หอการค้าต่างชาติชี้โอกาสไทย ต่อยอดจุดแข็ง-เชื่อมโยงCLMV

19 มี.ค. 2561 | 09:55 น.
ผมมองว่าอีอีซีเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของไทยที่สำคัญ เพราะนับจากการก่อกำเนิดของอีสเทิร์นซีบอร์ดเมื่อเกือบๆ 30 ปีที่แล้ว ไทยจำเป็นต้องก้าวสู่ขั้นต่อไป โครงการนี้เป็นก้าวใหม่ที่จะมีความสำคัญต่อประเทศไทยไปอีกในระยะ 10-20 ปีข้างหน้า จุดแข็งของไทยคือตำแหน่งที่ตั้งที่ดีมาก แต่ในยุคที่เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามามีบทบาททำให้วิถีชีวิตและการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไป โลกการสื่อสารเข้าสู่ยุค 5G แล้ว และประเทศไทยก็กำลังจะมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตในทุกๆหมู่บ้าน ฉะนั้นเวลามองภาพกว้างๆ เราไม่ได้มองไทยประเทศเดียว หรืออีอีซีพื้นที่เดียว เราต้องมองภูมิภาคที่เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ผมมองถึงอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงที่มีไทยเป็นศูนย์กลาง จากอนุภูมิภาคนี้เรายังเชื่อมโยงกันได้ทางเศรษฐกิจกับจีน อินเดีย บังกลาเทศ ฯลฯ ไทยอยู่ในจุดที่สามารถเป็นสปริงบอร์ด ไปสู่ประเทศเหล่านี้ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังเติบโต ภายใน 1-2 ชั่วโมงคุณสามารถบินจากไทยไปทุกประเทศใน CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) หากเรามองเห็นการเชื่อมโยงเหล่านี้เราจะเห็นถึงความสำคัญของการสร้างความเชื่อมโยง เช่น ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกที่เชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับแปซิฟิก การเชื่อมโยงกับเส้นทางสายไหมยุคใหม่ของจีนผ่านเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ฯลฯ

จากเวทีการเสวนา Thailand Opportunity :ในสายตาต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ งานสัมมนา Go Thailand : การลงทุนเพื่ออนาคต จัดโดยฐานเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายสแตนลีย์ คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศใน ประเทศไทย (JFCCT) และนายอิซาโอะ คุโรดะ รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ได้ สะท้อนทรรศนะมุมมองของต่างชาติเกี่ยวกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) พร้อมวิเคราะห์จุดแข็งที่เป็นโอกาส และจุดอ่อนที่อยากเห็นการปรับปรุงแก้ไข ไว้อย่างน่า สนใจ ดังนี้

จากเวทีการเสวนา Thailand Opportunity :ในสายตาต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนา Go Thailand : การลงทุนเพื่ออนาคต จัดโดยฐานเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายสแตนลีย์ คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) และนายอิซาโอะ คุโรดะ รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ได้สะท้อนทรรศนะมุมมองของต่างชาติเกี่ยวกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี)พร้อมวิเคราะห์จุดแข็งที่เป็นโอกาส และจุดอ่อนที่อยากเห็นการปรับปรุงแก้ไข ไว้อย่างน่า
สนใจ ดังนี้

และเพราะเหตุนี้ ไทยควรจะต้องเร่งมือทำโครงการต่างๆ ให้เป็นรูปธรรม ทำไมเราถึงต้องมีระบบ e-Government ก็เพราะความไวเป็นเรื่องสำคัญ ทำไมเราต้องลดขั้นตอนและกฎระเบียบที่ซับซ้อนยุ่งยากต่อการดำเนินธุรกิจ นั่นก็เพราะเราต้องการความเร็ว ต้องการลดต้นทุนดำเนินการ เราต้องการประสิทธิภาพและคุณภาพที่ดีขึ้น ผมเองนั้นมีความเชื่อมั่นเต็มร้อยในศักยภาพของประเทศไทย แต่ก็เห็นว่ายังมีอะไรอีกหลายสิ่งที่จะต้องปรับปรุงและทำให้ดีขึ้น จุดอ่อนของไทยนั้นอาจจะเป็นความ “ใจเย็น” หรือพึงพอใจกับความสำเร็จที่เคยมีมาในอดีต แต่ในโลกทุกวันนี้ เทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตผู้คน รวมทั้งการดำเนินธุรกิจ เราจึงต้องเปิดใจกว้าง เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และปรับตัวให้ทัน พัฒนาตัวเองให้เท่าเทียมมาตรฐานสากล ทุกวันนี้เราพูดถึงการบริหารจัดการเพื่อใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) เอไอ (ปัญญาประดิษฐ์) และ sharing economy สิ่งเหล่านี้คืออนาคต ดังนั้นกรุณาลุกออกจากคอมฟอร์ตโซน แล้วมองไปข้างหน้าว่าอะไรคืออนาคต ไม่เช่นนั้นคุณก็จะกลายเป็นคนที่ทำอะไรแบบใจเย็นๆ แล้วก็กลายเป็นผู้ตาม ไทยควรจะเป็นผู้นำในภูมิภาคนะครับ ไม่ใช่เป็นผู้ตาม

[caption id="attachment_268999" align="aligncenter" width="335"] สแตนลีย์ คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย สแตนลีย์ คัง
ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย[/caption]

ญี่ปุ่นมีความยินดีที่จะมีส่วนร่วมพัฒนาโครงการต่างๆ ในอีอีซี ปีที่แล้วในเดือนกันยายน มีคณะนักธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆของญี่ปุ่นจำนวนเกือบๆ 600 บริษัทเดินทางมาเยือนไทยและเยี่ยมชมพื้นที่อีอีซี โดยความสนับสนุนขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศ (เจโทร) และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (เมติ) ของญี่ปุ่น ได้มีการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นของบริษัทที่มาเยือนไทยดังกล่าว ในจำนวนตอบกลับ 110 ราย มี 25% ที่มีแนวคิดที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมว่าจะทำอะไรในอีอีซี นอกจากนี้ 15% ตอบว่ามองเห็นโอกาสทางธุรกิจในอีอีซี นับว่าเป็นผลตอบรับในเชิงบวก ส่วนใหญ่บริษัทที่มาจะเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พวกเขาพึงพอใจกับสิทธิประโยชน์ต่างๆที่จะได้รับ

[caption id="attachment_269001" align="aligncenter" width="335"] อิซาโอะ คุโรดะ รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ อิซาโอะ คุโรดะ
รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ[/caption]

จุดแข็งของไทยในทรรศนะของผมก็คล้ายๆกับคุณสแตนลีย์ คัง ส่วนจุดอ่อน ผมอยากจะเรียกว่าเป็นสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นซึ่งมีอยู่หลายสิ่ง ไทยประสบความสำเร็จกับโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดเด่น แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ไทยจะต้องต่อยอดเพื่อก้าวสู่อนาคต ต้องหันกลับมาดูว่ายังทำอะไรให้ดีขึ้นได้อีกจากความสำเร็จที่มีอยู่ เพราะถ้าเรานิ่ง เราก็จะไม่ขยับไปข้างหน้า ผมมองว่าสิ่งที่ควรปรับปรุงคือเราต้องมองออกไปนอกประเทศไทยด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน CLMV เพราะการเติบโตของตลาดไทยเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ อีกจุดที่ต้องปรับปรุงคือความสามารถในการพัฒนาบุคลากรรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยังไม่เพียงพอ และไทยควรให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น ผมเห็นด้วยกับเป้าหมายของอีอีซีที่ต้องการส่งเสริมโครงการลงทุนที่ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนา ถัดมาที่ควรปรับปรุงคือ business infrastructure ซึ่งมี 2 ด้าน คือด้านที่จับต้องได้ อย่างถนน ท่าเรือ สนามบิน ฯลฯ ซึ่งไทยกำลังเร่งพัฒนาอยู่ผ่านทางหลายโครงการ และอีกด้านที่จับต้องไม่ได้แต่สำคัญไม่แพ้กัน คือ เรื่องของกฎระเบียบ สิทธิประโยชน์ ความน่าเชื่อถือ ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล เหล่านี้ก็มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยที่จะทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นที่จะขยายการลงทุนหรือเข้ามาลงทุนใหม่ๆ เพิ่มเติม

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,349 วันที่ 18 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว