4 ทุ่ม 50 นาที ทุกวันพุธและพฤหัส

นวนิยายมีชื่อเรื่องนี้แต่งโดย “รอมแพง” หรือ คุณจันทร์ยวีร์ สมปรีดา นักประพันธ์ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

become-successful-author-thai-series-3 เธอมีผลงานมาแล้วมากกว่า 20 งานเขียน... และส่วนใหญ่เป็นนวนิยายแนวรักตลก โดยมีเอกลักษณ์ทั้งสำนวนภาษา และบทพรรณาโวหารที่บรรยายสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในสมัยนั้นๆ อย่างมีเสน่ห์

ชื่อนามปากกา คือชื่อที่เธอใช้ตามชื่อตัวละคร “รอมแพง” ในเรื่อง เวียงกุมกามของทมยันตี แปลว่า "ผู้เป็นที่รัก" หรือ "หญิงผู้เป็นที่รัก"

เนื้อเรื่องของ “บุพเพสันนิวาส” ย้อนอดีตไปในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือราวปี พ.ศ.2125 และได้รวบรวมตัวละครมากมายที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ อาทิเช่น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา หลวงสรศักดิ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ) เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) และอื่นๆอีกมากมาย มาร้อยเป็นเรื่องราว

หนึ่งในนั้นคือ “หลวงศรียศ” หรือ “พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)” ข้าหลวงไทยเชื้อสายเปอร์เซีย มีบิดาคือ พระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด) มารดาชื่อ ท่านชี เป็นน้องชายของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) และมีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) ซึ่งคือต้นตระกูล “บุนนาค” ที่เดินทางมาจากอิหร่าน 742791-img-1391564510-1

จากข้อมูลประวัติศาสตร์ ช่วงที่ท่านเป็นจุฬาราชมนตรีอยู่นั้น เป็นช่วงที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เรืองอำนาจและมีความขัดแย้งระหว่างชาวคริสต์และมุสลิมในราชอาณาจักรมาก จึงได้รับภารกิจลงไปเจรจาแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมะละกาที่เมืองปัตตาเวีย

ด้วยความสนใจในประวัติศาสตร์ ด้วยความภาคภูมิใจในวงศ์ตระกูล ด้วยแรงกระตุ้นจากปรากฏการณ์บุพเพสันนิวาสและด้วยความสงสัยแต่เยาว์วัยว่า “เราคือบุนนาค สายไหนหนอ?”“ต้นตระกูลเราเป็นใคร?” ... “ทำไมจึงมีคนมากมายนามสกุลเหมือนเรา?” ...จึงทำให้ผมศึกษาเพิ่มเติมอย่างจริงจังเพื่อลำดับสาแหรกของตนเองให้ได้ซึ่งผมจะลำดับให้ผู้อ่านผ่านบทประพันธ์หลายเรื่องตั้งแต่ บุพเพสันนิวาส สู่ พันท้ายนรสิงห์ สู่ ศรีอโยธยา ยาวสู่ทวิภพ ในตอนต่อไป…

คอลัมน์ ฉาย บุนนาค หน้า 18 ฉบับ 3352 ระหว่างวันที่ 29-31 มี.ค. 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว