นักวิชาการทำนายอนาคต 'ทีวีดิจิทัล'!! อัดระบบ "เรตติ้ง" บีบสื่อให้ทำข่าวดราม่า

25 มี.ค. 2561 | 06:51 น.
เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มีงานเสวนาวิชาการหัวข้อ "ดราม่าในข่าว สร้างสรรค์หรือทำลายในยุคสื่อดิจิทัล" จัดโดย นักศึกษาปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

โดยการเสวนาได้มีการพูดถึงการปรับตัวของสื่อยุคปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจาก Media Disruption เพื่อให้อยู่รอดได้ในยุคที่มีการแข่งขันสูง สื่อจึงต้องเล่นใหญ่ใส่สีสันในการเล่าข่าว เกิดการสร้างดราม่าในข่าวให้คนสนใจเพื่อแย่งชิงเรตติ้ง ทั้งนี้ ในวงการสื่อจะมีวิธีการปรับตัวอย่างไร ให้เรตติ้งกับเรื่องจริยธรรม จรรยาบรรณ ความรับผิดชอบต่อสังคมไปด้วยกันได้


JH2A6822

ช่วงหนึ่ง อาจารย์กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงสาเหตุของดราม่าในข่าวมาจาก 2 สาเหตุ คือ 1.ดราม่าที่เกิดในโลกโซเชียลมีเดีย ที่มีแฟนเพจชื่อดัง 4-5 เพจ เป็นตัวจุดประเด็นในโซเชียล  จากการทำวิจัยพบสิ่งที่เป็นอันตรายมากในวงการข่าว คือ ปรากฏการณ์การล่าแม่มดในโลกโซเชียล บางครั้งไปล่าครอบครัวของแม่มดด้วย เช่น มีข่าวข้าราชการคนหนึ่งโกงเงิน ก็มีการนำข้อมูลของข้าราชการคนนั้น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ติดต่อทั้งตัวข้าราชการและครอบครัวของเขามาเผยแพร่ด้วย ถามว่าครอบครัวเขาโกงด้วยหรือไม่

2.ดราม่าเกิดจากความต้องการเรตติ้ง เพื่อให้คนเข้าไปชมจำนวนมาก จึงต้องขยี้ประเด็นให้แรงขึ้น เพื่อให้คนติดตามมากขึ้นจะได้มีโฆษณาเยอะขึ้น เพราะสื่อ คือ อุตสาหกรรมที่มีค่าโฆษณาเป็นตัวนำพา แต่ขณะเดียวกันนักเศรษฐศาสตร์กลับมองว่า ช่องทีวีของประเทศไทยมีจำนวนมากเกินไป ต่อให้ทุกคนทำดีก็ไม่มีทางรอด ต้องมีคนตายครึ่งนึงก่อนจึงจะมีคนรอด ดังนั้น จึงมีการขายความเป็นดราม่ามากขึ้น เล่าข่าวมากขึ้น เล่นประเด็นโซเชียลมีเดียมากขึ้น ทำด้วยหลายกลยุทธ์ คิดว่านั่นจะทำให้เรตติ้งช่องตัวเองดีขึ้น


แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

"แต่ความจริงแล้วในแง่ทางเศรษฐศาสตร์ มีผู้เล่นเยอะไป มันมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งบอกว่า มีบางเมืองในต่างประเทศชอบเปิดร้านขายของหน้าบ้านตัวเองทำอะไรก็อร่อยทุกอย่าง แต่ก็ยังเจ๊ง เพราะผู้เล่นมีเยอะไป มันต้องใช้เวลา 5 ปี ร้านถึงจะค่อย ๆ เจ๊งไป คนที่อยู่ได้ก็อยู่ยาว ผมจึงพยากรณ์คร่าว ๆ ว่า ทีวีจะตายไปครึ่งนึง แต่โซเชียลฯ ยังโตอยู่ แต่สื่อทีวียังปั่นป่วนอยู่มากจริง ๆ"

อาจารย์กอบกิจ กล่าวอีกว่า เรื่องของการรวัดเรตติ้งมีผู้ต้องการให้เปลี่ยนแปลงมานานแล้ว เพราะมีผู้วัดเรตติ้งเพียงรายเดียว และปัจจุบันเรตติ้งมีความสำคัญเพียง 30% ในการซื้อโฆษณา เพราะบริษัทโฆษณาเขาจะดูยอดไลค์ ยอดวิวในโซเชียลมีเดียของสำนักข่าวเป็นองค์ประกอบแล้ว

 

[caption id="attachment_271540" align="aligncenter" width="374"] อาจารย์กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช  คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ อาจารย์กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์[/caption]

“พูดง่าย ๆ คือ เรตติ้งถ้าไม่ตรงกับความเป็นจริงน้ำหนักก็จะน้อยลงไปเอง เพราะโลกกำลังมุ่งไปด้านดิจิทัล ตัวชี้วัดทางด้านดิจิทัลมีผลมากกว่า"

ในตอนท้าย อาจารย์กอบกิจ พยากรณ์เทรนด์ของสื่อในอนาคตว่า ตอนนี้เราถูกเฟซบุ๊ก ยูทูบ กูเกิ้ล อินสตาแกรม ครอบงำอยู่ แต่ตอนนี้เฟซบุ๊กมีข่าวหุ้นร่วงรุนแรง เพราะเกิดความไม่แน่นอนของข้อมูลข่าวสาร ทำให้ในอนาคตจะไม่มีโซเชียลมีเดียตัวไหนที่ผูกขาดโลกได้ เพราะในอนาคตจะแตกให้กับคนทำสื่อมีช่องทางตั้งตัวได้มากขึ้น ทำให้คนกลุ่มเฉพาะได้ดู


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

"ให้คนกลุ่มเฉพาะของตัวเอง ที่มีคน 1-2 แสนคน หรือ 5 หมื่นคน ชอบได้ง่าย จะไม่่มีใครคุมตลาดได้ทั้งหมด องค์ใหญ่มีขึ้นได้ก็มีลงได้ เฟซบุ๊กมีขึ้นได้ก็มีลงได้เช่นกัน


……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เปิดความเห็น! ใช้ ม.44 ช่วยผู้ประกอบการ 'ทีวีดิจิทัล-โทรคมนาคม'
TVD มั่นใจ Q4 ฟื้นหลังปรับกลยุทธ์โหมสื่อโฆษณาทีวีดิจิทัล

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว