บิ๊กตู่เมินพรรคการเมือง ไม่ร่วมกำหนดวันเลือกตั้ง มีชัยชี้พรรคคอมมิวนิสต์ จดทะเบียนไม่ได้ เเม้ไร้กม.นี้เเล้ว

20 มี.ค. 2561 | 09:39 น.
- 20 มี.ค. 61 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมครม.ถึงการเชิญพรรคการเมืองร่วมหารือเพื่อกำหนดวันเลือกตั้งในเดือนมิ.ย.นี้ ว่า เรื่องการเชิญพรรคการเมืองนั้นใครจะมาหรือไม่มาก็แล้วแต่ ถ้าไม่มาประชาชนจะว่าอย่างไร ตนต้องการให้ประชาชนรับทราบรับรู้ด้วยว่ามีการพูดคุยอะไรกันบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ไม่ได้หมายความว่าตนจะไปรู้นโยบายอะไรของพวกเขา เพียงแต่พวกเขาต้องตอบคำถามประชาชนให้ได้ในสิ่งที่ประชาชนต้องการ เพราะทุกพรรคอาสาที่จะเข้ามาทำงานการเมืองให้กับประเทศ อันนี้สุดแล้วแต่ถ้ามาไม่ครบหรือไม่มีการพูดคุยอะไรกันเลย มันก็กำหนดวันเลือกตั้งไม่ได้นั่นแหละ

เมื่อถามว่า กรณีที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้รัฐบาลเสนอศาลรัฐธรรมนูญตีความพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. หลังจากที่สนช.ยื่นในส่วนของส.ว.ไปแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องว่ากันไป เป็นขั้นตอนทางกฎหมายสามารถกระทำได้ เพราะมีศาลรัฐธรรมนูญอยู่ ไม่อย่างนั้นศาลไม่มีงานทำ ตราบใดที่ยังมีข้อห่วงใยข้อกังวลก็ต้องให้ศาลตอบให้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ต้องระมัดระวัง ตนก็ระมัดระวังอยู่แล้วไม่ให้เกิดผลกระทบต่อโรดแม็ป พออย่างนี้มาก็บอกว่ารัฐบาลต้องรับผิดชอบในภาพรวม พอพวกเขาเห็นชอบร่วมกันมาก็บอกรัฐบาลไปก้าวล่วง โดยใช้อำนาจสั่งทำให้ผ่าน เรื่องแบบนี้มีทั้งสองทาง

เมื่อถามว่า รัฐบาลจะส่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่ใช่รัฐบาล แต่เป็นเรื่องของสนช. เพราะกฎหมายนี้ยังไม่ได้ส่งกลับมาที่ตนเลย อย่ามาโยนให้รัฐบาล ในเมื่อพวกท่านยังมีปัญหากันอยู่ก็ต้องแก้ที่พวกท่าน ถ้ามันไม่จำเป็นตนจะส่งทำไม ในเมื่อมอบหมายความรับผิดชอบไปแล้วก็ให้ไปทำกันตรงโน้น มิเช่นนั้นจะเสียหายกว่าที่จะได้อะไรกลับมา ในเมื่อวันนี้สนช. ยังเห็นไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าไม่ใช่เรื่องที่สนช. เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบไม่ตรงกัน แต่เกิดจากความเป็นห่วง เพราะมีเสียงทักท้วงจากตรงนั้นตรงนี้ เช่น นักการเมือง และอื่นๆ จึงเกิดความไม่มั่นใจ ดังนั้น ก็ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นคนตัดสิน เพื่อจะไม่เกิดความเสียหายในวันหน้า มิเช่นนั้น เมื่อเลือกส.ว.มาแล้วมีปัญหาฟาวล์ทั้งหมดจะทำอย่างไร ใครจะรับผิดชอบพอถึงตอนนั้น แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

เมื่อถามว่า แสดงว่าสนับสนุนให้ทั้ง 2 ฉบับส่งตีความใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่รู้ สนช.ส่งฉบับเดียวไม่ใช่หรือ เมื่อถามย้ำว่า ควรส่งทั้ง 2 ฉบับหรือไม่เพื่อกันปัญหาในอนาคต พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่มีหรอก ฉบับส.ส.ไม่น่าจะมีปัญหา"

เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยขอจดจัดตั้งพรรคการเมือง สามารถทำได้และเหมาะสมหรือไม่ จะเอื้อต่อบรรยากาศการเลือกตั้งหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ต้องไปดูกฎหมายว่าทำได้หรือไม่ได้ ตนให้ความสนใจกับทุกพรรค และเป็นเรื่องของประชาชนพิจารณาเอาเองและเป็นเรื่องของกฎหมาย เมื่อถามว่า การเชิญพรรคการเมืองมาชี้แจงถึงนโยบายนั้น ถือเป็นการแทรกแซงพรรคการเมืองหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การเชิญพรรคการเมืองมาพูดคุย ไม่ได้หมายถึงให้มาพูดคุยในนโยบายพรรค แต่อยากให้พูดถึงว่าจะแก้ไขปัญหา เช่น เรื่องการทุจริต เรื่องการบุกรุกป่า อย่างไร โดยต้องคุยแบบนี้ แล้วทำไมนโยบายพรรคมันปิดลับกันมากหรืออย่างไร แต่พรรคการเมืองสามารถเปิดเผยนโยบายพรรคของตัวเองในภายหลังก็ได้ เพราะตนไม่ได้อยากจะรู้ เพียงแต่อยากจะถามว่าพรรคการเมืองจะทำต่อในสิ่งที่ตนทำไว้อย่างไร ถ้ามีวิธีการอื่นก็ต้องถามว่า ประชาชนจะรับได้หรือไม่ ไม่ใช่ไม่มีรายละเอียดอะไรเลย แล้วก็เลือกกันออกมา มันไม่ใช่

"มันต้องสร้างการรับรู้ อย่างวันนี้ผมบอกทุกอันแล้ว ผมเคยหวงห้ามว่าใครจะเอาของผมไปใช้บ้างไหม และที่ผ่านมาผมทิ้งของเขาหมดหรือเปล่ามันก็ไม่ใช่อีก อะไรที่สานต่อได้ผมก็ทำ ส่วนอะไรที่มีปัญหาก็แก้ไขให้ถูกต้อง ใครเป็นฝ่ายค้าน หรือรัฐบาลก็ต้องทำให้ประเทศชาติเจริญเติบโต นโยบายพรรคนั้นไม่ใช่นโยบายที่จะทำให้ประเทศเปลี่ยนแปลงได้ เพราะนโยบายพรรคเขาทำเพื่อสนองตอบบางกลุ่มเท่านั้นเอง ที่ผ่านมาก็เป็นเช่นนั้นไม่ใช่หรือ ยกตัวอย่าง การจำนำข้าว ถามว่าให้ใคร แล้วเคยรับผิดชอบในเรื่องงบประมาณแผ่นดินหรือไม่" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

เมื่อถามว่า หากพรรคการเมืองไม่มาร่วมหารือด้วยจะไม่สามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้ใช่หรือไม่ โดยเฉพาะพรรคใหญ่ที่ไม่มา พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่มาแล้วจะคุยกับใคร เมื่อถามย้ำอีกว่า หากพรรคการเมืองไม่มาแล้วจะกำหนดวันเลือกตั้งได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ก็ต้องหาข้อยุติให้ได้มากที่สุด วันนี้มีพรรคการเมืองกี่พรรคที่เกี่ยวข้อง เพราะตอนนี้มีอยู่ 40-50-60 พรรคแล้ว และกกต.จะรับรองทุกพรรคหรือไม่ ใครอยากมาก็มา แต่ตนไม่ไปเบี้ยวอยู่แล้ว ถึงอย่างไรก็ต้องเลือกตั้ง ถ้าอย่างนั้นก็ต้องกำหนดเองจะไปยากอะไรเล่า แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า ตนจะไม่ส่งข้อเสนอแนะหรือความเห็นเพิ่มเติมต่อร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. หลังจากที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ส่งเรื่องให้นายกฯ พิจารณาดำเนินการตามกระบวนการประกาศใช้กฎหมาย ตามที่เคยทำความเห็นไปยัง สนช. ให้พิจารณาส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย 2 ประเด็น คือ การตัดสิทธิการดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง, ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองหากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุ และการลงคะแนนแทนผู้พิการ ทุพพลภาพ หรือคนชรา เพราะเกินภารกิจของกรธ.

นายมีชัย กล่าวอีกว่า ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่าหากไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความแล้วอาจเป็นเหตุกระทบต่อการเลือกตั้งในอนาคต ที่ทำให้การเลือกตั้งต้องล้มไปทั้งหมด เหตุเพราะลงคะแนนแทนผู้พิการนั้นไม่ใช่การเลือกตั้งแบบโดยตรงและลับ ตนมองว่าจะไม่ไปถึงขั้นนั้น เพราะการลงคะแนนแทนคนพิการอาจเป็นเฉพาะบางหน่วยเลือกตั้งเท่านั้น เว้นแต่พบว่ามีหลายหน่วยที่ลงคะแนนแทน แล้วภายหลังมีผู้ร้องศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าวิธีลงคะแนนแทนนั้น ขัดกับรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นโดยตรงและลับ

นายมีชัย กล่าวว่า ส่วนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ที่สนช. ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ตนไม่ทราบเนื้อหาของหนังสือว่าเขียนเช่นไร เพราะหากเขียนให้ชัดเจนเฉพาะบทบัญญัติในบทเฉพาะกาล จะไม่ถือว่าไม่กระทบกับสาระสำคัญ ทำให้ร่างพ.ร.ป. ใช้ความในบทหลักได้ และดำเนินตามกระบวนการประกาศใช้กฎหมายได้ ทั้งนี้ต้องรอการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่า หากวินิจฉัยความว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ สาระที่วินิจฉัยนั้นถือว่ากระทบกับสาระสำคัญหรือไม่ ทั้งนี้หากผลวินิจฉัยทำให้ร่างพ.ร.ป.ส.ว. ต้องตกไป หน้าที่แก้ไขยังเป็นของกรธ. โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

"ตามรัฐธรรมนูญความของกฎหมายลูกที่กระทบกับสาระสำคัญและขัดรัฐธรรมนูญจะทำให้ร่างกฎหมายตกไปทั้งฉบับ แต่กรณีดังกล่าวหากยื่นศาลเฉพาะความในบทเฉพาะกาล จะตัดส่วนดังกล่าวออกไปและทำตามขั้นตอนประกาศใช้กฎหมายได้ แต่ผมมองว่าบทหลักที่ใช้นั้นเพื่อให้ได้ ส.ว. 200 คน แต่บทเฉพาะกาลเขียน คือวิธีให้ได้มาซึ่ง ส.ว. จำนวน 50 คนและต้องใช้บังคับคราวแรกของการได้ส.ว. ประเด็นนี้ผมมองว่ามีทางออก คือ ให้กฎหมายประกาศใช้ แล้วคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ร่วมกับ คณะรัฐมนตรี เสนอแก้ไขให้สอดคล้องกับการการได้มาซึ่ง ส.ว. ในคราวแรก" นายมีชัย กล่าว

ผู้สื่อข่าวถึงข้อเสนอสนช. ให้นักการเมืองทำสัตยาบรรณเลื่อนเลือกตั้งเพื่อแลกกับการยื่นตีความร่างพ.ร.ป.ส.ส. นายมีชัย กล่าวว่า ทำแบบนั้นไม่ได้ และเชื่อว่านักการเมืองคงไม่ยอมทำ

นายมีชัยกล่าวถึงการขอจดตัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับกกต. ว่า จะจดจัดตั้งได้หรือไม่ต้องดูวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง แต่หากพิจารณาตามคำนิยามเดิมและที่หลายฝ่ายเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ผ่านมาไม่สามารถทำได้ เพราะขัดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ขณะที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภัยคอมมิวนิสต์ถูกยกเลิกไปแล้ว ดังนั้นต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ ส่วนกรณีที่กกต.ฐานะนายทะเบียนไม่รับจดแจ้ง ตนมองว่าหากเป็นความเชื่อโดยสุจริตโดยไม่ต้องอธิบายความหมายไม่ถือว่ามีความผิด ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว