ดัมพ์ราคา 'นํ้าเมา'!! แก้เกมโละป้าย

28 มี.ค. 2561 | 12:50 น.
280361-1813

TABBA โอดขอความชัดเจน! หลังเครือข่ายเยาวชนเรียกร้องให้กวาดล้างป้ายไฟ “โลโก้เหล้า-เบียร์” ตามร้านอาหาร-สถานบันเทิง เหตุผิด พ.ร.บ.น้ำเมา ย้ำ! เกาไม่ถูกที่คัน ส่งผลผู้ประกอบการดัมพ์ราคาลง หวังล่อใจ สร้างโอกาสนักดื่มหน้าใหม่เพิ่ม

การออกมาเรียกร้องให้เอาผิดป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนตึกสูงของเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่, เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา และกลุ่มเยาวชนกว่า 20 กลุ่ม ที่เข้าข่ายผิดพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 เรื่องของการโฆษณา ที่ระบุว่า

“ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ แสดงชื่อ หรือ เครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ หรือ ชักจูงให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม ...” ส่งผลกระทบต่อไปยังป้ายโฆษณาอื่น ๆ ทั้งในรูปแบบบิลบอร์ด ป้ายภาพ ป้ายไฟ ตราสินค้า หรือ โลโก้ ที่ติดบริเวณหน้าร้านและภายในร้านอาหาร ตลอดจนสถานบันเทิงต่าง ๆ พร้อมเรียกร้องห้ามมิให้มีการทำป้ายต่าง ๆ เพราะเข้าข่ายโฆษณา เชิญชวน ชักจูง ให้เกิดการดื่ม

 

[caption id="attachment_272658" align="aligncenter" width="335"] ธนากร คุปตจิตต์ นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย หรือ TABBA ธนากร คุปตจิตต์ นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย หรือ TABBA[/caption]

นายธนากร คุปตจิตต์ นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย หรือ TABBA กล่าวแสดงความคิดเห็นกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การเสนอให้มีการกวาดล้างป้ายโฆษณาน้ำเมาตามร้านค้า ร้านอาหาร ตลอดจนสถานบันเทิงต่าง ๆ ต้องมีการพูดคุยถึงความชัดเจน และความเข้าใจระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการ และภาคประชาชน เพราะมองว่า ภาครัฐสามารถกระทำได้ เนื่องจากมีกำกับไว้ในมาตรา 32 แต่ปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน เพราะตีความคนละรูปแบบ จึงยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้

อย่างไรก็ดี หากข้อกฎหมายมีผลบังคับใช้ เชื่อว่า ผู้ประกอบการทุกค่ายก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามเสมอ แต่ทว่าจำเป็นต้องมีความชัดเจนของมาตรการ ลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ให้มากที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างตีความ ทั้งนี้ หากมาตรการห้ามใช้โลโก้สินค้า ป้ายขนาดใหญ่ มีผลบังคับใช้ได้จริงในอนาคต แน่นอนว่า ทางฝั่งผู้ประกอบการแต่ละค่ายย่อมต้องหาวิธีการทางการตลาดแบบใหม่ เพื่อรองรับการแข่งขัน


แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

โดยเฉพาะเรื่องของราคาที่จะถูกนำมาใช้เป็นอันดับแรก เนื่องมาจากหากไม่มีการโฆษณาเรื่องโลโก้ที่ถือว่าเป็นการแบ่งแบรนด์และค่ายแล้วนั้น ผู้ประกอบการก็จะไม่พัฒนาคุณภาพสินค้า แต่จะหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ด้านราคาที่ถูกลง เพื่อใช้เป็นจุดขาย ดึงความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต เพราะเมื่อสินค้ามีราคาถูก กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย

“สมมติหากมีการห้ามใช้โลโก้ ป้ายโฆษณาจริง แน่นอนว่า ย่อมส่งผลกระทบกับตัวแบรนด์น้องใหม่ที่จะแจ้งเกิดอย่างแน่นอน แต่มองว่า ผู้ประกอบการแต่ละรายคงไม่ยอมปล่อยให้สินค้าเงียบหายอย่างแน่นอน แต่จะหันมาทำตลาดในรูปแบบอื่นแทน เพื่อสร้างแบรนด์ให้ได้มากที่สุดนั้นเอง เป็นเรื่องน่าห่วงมากกว่า”


App43151057_s

ท้ายที่สุดของการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไทย ก็ต้องการความชัดเจน มีกติกาที่เข้าใจตรงกันในการปฏิบัติ ทั้งฝั่งของผู้ประกอบการและฝั่งของภาครัฐ ลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ลงให้มากที่สุด เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในการทำตลาดของสินค้า โดยมีนักกฎหมายหรือคนกลางเข้ามาให้ความชัดเจน

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย กล่าวอีกว่า ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ที่ทาง สสส. เข้ามาควบคุมและรถรงค์มาตรการที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังคงมีการเติบโตคงที่ต่อเนื่อง เพียงแต่เป็นการสลับกันเติบโตในแต่ละแคติกอรีเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น สุรา เบียร์ ไวน์ เป็นต้น สังเกตได้จากภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จัดเก็บในแต่ละปีมีจำนวนเพิ่มขึ้น สิ่งนี้เป็นการตอบคำถามได้อย่างดีว่า ที่ผ่านมาแก้ปัญหาได้ตรงจุดหรือไม่

โดยในปี 2559 อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทยมีมูลค่ากว่า 4.68 แสนล้านบาท กลุ่มที่มีการเติบโตสูงที่สุด ได้แก่ สุราขาว ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือทำตลาดแต่อย่างใด และมีสัดส่วนในอุตสาหกรรมเกือบ 80% จึงเป็นคำถามว่า เหตุใดตลาดแอลกอฮอล์ที่ไม่มีการโฆษณาเลยจึงมีอัตราการเติบโตสูงต่อเนื่อง แต่ภาครัฐยังหันมาควบคุมกลุ่มสุรา เบียร์ ไวน์ ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ในตลาดเพียง 20%


……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
‘น้ำเมา’ อัดโปรเย้ยกฎหมาย! ดันยอดขาย
เครือข่ายต้านน้ำเมาบุกซีพี! จี้ยุติขาย ‘เบียร์สด’ ในเซเว่น หวั่นกระตุ้นนักดื่มหน้าใหม่
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว