ไล่เส้นทาง! 'เงินกู้สหกรณ์ฯ' หมุนเวียนใช้สิทธิ์ 5 ปี ยอดทะลุกว่า 3.2 พันล้านบาท

16 มี.ค. 2561 | 10:29 น.
1645

ทุจริตเงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์สโมสรรถไฟยังยืดเยื้อ! ล่าสุด กลุ่มธรรมาภิบาลพบพิรุธเอกสารกู้ไม่ครบถ้วน แต่อนุมัติผ่านฉลุย ทั้ง ๆ ที่วงเงินกู้ระดับ 10 ล้านอัพ แถมกู้แต่ละเดือนถี่ยิบ ไล่บี้! กรมส่งเสริมสหกรณ์หากเพิกเฉยเจอมาตรา 157 แน่

นายกิ่งแก้ว โยมเมือง ทนายความกลุ่มธรรมาภิบาล เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”
ว่า ในวันที่ 14 มี.ค. 2561 นี้ ทางกลุ่มธรรมาภิบาลจะยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรณีการทุจริตในสหกรณ์ออมทรัพย์สโมสรรถไฟ จำกัด ต่อกรณีกรมปล่อยปละละเลยหรือมีส่วนรู้เห็นในการฉ้อโกงเงินกว่า 2,200 ล้านบาท ของนายบุญส่ง หงษ์ทอง (อดีตประธานสหกรณ์ฯ) และพวก หรือไม่ อีกทั้งกรณีดังกล่าวนี้ยังไม่รีบเข้าไปแก้ไขปัญหาดังกล่าว ถือเป็นการละเลย ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์หรือไม่

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

ประการสำคัญ ทุกวันนี้สหกรณ์ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ประเภทดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ เดือนละ 8.8 ล้านบาท ดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณ 5.4 ล้านบาท อีกทั้งยังต้องส่งเงินต้นอีกจำนวนกว่า 32 ล้านบาทต่อเดือน นี่เป็นรายจ่ายมาตั้งแต่ปี 2560 คิดเป็นรายจ่ายต่อเดือนประมาณ 48 ล้านบาท พบว่า มีการขอประนอมกับเจ้าหนี้ขอชำระดอกเบี้ย ส่วนเงินต้นขอผลัดการชำระออกไปก่อน”


TP12-3348-B

นอกจากนั้น ล่าสุด ทางกลุ่มธรรมาภิบาลยังได้พบเบาะแสเส้นทางการกู้เงินของคณะกรรมการนับตั้งแต่ปี 2555-2559 รวมวงเงินกว่า 3,263 ล้านบาท ทั้ง ๆ ที่เอกสารการกู้เงินไม่ครบถ้วน แต่กลับพบว่า วงเงินกู้แต่ละรายการมีมูลค่าตั้งแต่หลักแสนบาทไปจนถึงหลัก 100 ล้านบาท ประการสำคัญรายการกู้เงินของคณะกรรมการแต่ละคนยังมีความซับซ้อน บางคนกู้ในแต่ละเดือน 2-3 ครั้ง ครั้งละ 10-15 ล้านบาท
1727
โดยตามข้อมูลนั้น วงเงินกู้ปีบัญชี 2555 รวมกว่า 94 ล้านบาท กรรมการพิจารณาเงินกู้ ประกอบด้วย นายบุญส่ง หงษ์ทอง เป็นประธานกรรมการ, นายศุภชัย รัตนกันทา เป็นกรรมการและเลขานุการ, นายสมบัติ ฤกษ์ฉาย และนายประพันธ์ อำพันฉาย เป็นกรรมการ โดยพบว่า นายบุญส่ง หงษ์ทอง ยื่นกู้รวมกว่า 63 ล้านบาท, นายวีระชัย ศรีสวัสดิ์ วงเงินรวมกว่า 21 ล้านบาท, นายนรินทร์ โพธิ์ศรี วงเงินรวม 10 ล้านบาท และนายปรีชา ธนะไพรินทร์ 3 แสนบาท


แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

เงินกู้ปีบัญชี 2556 รวมวงเงินกว่า 1,488 ล้านบาท กรรมการพิจารณาเงินกู้ ประกอบด้วย นายบุญส่ง หงษ์ทอง เป็นประธานกรรมการ, นายสมบัติ ฤกษ์ฉาย เป็นกรรมการและเลขานุการ, นายบัญชา ช่วยประสิทธิ์ และนายประเทือง กล้าณรงค์ เป็นกรรมการ โดยพบว่า นายบุญส่ง หงษ์ทอง ยื่นกู้รวมกว่า 831 ล้านบาท, นายวีระชัย ศรีสวัสดิ์ วงเงินรวมกว่า 368 ล้านบาท, นายบัญชา ช่วยประสิทธิ์ 33 ล้านบาท, นายประพันธ์ อำพันฉาย 33 ล้านบาท, นายนรินทร์ โพธิ์ศรี วงเงินรวม 102 ล้านบาท และนายปรีชา ธนะไพรินทร์ 119 ล้านบาท


TP12-3348-2B

เงินกู้ปีบัญชี 2557 วงเงินรวมกว่า 387 ล้านบาท กรรมการพิจารณาเงินกู้ ประกอบด้วย นายบุญส่ง หงษ์ทอง เป็นประธานกรรมการ, นายสมบัติ ฤกษ์ฉาย เป็นกรรมการและเลขานุการ, นายบัญชา ช่วยประสิทธิ์ และนายประเทือง กล้าณรงค์ เป็นกรรมการ โดยพบว่า นายบุญส่ง หงษ์ทอง ยื่นกู้รวมกว่า 57 ล้านบาท, นายวีระชัย ศรีสวัสดิ์ วงเงินรวมกว่า 134 ล้านบาท, นายบัญชา ช่วยประสิทธิ์ 15 ล้านบาท, นายประพันธ์ อำพันฉาย 10 ล้านบาท, นายนรินทร์ โพธิ์ศรี วงเงินรวม 92 ล้านบาท และนายปรีชา ธนะไพรินทร์ 77 ล้านบาท

เงินกู้ปีบัญชี 2558 วงเงินรวมกว่า 585 ล้านบาท กรรมการพิจารณาเงินกู้ ประกอบด้วย นายนรินทร์ โพธิ์ศรี เป็นประธานกรรมการ, นายมงคล เวทยะเวทิน เป็นกรรมการและเลขานุการ, นางนภาพร คุ้มขำ และนายประเทือง กล้าณรงค์ เป็นกรรมการ โดยพบว่า นายบุญส่ง หงษ์ทอง ยื่นกู้รวมกว่า 150 ล้านบาท, นายวีระชัย ศรีสวัสดิ์ วงเงินรวมกว่า 207 ล้านบาท, นายบัญชา ช่วยประสิทธิ์ วงเงิน 15 ล้านบาท, นายนรินทร์ โพธิ์ศรี วงเงินรวม 110 ล้านบาท และนายปรีชา ธนะไพรินทร์ 103 ล้านบาท

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1

เงินกู้ปีบัญชี 2559 วงเงินรวม 707 ล้านบาท กรรมการพิจารณาเงินกู้ ประกอบด้วย นายนรินทร์ โพธิ์ศรี เป็นประธานกรรมการ, นายสมบัติ ฤกษ์ฉาย เป็นกรรมการและเลขานุการ, นายมงคล เวทยะเวทิน และนางนภาพร คุ้มขำ เป็นกรรมการ โดยพบว่า นายบุญส่ง หงษ์ทอง ยื่นกู้รวมกว่า 120 ล้านบาท, นายวีระชัย ศรีสวัสดิ์ วงเงินรวมกว่า 137 ล้านบาท, นายบัญชา ช่วยประสิทธิ์ วงเงิน 90 ล้านบาท, นายประพันธ์ อำพันฉาย 105 ล้านบาท, นายนรินทร์ โพธิ์ศรี วงเงินรวม 140 ล้านบาท และนายปรีชา ธนะไพรินทร์ 115 ล้านบาท

“มีการเชื่อมโยงได้ว่า ไปขอกู้เงินจากสหกรณ์ใดบ้าง เช่นเดียวกับการให้นำเงินมาฝากกับสหกรณ์ออมทรัพย์สโมสรรถไฟ จำกัด ในอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนดไว้ ซึ่งจะพบว่า มีการหมุนเวียนกันทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการและคณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ และยื่นกู้เงินในวงเงินที่สูงมากของแต่ละคน อีกทั้งเมื่อลงลึกรายละเอียด ยังพบอีกว่า มีการยื่นกู้ในแต่ละเดือนหรือแต่ละปีหลายครั้ง ครั้งละ 10-15 ล้านบาท ประการสำคัญ มีการไซฟ่อนเงินไปซื้อที่อยู่อาศัยของแต่ละคนดังกล่าว อาทิ โครงการอาลีบาบาลีฟวิ่งเฮ้าส์ ที่ จ.เพชรบุรี และยังพบอีกว่า มีการจัดซื้อที่อยู่อาศัยในโซนเดียวกันในโครงการหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในย่านพุทธมณฑล อีกทั้งยังไม่มีหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้ทั้ง 199 สัญญา บางคนไม่มีการลงลายมือชื่อและวันที่ในการกู้ ทั้งนี้ เมื่อไปดูหลังโฉนดกลับพบว่า ไม่มีการจดจำนองใด ๆ ทั้งสิ้น”


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,348 วันที่ 15-17 มี.ค. 2561 หน้า 12
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ทุจริตสหกรณ์รถไฟพ่นพิษ 14 สหกรณ์-2แบงก์ สูญ 5 พันล้าน สมาชิกหลายหมื่นเครียด
ยื่น‘ดีเอสไอ’สอบเชิงลึก เจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯรถไฟรํ่ารวยผิดปกติ

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว