เตือนผู้สูงอายุเสี่ยงภัยไซเบอร์

24 มี.ค. 2561 | 06:40 น.
ผู้เชี่ยวชาญเตือนรับมือ 4 ความเสี่ยงไซเบอร์ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ จะตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มมิจฉาชีพ เผย Regulator วางกรอบรับมือภัยทั้ง IT Risk และ Cyber Resilience ธปท.หนุนธุรกิจ-คนไทยจับทางไซเบอร์

เวที Bangkok FinTech Fair 2018 ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 61 สะท้อนความพยายามการทำหน้าที่ทั้ง ผู้กำกับดูแลกฎระเบียบ (Regulator) พร้อมวางแนวทางสร้างสภาพแวดล้อม ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน หรือฟินเทค /การประยุกต์ใช้ FinTech ในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินให้รับรู้และตระหนักถึงวิธีการป้องกันความเสี่ยงทั้งภัยคุกคามไซเบอร์และความปลอดภัย กับการรับมือเทคโนโลยี/ดิจิตอลที่เข้ามาพลิกโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน ทุกภาคธุรกิจและภาคการเงิน แม้เทคโนโลยี/ดิจิตอลจะเพิ่มประสิทธิภาพเชิงบวกแล้ว ยังพ่วงผล กระทบ โอกาสและความท้าทายโดยเฉพาะการต่อยอดเทคโนโลยีที่ยังไม่นิ่ง

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธปท.เป็นแม่งานครั้งแรก ภายในงานจะแบ่งออกเป็น 3 โซน คือ โซนสัมมนาจากวิทยากรจากสถาบันและผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี โซนที่ 2 จะเป็นการแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมของหน่วยงานต่างๆ และโซนที่ 3 จะเป็นโซน Cybersecurity room เป็นเวทีที่นำเสนอด้านความปลอดภัยทางการเงิน นอกจากมีผู้ประกอบการรวม 56 บูธ แบ่งเป็นฟินเทค สตาร์ต อัพ 11 บูธที่เหลือเป็นสถาบันการเงิน และนอนแบงก์ รวมผู้เข้าชมงานไม่ตํ่ากว่า 900 ราย

“ไฮไลต์” ของงานเริ่มด้วย นายเธอรี่ เรย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เสนอ ผลการวิจัยด้านการรักษาความปลอดภัยของบริษัท Imperva ใน เวทีเสวนาหัวข้อ Cyber Security ซึ่งระบุว่า แนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์สำคัญที่ควรจะให้ความสำคัญ ในปีนี้มี 4 ด้าน คือ 1.การรั่วไหลของข้อมูลจากการใช้บริการ Cloud (Massive Data breach) ส่วนใหญ่มาจากการเฝ้าระวังที่ไม่ครอบคลุมและทันการณ์ การบริหารจัดการการเข้าถึงที่ไม่รัดกุม และการตั้งค่าความปลอดภัยที่เหมาะสม 2. การเพิ่มขึ้นของการโจมตีผ่านเหมืองขุดเหรียญดิจิตอล (Cryptocurrencies Mining) จากแฮกเกอร์

บาร์ไลน์ฐาน 3. การใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ในทางที่ผิด 4. การเพิ่มขึ้นของภัยคุกคามที่มาจากภายในองค์กร (Insider Threats) หนึ่งในสาเหตุสำคัญของภัยคุกคามด้านไซเบอร์ในปัจจุบัน โดยมีสาเหตุเกิดจากความประมาทของผู้ใช้งาน หรือการควบคุมการใช้งานสิทธิสูงที่ไม่รัดกุม ซึ่งวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวคือ การตรวจจับรูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้งาน การรักษาความปลอดภัยข้อมูล ควรเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วน จัดลำดับความสำคัญ และการติดตามการเข้าถึง อีกทั้งมีการทำ Dashboard ให้เห็นถึงการใช้และการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงพอและทันท่วงที

นายกิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ประธานศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร ธนาคารกรุงเทพระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของกลุ่มผู้สูงวัยที่ไม่สามารถติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างทันการณ์ ซึ่งช่องโหว่นี้ถูกใช้เป็นช่องทางการทำทุจริตและฉ้อโกงของกลุ่มมิจฉาชีพ สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม

โดยกลุ่มผู้สูงอายุเป็นเป้าหมายของการทุจริต ฉ้อโกงจากกลุ่มมิจฉาชีพ ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการประมาณการ ความเสียหายถึง 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยกลุ่มผู้สูงอายุ มีความกังวลกับการใช้งานเทคโน โลยีใหม่ที่ซับซ้อน เข้าใจยาก และ กลัวการถูกทุจริต ฉ้อโกง ดังนั้น เพื่อที่จะก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเองมีความต้อง การที่จะมองหาคนที่จะสามารถอธิบายเครื่องมือใหม่ๆ เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และต้องการรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมและแตกต่างจากคนทั่วไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,350 วันที่ 22 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว