ไทยพาณิชย์วาดฝัน ปั้นเทคโนโลยีแบรนด์ใหม่ใน 5 ปี

30 มี.ค. 2561 | 04:00 น.
บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด (Digital Venture หรือ DV) ก่อตั้งขึ้นด้วยทุนประเดิมจากธนาคาร ไทยพาณิชย์ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1,760 ล้านบาท เมื่อปี 2559 เพื่อมุ่งสร้าง FinTech Ecosystem ภายใต้ 3 องค์ประกอบคือ หน่วยงานทุนองค์กร ,หน่วยงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิตอลและหน่วยงานหรือศูนย์บ่มเพาะสตาร์ตอัพ(Accelerator) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านธนาคารภายใต้ Digital Transformation

นายอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการ บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด ให้สัมภาษณ์ “ฐานเศรษฐกิจ”เกี่ยวกับทิศทางดำเนินงานว่า DV ยังคงขยายการลงทุนเพิ่มในหลายประเภท เพื่อให้เงินทุนที่ใช้ไป ต้องตอบโจทย์ เพิ่มขีดความสามารถกับธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่เทียบบนสมรภูมิ Digital Disruption ด้วย เพราะ 2 ปีที่ผ่านมา ในส่วนของ Accelerator หรือศูนย์เพาะบ่มสตาร์ตอัพนั้น แม้จะใส่เงินทุนไปค่อนข้างมาก แต่ยังไม่มีเทคโนโลยีใหม่พอที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถกับธนาคารไทยพาณิชย์ได้

[caption id="attachment_271801" align="aligncenter" width="335"] อรพงศ์ เทียนเงิน อรพงศ์ เทียนเงิน[/caption]

ดังนั้นปีนี้ DV จะเริ่มทิศทางใหม่ โดยจับมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งเฟสแรกจะเจาะจงไปที่ไทยพาณิชย์เท่านั้น โดยปีนี้ จะเป็นปีที่ 1 DVจะป้อนโจทย์ให้มหาวิทยาลัยชั้นนำศึกษาภายในกรอบเวลา 5 ปี ( 2561-2565) โดยโฟกัสเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อโลก ซึ่งจะนำเทคโนโลยีแต่ละประเภทมาเป็นโจทย์แล้วต่อยอด ประกอบด้วย ABCD ซึ่งมาจากเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์(AI ), BlockChain , Cloud & Security, Data และเพิ่มอีก 2 เทคโนโลยีคือAR/VRหมายถึง เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม(AR; Augmented Reality Technology และ เทคโนโลยีเสมือนจริง VR; Virtual Reality)

Disrution จากเทคโนโลยี/ทรานส์ฟอร์เมชันยังคงมีต่อไป และ 2 ปีที่ผ่านมา แม้เราจะใส่เงินช่วยสตาร์ตอัพไปเยอะแต่ยังไม่มีเทคโนโลยีใหม่ ซึ่ง 2 ปัจจัยนี้ จึงยังคงแผนเรื่องการลงทุนต่อ เพราะอนาคตแบงก์ไม่มี Limit ขณะที่บล็อกเชนเองก็ไม่มี border ซึ่งเราเห็นโอกาส วันนี้โลกเปลี่ยนและรู้ว่าอีก 3-5 ปี โลกจะเป็นอย่างไร แม้จีนจะก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่เรายังไม่มีอะไรที่เป็นของคนไทย และเราก็อยู่ในสถานการณ์ที่ทำได้ การไม่ทำอะไรก็เป็นบาป จึงเป็นนโยบายไทยพาณิชย์ต้องจับมือกับมหาวิทยาลัยจะเปิดตัวเร็วๆ นี้ โดยงบลงทุนอยู่ระหว่างรอบอร์ดอนุมัติ ซึ่งวงเงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเดิมก็ใกล้หมดแล้ว แต่วงเงินใหม่มากกว่าเดิม”

บาร์ไลน์ฐาน สำหรับความคาดหวังในโครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำนั้น เบื้องต้นหวังแต่ Eco system ตื่นตัว การจับมือครั้งนี้ กำหนดพื้นที่ Accelerator โดย มีโจทย์มหาวิทยาลัยไปศึกษาเริ่มปีนี้และจะเห็นรูปธรรมภายใน 5 ปี อย่างน้อยจะมีอะไรออกมาตอบโจทย์ไทยพาณิชย์ และมองในมิติกว้างขึ้น

“โดยเฉพาะความลํ้ายุคของคอมพิวเตอร์ระบบควอนตัม (Quantum Computing) สิ่งที่เห็นคือ เราต้องแข่งขันกับคู่แข่งที่มีความสามารถสูงกว่า 5 หมื่นเท่า ถามว่า เราจะแข่งอย่างไร ขั้นแรกคือ ระบบการศึกษาไทยยังไม่ตอบโจทย์ หรือสตาร์ตอัพไทยที่รูปแบบจะออกมาเป็น Market Place ซึ่งไม่ยั่งยืน หากเทียบสตาร์ทอัพต่างประเทศที่เติบโตกับผลงานวิจัยมีประสบการณ์มาเป็น 10 ปี

สิ่งที่น่ากลัว คือ ระบบการศึกษาของไทยที่ยังไม่ตอบโจทย์ เด็กที่เรียนจบมาไม่มีความรู้เทคโนโลยีหรือ เด็กที่จะจบออกมาในอีก 4 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีเปลี่ยน แม้เมืองไทยจะนำเทคโนโลยีต่างๆ ทั้ง BlockChain AI cloud มาใช้ แต่ก็ยังไม่พัฒนารองรับคนไทยหรือสร้างความปลอดภัยพอ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,351 วันที่ 25 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2561
e-book