'คลัง' สั่งเก็บภาษีซื้อ-ขาย 'คริปโตฯ' 15%! เร่งผู้เล่นคนกลาง-ดีลเลอร์ขอไลเซ่นส์

16 มี.ค. 2561 | 04:11 น.
“อภิศักดิ์” ลั่น! ซื้อ-ขาย Cryptocurrency สั่งเก็บภาษี 15% พร้อม vat 7% ทุกธุรกรรม เหตุเป็นสินทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ ยันไม่ได้ปิดกั้น แต่คุมความเสี่ยงก่อนเกิดความเสียหาย ระบุ ‘นายหน้า-ดีลเลอร์’ ต้องขอไลเซ่นส์ และพิสูจน์ตัวตน KYC ลูกค้าตามกฎ ปปง. ส่วนรายที่ออก ICO ไปก่อนหน้านี้ต้องเข้ามาขอจดทะเบียนภายใน 6 เดือน

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิตอล และร่างพ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ในประเด็นการจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินดิจิตอล ว่า โดยหลักการจะเป็นการจัดเก็บภาษี 15% โดยจะเก็บจากผลกำไรซื้อขาย Cryptocurrency เป็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% และปลายปีสามารถนำรวมเป็นรายได้ เพื่อใช้ในการคำนวณภาษี หากจ่ายไว้เกินก็สามารถขอคืนได้ แต่ถ้าขาดก็ต้องจ่ายเพิ่ม เช่น ซื้อมา 100 บาท ขายได้ 110 บาท จะนำ 10 บาท มาคำนวณเป็นรายได้เพื่อจ่ายภาษี

เปิดร่าง 'พ.ร.ก.คุมเงินดิจิทัล' เล็งรีดภาษี 15%

ส่วนการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะ Cryptocurrency และ ICO เป็นสินทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์หรือสินทรัพย์ดิจิตอล ดังนั้น เมื่อเป็นสินทรัพย์ที่มีการซื้อขายจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ซึ่งการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ไม่ต้องออกเป็น พ.ร.ก. หรือกฎหมาย สามารถทำได้เลยทันที แต่หากเป็นบุคคลธรรมดาที่เข้าไปเทรดในตลาดรองจะถูกยกเว้น


pexels-photo-844127

ทั้งนี้ หลักการเกี่ยวกับสินทรัพย์ Cryptocurrency และ ICO ไม่ได้มีกฎหมายควบคุม แต่จะต้องตีความเป็นสินทรัพย์ในกำกับ โดยผู้กำกับจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และวิธีการกำกับจะเหมือนการกำกับหลักทรัพย์ เช่น ผู้เล่น ตัวกลาง หรือ ดีลเลอร์ โบรกเกอร์ หากเกี่ยวข้องการออกเป็นหลักทรัพย์จะต้องเข้ามาขอใบอนุญาต (ไล่เซนส์) และการออก ICO จะต้องดูแลประชาชนตามการกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ส่วนกรณีรายที่ออก ICO ไปก่อนหน้านี้ จะต้องเข้ามาขออนุญาตตามขั้นตอนภายใน 6 เดือน ขณะเดียวกัน หากมีการซื้อขายจะต้องมีการพิสูจน์ตัวตน (KYC) ลูกค้าด้วย ซึ่งจะเป็นจะเป็นระเบียบของ ปปง. ที่จะควบคุมตรงนี้เป็นหลัก

ส่วนหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ขอความร่วมมือไปยังธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่อยู่ในการกำกับดูแลนั้น ถือว่าสอดคล้อง เนื่องจากได้มีการพูดคุยกับธนาคารกลางต่างชาติและสถาบันการเงินต่างชาติ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ส่งเสริมให้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency เนื่องจากไม่ส่งเสริมให้ลูกค้าเล่นการพนัน อย่างไรก็ดี ทุกธนาคารได้นำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาปรับใช้ในองค์กร สอดคล้องว่า Cryptocurrency เป็นสินทรัพย์ ไม่ใช่สกุลเงิน และ ธปท. ก็ไม่ยอมรับ แม้ว่าบางคนจะเรียกว่าการลงทุน แต่การจะเห็นว่าราคาปรับขึ้นและลง และไม่มีผู้ประกันการจัดจำหน่าย (Underwriting) เพราะการลงทุนจะต้องมีผู้ประกันการจัดจำหน่าย

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

“มาตรการกำกับดูแลเรื่อง Cryptocurrency และ ICO เป็นการดูแลขอบเขตความเสี่ยงว่าอยู่ที่ไหน เพราะถ้าเกิดความเสี่ยงหายเกิดขึ้นจะรับผิดชอบไม่ไหว ซึ่งประเทศไทยและภาครัฐไม่ปิดกั้น และไม่ได้ห้ามจนเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้ส่งเสริม แต่ต้องควบคุมให้ได้ รู้ว่าใครทำธุรกรรมเพื่อป้องกันเงินดำเข้ามาใช้ช่องนี้ อย่างไรก็ดี บอกไม่ได้ว่าจะควบคุมได้ทั้งหมดหรือไม่ เพราะเป็นของใหม่ ซึ่งตอนนี้มีการทำงานร่วมกันหลายฝ่ายเพื่อดูแลและกำกับ”


……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
J.I.B.เล็งเข้าตลาดหุ้น ตั้ง JIBEX ตลาดรองซื้อขายคริปโตฯ
สอบเลี่ยงภาษี! '5 บิ๊ก' ค้า 'ไอซีโอ'


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว