ทุจริตเงิน CESS ต้นตอเด้ง ”ธีธัช”

22 มี.ค. 2561 | 12:36 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2561 ลงวันที่ 20 มี.ค. 2561 เรื่องให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอื่นของรัฐไปปฏิบัติหน้าที่ในสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีคำสั่งให้ นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ไปปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ของรัฐประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตามกรอบอัตรากำลังชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ในสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์จากการยางแห่งประเทศไทยและยังไม่พ้นจากตำแหน่งเดิม จนกว่าจะมีคำสั่งเป็นประการอื่น ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปนั้น
ธีรัช-สุขสะอาด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสอบถามเกษตรกรสวนยางพาราพบว่าส่วนใหญ่รู้สึกชื่นชมยินดี พอใจต่อการตัดสินใจแก้ปัญหายางพารา และ กยท.ในครั้งนี้ ผลจากการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กยท. เมื่อวันที่21 มี.ค. ไม่ได้นำข้อเสนอของเกษตรกรชาวสวนยาง เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง (คยท.) และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของ กยท.(สร.กยท.) ที่เรียกร้องให้ยกเลิกการดำเนินจัดหาผู้รับจ้างบริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร (CESS) และยกเลิก TOR แต่อย่างใด เป็นเพียงการชะลอการดำเนินการเพื่อรอการพิจารณาตีความข้อกฎหมายของสำนักงานกฤษฎีกา

กรณีดังกล่าว เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของ กยท.(สร.กยท.) ได้ปรึกษาเบื้องต้นว่าไม่สามารถจะยอมรับได้ เพราะข้อเสนอให้ยกเลิกอย่างเด็ดขาดโดยทันที เพราะเรื่องนี้ไม่มีการตอบรับ และพิจารณาจากบอร์ด กยท.แต่อย่างใด

เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (คยท.) ได้เคยมีแถลงการณ์ประกาศในเรื่องนี้ โดยเสนอให้ กยท.พิจารณายกเลิกโดยทันทีในการประชุมบอร์ดวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมา และจะยกระดับการคัดค้านในวันที่ 22 มี.ค. เเม้จะมีการมอบให้รศ.ดร.ธนวรรษฒ์ พลวิชัย เข้ามารับตำแหน่งรักษาการผู้ว่ากยท. ลดกระแสความไม่พอใจของชาวสวนยางพารา และสามารถแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง

รายงานข่าวจากวงการสวนยางพาราเปิดเผยว่า ปัญหาที่แท้จริง คือ การดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างบริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร (CESS) และ TOR ที่ไม่ได้มีการดำเนินพิจารณายกเลิกแต่อย่างใด จึงได้มีการประสานงานร่วมมือกัน และมีความคิดเห็นที่ตรงกันทั้งประเทศว่า การคัดค้านการเปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร (CESS) และ TOR จะยังคงเดินหน้าต่อไป และยกระดับการเคลื่อนไหวคัดค้านให้เข้มข้นยิ่งขึ้นทุกเครือข่าย
mSQWlZdCq5b6ZLkvNDCs30rTvlNT9Mkr เพราะโครงการจัดจ้างเอกชนเข้ามาจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งออกยางพารา (CESS) โดยจะให้เอกชนรับส่วนแบ่งจากรายได้ทั้งหมดจำนวน 5% เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งเดิมแต่ละปี กยท.สามารถจัดเก็บเงินเซสได้ประมาณปีละ 8,000 ล้านบาท ซึ่งหากให้เอกชนเข้ามาจัดเก็บเงินเซส จะทำให้รายได้ตกเป็นของเอกชนปีละ 400 ล้านบาท หรือ 5 ปี รวมเป็นเงิน2,000 ล้านบาท ชาวสวนยางทุกกลุ่มจึงไม่เห็นด้วย มองว่าเป็นการจับมือกับนายทุน เพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกัน และสร้างความเสียหายให้แก่ชาวสวนยางและประเทศชาติ

รายงานข่าวจากวงการสวนยางพาราเปิดเผยว่า การดำเนินการจัดหาผู้สนใจทั้งหมดเป็นระบบ Turn key project เรียกง่ายๆว่าการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จอื่นซึ่งสาระสำคัญของขอบเขตTRO โครงการบริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักรเมื่อวันที่3 มกราคม 2561 ลงนามโดยนายธีธัช ว่าต้องการให้เอกชนดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักร โดยให้เริ่มกำหนดตั้งแต่1ตุลา 2561 มีระยะเวลาสัญญา5ปีตั้งแต่1ตุลาคม 2561- 30 กันยา 2566 และการดำเนินการต่อสัญญากับผู้รับจ้างเดิมหรือ ราย ใหม่ได้ก่อนหมดอายุหนึ่งปีโดยมีการคิดอัตราค่าจ้างการชำระเงินค่าธรรมเนียมอัตราค่าจ้างไม่เกินร้อยละห้าของค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้และหลักประกันสัญญามีมูลค่าจำนวนเงินเพียง 10,000,000 บาท ทั้งๆที่ต้องรับผิดชอบมากกว่า 9,300 ล้านบาท ต่อปี

โดย “สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกิจการยางแห่งประเทศไทย” เห็นว่าการนำระบบการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จมาใช้ดำเนินการพบว่าที่ผ่านมามีการรั่วไหลและเปิดช่องทางการทุจริตก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐเป็นอย่างมากพบข้อมูลความเสียหายจำนวนมหาศาล แม้จะมีมาตรการเข้มงวดก็ตาม
OLYMPUS DIGITAL CAMERA “การจัดเก็บเงินเซสต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเป็นรายได้ของรัฐ ไม่ควรปล่อยให้เงินเซสหายไปเพราะนำมาใช้ช่วยเกษตรกรสวนยางทั้งประเทศ เมื่อทดลองใช้คนจำนวนไม่มากเข้าไปทำงานก็ยังทำได้ ก็ไม่ควรต้องจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการ เพราะต้องเสียเงินปีละหลายร้อยล้านและเงินค่าเบี้ยเลี้ยงตามระเบียบราชการ ไม่มีใครการันตีว่าเอกชนที่จ้างมาจะไม่ทุจริตเพราะตรวจเอง เขียนเอง เก็บเอง” รายงานข่าวจากวงการสวนยางพาราเปิดเผย

รายงานข่าวจากวงการสวนยางพาราเปิดเผยว่า หนึ่งในข้อคัดค้านของทางสหภาพและเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ที่ได้ยืนยันมาตลอดนั้น ถึงการเก็บอัตราค่าจ้าง 5%ของค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้ หมายความว่า เงินที่จัดเก็บ 100 บาท ต้องให้บริษัท 5 บาท ก่อน ที่จะมาแยกเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 49 วงเล็บ 1-6 อย่างนี้ผิดกฎหมายหรือไม่ ผิดเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่

เพราะพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ระบุไว้ว่า
มาตรา ๔๙ ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินจากกองทุนตามจำนวนและเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีงบประมาณ ดังต่อไปนี้

(๑) จำนวนไม่เกินร้อยละสิบ เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกิจการของ กยท.
(๒) จำนวนไม่เกินร้อยละสี่สิบ เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อการปลูกแทน
(๓) จำนวนไม่เกินร้อยละสามสิบห้า เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางในด้านการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การผลิต การแปรรูป การตลาด และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับยางพาราและอุตสาหกรรมแปรรูปยางขั้นต้น อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมไม้ยาง การพัฒนา
ยางพาราทั้งระบบ และการรักษาเสถียรภาพราคายาง
(๔) จำนวนไม่เกินร้อยละห้า เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการเงิน วิชาการการศึกษาวิจัย และการค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับยางพาราในอันที่จะเกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการยางพาราอย่างครบวงจร
(๕) จำนวนไม่เกินร้อยละเจ็ด เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง
(๖) จำนวนไม่เกินร้อยละสาม เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
lf รายงานข่าวจากวงการสวนยางพาราเปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าว ทำให้นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เดินทางมาถึงสำนักงาน กยท. ย่านบางขุนนนท์ เพื่อคัดค้าน แต่กลับไม่รับความสนใจ โดยกยท. ยังคงเดินหน้าต่อไปโดยไม่สนใจคำสั่งของรัฐมนตรีที่กำกับและดูแล
เเละทำให้มีการรายงานถึงนายกรัฐมนตรีเเละทำให้เกิดการออกคำสั่งดังกล่าว

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยยท.)กล่าวว่า ขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ และนายกฤษฎา ที่มองเห็นถึงความเดือดเนื้อร้อนใจของชาวสวนยาง ตนเห็นด้วยอย่างยิ่งที่รัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการยางพาราภายในประเทศ ผู้บริหารชุดนี้ทำงานมา 2 ปี ทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์อย่างมากมาย

ตั้งแต่การจัดตั้ง 5 บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการยาง ส่งออกยางก็ส่อไม่โปรงใส หรือต่อมาก็เรื่องการจัดประมูลปุ๋ยเองก็ส่อฮั้วประมูลกัน เกษตรกรต้องรับกรรม และที่ชัดเจนที่สุดคือเรื่องการบริหารจัดการเงิน (CESS) ที่พยายามผลักดันเดินหน้าการเปิดประมูลให้บริษัทเอกชนจัดเก็บแทน 3 หน่วยงานหลักในประเทศ ชาวสวนยางทั่วประเทศได้รวมตัว พร้อมออกแถลงการณ์กดดันอย่างต่อเนื่อง ให้ทางบอร์ด กยท.ชุดนี้ยกเลิกแนวคิดดังกล่าว

ในวันนี้เชื่อว่ารัฐบาลคงหูตาสว่างขึ้นมาบ้าง หลังจากได้ออกคำสั่งดังกล่าว ขอขอบคุณอีกครั้งที่ยอมรับฟังเสียงเรียกร้อง ข้อเสนอ และความต้องการของชาวสวนยาง จากนี้ไปหากจะมีผู้ว่าการยางฯ คนใหม่เข้ามานั่งบริหาร ก็ขอให้รับฟังเสียงจากทุกด้าน และนำมาคิดวางแผนอย่างรอบคอบในการทำหน้าที่บริหารอย่างเหมาะสม และโปร่งใสเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติต่อไป

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว