หอฯ ต่างชาติชี้โอกาสของไทย! ต่อยอดจุดแข็ง-เชื่อมโยงเศรษฐกิจ CLMV

16 มี.ค. 2561 | 11:35 น.
จากเวทีการเสวนา Thailand Opportunity : ในสายตาต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนา Go Thailand : การลงทุนเพื่ออนาคต จัดโดย “ฐานเศรษฐกิจ” เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายสแตนลีย์ คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) และนายอิซาโอะ คุโรดะ รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ได้สะท้อนทรรศนะมุมมองของต่างชาติเกี่ยวกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) พร้อมวิเคราะห์จุดแข็งที่เป็นโอกาส และจุดอ่อนที่อยากเห็นการปรับปรุงแก้ไข ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

สแตนลีย์ คัง
ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย


 

[caption id="attachment_268971" align="aligncenter" width="335"] สแตนลีย์ คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย สแตนลีย์ คัง
ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย[/caption]

“ผมมองว่า อีอีซีเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของไทยที่สำคัญ เพราะนับจากการก่อกำเนิดของอีสเทิร์นซีบอร์ดเมื่อเกือบ ๆ 30 ปีที่แล้ว ไทยจำเป็นต้องก้าวต่อสู่ขั้นต่อไป เป็นก้าวใหม่ของไทย หลังจากที่รัฐบาลปัจจุบันเริ่มกระบวนการปฏิรูปมาราว 2 ปี ตอนนี้ต้องเร่งลงมือให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โครงการนี้จะมีความสำคัญต่อประเทศไทยไปอีกในระยะ 10-20 ปีข้างหน้า”

จุดแข็งของไทย คือ ไทยอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งที่ดีมาก โดยเฉพาะช่วงไม่กี่ปีมานี้ เราพูดถึงกลุ่ม CLMVT คือ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามที่มีไทยเพิ่มเติมเข้าไปด้วย เพราะท่านนายกรัฐมนตรีไทยก็ได้พูดย้ำมาแล้วว่า เราต้องเข้มแข็งไปด้วยกัน และเมื่อก้าวไปด้วยกันเราก็แข็งแกร่งมากขึ้น Stronger Together ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เราไม่ได้ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง นี่คือแนวคิดการพัฒนาที่ก้าวไปพร้อมกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเราจะเติบโตและแข็งแรงไปด้วยกัน  และที่สำคัญ ก็คือ ทุกวันนี้ เพราะเรามีเทคโนโลยีที่ก้าวไกล วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป โลกการสื่อสารเข้าสู่ยุค 5G แล้ว และประเทศไทยก็กำลังจะมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตในทุก ๆ หมู่บ้าน ฉะนั้นเวลามองภาพกว้าง ๆ เราไม่ได้มองไทยประเทศเดียวหรืออีอีซีพื้นที่เดียว เราต้องมองภูมิภาคที่เชื่อมโยงเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน ผมมองถึงอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีไทยเป็นศูนย์กลาง จากอนุภาคนี้เรายังเชื่อมโยงกันได้ทางเศรษฐกิจกับจีน อินเดีย บังคลาเทศ ฯลฯ ไทยอยู่ในจุดที่สามารถแป็นสปริงบอร์ด ไปสู่ประเทศเหล่านี้ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังเติบโต ภายใน 1-2 ชั่วโมง คุณสามารถบินจากไทยไปทุกประเทศใน CLMV หากเรามองเห็นการเชื่อมโยงเหล่านี้เราจะเห็นถึงความสำคัญของการสร้างความเชื่อมโยง เช่น ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกที่เชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับแปซิฟิก การเชื่อมโยงกับเส้นทางสายไหมยุคใหม่ของจีนผ่านทางเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ฯลฯ

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

สิ่งเหล่านี้ทำให้ผมบอกว่า ไทยควรจะต้องเร่งมือ เร่งทำโครงการต่าง ๆ ให้เป็นรูปธรรม ทำไมเราถึงต้องมีระบบ e-Government ก็เพราะความไวเป็นเรื่องสำคัญ ทำไมเราต้องลดขั้นตอนและกฎระเบียบที่ซ้ำซ้อนยุ่งยากต่อการดำเนินธุรกิจ นั่นก็เพราะเราต้องการความเร็ว ต้องการลดต้นทุนดำเนินการ เราต้องการประสิทธิภาพและคุณภาพที่ดีขึ้น โลกธุรกิจมีการแข่งขันมากขึ้น ไทยเป็นประเทศสวยงาม ในอดีตที่ผ่านมาเราอยู่ในเขต comfort zone แต่ตอนนี้เราต้องเร่งพัฒนาตัวเองเพื่ออนาคตและวางพื้นฐานให้คนรุ่นต่อ ๆ ไปสามารถออกไปแข่งขันในตลาดโลก

ผมเองนั้นมีความเชื่อมั่นเต็มร้อยในศักยภาพของประเทศไทย แต่ก็เห็นว่ายังมีอะไรอีกหลายสิ่งที่จะต้องปรับปรุงและทำให้ดีขึ้น นี่เป็นสิ่งที่เราต้องตระหนักและร่วมมือกันทำ เราต้องปรับเปลี่ยนความคิด และลงมือทำ ในยุคแห่งการแข่งขันนี้เราต้องเปิดกว้างและร่วมมือกับนานาประเทศ อาเซียนเองมีเป้าหมายร่วมกันที่จะมุ่งไปในอนาคต เมื่อไทยขยับตัวเร็ว เพื่อนบ้านก็สามารถเรียนรู้และมองไทยเป็นต้นแบบ และจะเติบโตไปด้วยกัน

 

[caption id="attachment_268972" align="aligncenter" width="335"] สแตนลีย์ คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย สแตนลีย์ คัง
ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย[/caption]

จุดอ่อนของไทยนั้นอาจจะเป็นความ “ใจเย็น” หรือพึงพอใจกับความสำเร็จที่มีเคยมีมาในอดีต ทำให้ไม่ค่อยอยากจะขยับหรือเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ในโลกทุกวันนี้ เทคโยโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งอย่าง เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตผู้คน รวมทั้งการดำเนินธุรกิจ เราจึงต้องเปิดใจกว้าง เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และปรับตัวให้ทัน พัฒนาตัวเองให้เท่าทันกับมาตรฐานสากล ทุกวันนี้เราพูดถึงการบริหารจัดงานเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) เอไอ (ปัญญาประดิษฐ์) และ sharing economy สิ่งเหล่านี้คือ อนาคต ดังนั้น กรุณาลุกออกจากคอมฟอร์ทโซน แล้วมองไปข้างหน้าว่าอะไรคืออนาคต ไม่เช่นนั้นคุณก็จะกลายเป็นคนที่ทำอะไรแบบใจเย็น ๆ ถูกคนอื่นทิ้งนำไปข้างหน้า แล้วคุณก็กลายเป็นผู้ตาม ไม่ใช่ผู้นำ ไทยควรจะเป็นผู้นำในภูมิภาคนะครับ ไม่ใช่เป็นผู้ตาม

ในส่วนของสิทธิประโยชน์การลงทุนนั้น ผมมองว่า ไทยมีความเป็นมาตรฐานสากลอยู่แล้ว ไม่มีอะไรเป็นปัญหาเลย แต่สิ่งที่สำคัญที่จะดึงดูดใจผู้ลงทุนใหม่ ๆ เข้ามา คือ โครงสร้างพื้นฐานในส่วนที่ไม่สามารถจับต้องได้ (soft infrastructure) เช่น กฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เรากำลังมีระบบอิเล็กทรอนิกเข้ามาช่วยงานในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับภาครัฐ (e-Government) เพื่อให้ขั้นตอนต่าง ๆ มันง่ายขึ้น เร็วขึ้น ลดความยุ่งยาก แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องหลายขั้นตอนที่ยังยุ่งยากอยู่ เราอยากเห็นกฎระเบียบที่เป็นมิตรต่อผู้ลงทุนต่างชาติมากขึ้น สนับสนุนการดำเนินธุรกิจมากขึ้น เรากำลังมีธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น บล็อคเชน ฟินเทค ฯลฯ แต่กฎหมายบางอย่างก็มีมาหลายทศวรรษ ควรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้ทันกับบริบททางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป


แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

ผมจึงมีความหวังกับรัฐบาลชุดนี้นะครับ ว่าท่านจะสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ไทยเป็นประเทศที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ให้ขึ้นมาอยู่ในอันดับประเทศที่น่าลงทุนหรือเอื้อต่อการทำธุรกิจมากที่สุดในอันดับ Top 5 หรือ Top 10 ของโลก นอกจากนี้ ผมขอให้ไทยดึงดูดบุคลากรต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่บริบทของเศรษฐกิจในยุคดิจิตอลและออโตเมชั่นในขั้นสูง ให้เข้ามาสู่ประเทศไทยมากขึ้น เพื่อที่เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตตามเป้าหมายที่วางไว้เพราะบุคลากรของไทยเองมีไม่เพียงพอ

ไทยพัฒนาตัวเองมามากจากการเป็นประเทศเกษตรกรรม เป็นการผลิตเพื่อส่งออก เป็นแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ เป็นประเทศที่มีนวัตกรรมในการผลิตมากขึ้น มีมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ ต่อไปในอนาคตก็จะยิ่งมีการพัฒนาขั้นสูง เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์มากขึ้นด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ บุคลากรไทยเองก็จะต้องมีคุณภาพมากขึ้น มีการศึกษาในระดับสากล สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีบุคลากรระดับอาชีวะที่เชี่ยวชาญและมีทักษะเพิ่มขึ้น ทำให้ทุกคนในสังคมตระหนักว่าไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้ การพัฒนาตัวเองในทิศทางที่กล่าวมานี้จะทำให้ไทยสามารถคว้าโอกาสที่มีเข้ามาได้อย่างรวดเร็วและสามารถรักษาการเป็นผู้นำ

 

[caption id="attachment_268975" align="aligncenter" width="335"] สแตนลีย์ คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย สแตนลีย์ คัง
ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย[/caption]

ผมเชื่อในเรื่องของการสื่อสาร ถ้าการสื่อสารของคุณมีคุณภาพ ชีวิตก็มีคุณภาพ ถ้าเราได้รับความโปร่งใสจากรัฐบาล มีความเป็นธรรม มีนโยบายที่ดี ที่ได้รับการปฏิบัติออกมาอย่างดีและเหมาะสม ทุกคนได้รับประโยชน์จากนโยบายนั้น ทุกคนได้รับโอกาสที่เท่าเทียม นั่นคือสิ่งที่สำคัญ ประชาชนสามารถรับรู้ และยอมรับพึงพอใจนโยบายนั้น นั่นถึงจะเรียกว่านโยบายที่ประสบความสำเร็จ


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

อิซาโอะ คุโรดะ
รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย


 

[caption id="attachment_268977" align="aligncenter" width="335"] อิซาโอะ คุโรดะ รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย อิซาโอะ คุโรดะ
รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย[/caption]

“บริษัทญี่ปุ่นนั้นมีการลงทุนในประเทศมาเนิ่นนาน  เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทย ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจมีมากขึ้นและบริษัทญี่ปุ่นก็ฉีกหนีคู่แข่งด้วยการพัฒนายกระดับการผลิต ขยับสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับแผนการส่งเสริมอุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่มและใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงในยุทธศาสตร์ของอีอีซี จึงแน่นอนว่า ญี่ปุ่นมีความยินดีที่จะมีส่วนร่วมพัฒนาโครงการต่างๆในอีอีซี  ในเดือนกันยายน 2560 มีคณะนักธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆของญี่ปุ่นจำนวนเกือบๆ 600 บริษัทเดินทางมาเยือนไทยและเยี่ยมชมพื้นที่อีอีซี โดยความสนับสนุนขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศ (เจโทร) และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (เมติ) ของญี่ปุ่น ได้มีการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นของบริษัทที่มาเยือนไทยดังกล่าว ในจำนวนตอบกลับ 110 ราย มี 25% ที่มีแนวคิดที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมว่าจะทำอะไรในอีอีซี นอกจากนี้ 15% ตอบว่ามองเห็นโอกาสทางธุรกิจในอีอีซี นับว่าเป็นผลตอบรับในเชิงบวก ส่วนใหญ่บริษัทที่มาจะเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พวกเขาพึงพอใจกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับ”

ไทยยังจะน่าดึงดูดใจในสายตาผู้ลงทุนจากญี่ปุ่นหรือไม่ ผมตอบได้เลยว่า ประเทศไทยมีความสำคัญในสายตานักลงทุนญี่ปุ่น นั่นเป็นเพราะว่าบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนแล้ว มีความมุ่งมั่นจริงจังที่จะสร้างความเติบโตของธุรกิจในประเทศไทย พวกเขาต้องการรักษาและต่อยอดความสำเร็จต่อไปในประเทศไทย เรื่องราวความสำเร็จที่มีมาเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไทยยังคงความสำคัญ เมื่อรัฐบาลไทยมีโครงการใหม่ นโยบายใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาอีอีซี บริษัทญี่ปุ่นจึงให้ความสนใจและให้ความสำคัญที่จะเข้ามีส่วนร่วม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะบริษัทที่เข้ามาลงทุนอยู่แล้ว แต่รวมถึงบริษัทใหม่ กลุ่มทุนใหม่ที่ยังไม่เคยเข้ามาด้วย

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

จุดแข็งของไทยในทรรศนะของผมก็คล้าย ๆ กับคุณสแตนลีย์ คัง ส่วนจุดอ่อน ผมอยากจะเรียกว่าเป็นสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นซึ่งมีอยู่หลายสิ่ง ไทยประสบความสำเร็จกับโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดเด่น แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ไทยจะต้องต่อยอดเพื่อก้าวสู่อนาคต ต้องหันกลับมาดูว่ายังทำอะไรให้ดีขึ้นได้อีกจากความสำเร็จที่มีอยู่ เพราะถ้าเรานิ่ง เราก็จะไม่ขยับไปข้างหน้า ผมมองว่า สิ่งที่ควรปรับปรุง คือ เราต้องมองออกไปนอกประเทศไทยด้วย มองโอกาสการเติบโตออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพราะการเติบโตของตลาดไทยเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เราต้องมองดูว่าจะขยายธุรกิจออกไปนอกประเทศไทยได้อย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน CLMV

อีกจุดที่ต้องปรับปรุง คือ ความสามารถในการพัฒนาบุคลากรรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยังไม่เพียงพอ และไทยควรให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (R&D)ให้มากขึ้น ผมเห็นด้วยกับเป้าหมายของอีอีซีที่ต้องการส่งเสริมโครงการลงทุนที่ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนา ถัดมาที่ควรปรับปรุงคือ business infrastructure ซึ่งมี 2 ด้าน คือด้านที่จับต้องได้ (physical infrastructure) อย่างถนน ท่าเรือ สนามบิน ฯลฯ ซึ่งไทยกำลังเร่งพัฒนาอยู่ผ่านทางหลายโครงการ และอีกด้านที่จับต้องไม่ได้ (soft infrastructure) แต่สำคัญไม่แพ้กัน คือ เรื่องของกฎระเบียบ สิทธิประโยชน์ ความน่าเชื่อถือ ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล เหล่านี้ก็มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยที่จะทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นที่จะขยายการลงทุนหรือเข้ามาลงทุนใหม่ ๆ เพิ่มเติม

 

[caption id="attachment_268980" align="aligncenter" width="335"] อิซาโอะ คุโรดะ รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย อิซาโอะ คุโรดะ
รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย[/caption]

หอการค้าญี่ปุ่นได้ส่งข้อเสนอไปยังกระทรวงอุตสาหกรรม (ของไทย) ว่า นอกจากการพัฒนาและการขยายโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นถนน ท่าเรือ สนามบิน การขนส่งระบบราง ฯลฯ  เรายังนำเสนอเกี่ยวกับการพัฒนากฎระเบียบ ระบบภาษี ความโปร่งใส ตลอดจนขั้นตอนการทำงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพบุคลากรในตลาดแรงงาน

ผมมี 3 เรื่องที่จะกล่าวเกี่ยวกับโอกาสของประเทศไทย คือ 1) รัฐบาลต้องให้สิทธิประโยชน์จูงใจเพิ่มขึ้นเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามามากขึ้น 2) เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับการหลั่งไหลเข้ามาของการลงทุน 3) ภาครัฐควรลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น รวมทั้งเพิ่มความร่วมมือด้านนี้ระหว่างภาคเอกชนด้วยกันและระหว่างสถาบันการศึกษาให้มากขึ้นด้วย สุดท้ายคือ ขอให้ฟังเสียงของเราด้วย เช่นก่อนจะออกกฎหมายหรือกฎระเบียบใหม่ ๆ อะไรออกมา  ปีที่แล้ว (2560) หอการค้าญี่ปุ่น (เจซีซี) มีการจัดตั้งคณะกรรมการใหม่ชื่อ EEC Committee ขึ้นมาเพื่อทำงานใกล้ชิดกับฝ่ายไทยในเรื่องอีอีซีโดยเฉพาะ และเพื่อเป็นกลไกสะท้อนความคิดเห็นของเอกชนฝ่ายญี่ปุ่นในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับอีอีซี


……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ดีอีเร่งเครื่องพัฒนาคน รองรับอีอีซี
ประมูลทรัพย์ใน 'อีอีซี'!!


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว