"บิ๊กตู่" ปัดไม่รู้ตั้งพรรคพลังประชารัฐ "ยืนยัน" ยังไม่มีการทาบทาม ลั่น! "ไม่ยุบ คสช.-ไม่ลาออก"

14 มี.ค. 2561 | 07:13 น.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์กรณีการจัดตังพรรคพลังประชารัฐ ว่า "ผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรสักอย่างกับพรรคพลังประชารัฐ ก็ดูจากหนังสือพิมพ์” เมื่อถามว่า ถ้าจำเป็นต้องตัดสินใจ จะเลือกพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ และจะรับนั่งเก้าอี้ประธานที่ปรึกษาพรรคด้วยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่รู้เหมือนกัน และวันนี้ก็ยังไม่เห็นมีใครเชิญตนไปนั่งเก้าอี้ประธานที่ปรึกษาพรรคเลย มีแต่พูดกันไป และตนจะตัดสินใจอย่างไร ก็ไม่ทราบเช่นกัน ขอเวลาทำงานในส่วนของตนไปก่อน การเมืองยังมีเวลาว่ากันต่อไป

เมื่อถามว่า ได้คุยกับ พ.อ.สุชาติ จันทรโชติกุล อดีต ส.ส.พรรคความหวังใหม่หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทำไมต้องคุย เมื่อถามอีกว่า พ.อ.สุชาติ เป็นเพื่อนกับนายกฯ ไม่ใช่หรือ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “เพื่อนผมมีตั้ง 200 คน ไม่ได้คุยทุกคน คุยกับพี่อ้อ (พล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี)”

 

[caption id="attachment_268085" align="aligncenter" width="503"] พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)[/caption]

ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มคนอยากเลือกตั้งเรียกร้องให้ยุบ คสช. เพื่อให้เป็นรัฐบาลรักษาการในช่วงเตรียมการเลือกตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 265 เขียนไว้อย่างชัดเจนแล้ว ว่า คสช. ต้องทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น "การที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งเสนอให้ยุบ คสช. นั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ถ้าสงสัยอะไรให้ไปดูคำตอบก่อนหน้านี้"

เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคการเมืองใหม่ประกาศสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตอนนี้ก็สนับสนุนกันหมด เพราะเป็นเรื่องการเมืองที่เดินกันไป ซึ่งก็มี 2 พวก คือ พวกที่สนับสนุนกับพวกที่ไม่สนับสนุน ก็มี 2 ฝ่ายเสมอ คือ ฝ่ายหนึ่งต้องการปฏิรูป อีกฝ่ายไม่ต้องการปฏิรูป หรือฝ่ายหนึ่งต้องการให้ทุกอย่างกลับไปเหมือนเดิม ก็จะมีความวุ่นวายแบบเดิม ๆ อีกฝ่ายไม่ต้องการให้เกิด สรุปก็ไม่ความพอดีสักอย่าง ก็เป็นตัวชี้ว่า อนาคตข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นมา ซึ่งมันก็ไม่แน่ อาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ เป็นเรื่องที่ประชาชนต้องติดตามความเคลื่อนไหวของแต่ละพรรคการเมือง ในขณะนี้การออกมาพูดจาของพรรคการเมือง และนักการเมืองต่าง ๆ ก็ต้องดูว่า เขาพูดอะไรมีวัตถุประสงค์อะไร ส่วนหน้าที่ของ คสช. จะต้องดูความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเป็นหลัก เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองพรรคใด ถ้าเป็นต้นเหตุหรือสาเหตุ ที่ทำให้เกิดความวุ่นวาย ความขัดแย้ง ความรุนแรง หรือความไม่สงบเกิดขึ้นก็ต้องไปพิจารณาตามกฎหมายว่าควรจะดำรงอยู่ต่อไปหรือไม่อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือนักการเมืองก็ตาม


บาร์ไลน์ฐาน

"วันนี้อย่าลืมว่า คสช. ยังมีอำนาจอยู่ตรงนี้ในการรักษาความสงบของบ้านเมือง ซึ่งทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้วแต่ก็ยังอยากจะฝ่าฝืนกันอีก" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าเสน่ห์ของตัวเองอยู่ตรงไหน ทำไมพรรคการเมืองใหม่จึงพร้อมทาบทามให้เป็นนายกฯ คนนอก พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "มันเกี่ยวกับเสน่ห์ตรงไหน เสน่ห์เป็นเรื่องของการจีบสาว ตอนนี้ผมไม่ได้จีบสาว ผมไม่มีเสน่ห์หรอก พูดจาก็เป็นแบบนี้ เสน่ห์คงไม่มีเท่าไหร่"

 

[caption id="attachment_268266" align="aligncenter" width="503"] พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)[/caption]

เมื่อถามว่า รู้สึกกดดันหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวปฏิเสธว่า ไม่ได้รู้สึกกดดันเลย เพราะตนไม่ได้คิดอะไรมาก บอกแล้วว่าทั้งหมดอยู่ที่ประชาชนจะตัดสินใจ มีความต้องการจะให้ประเทศชาติเป็นอย่างไรต่อไป ต้องการปฏิรูปหรือไม่ เป็นเรื่องที่ประชาชนจะตัดสินในการเลือกตั้ง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ ส.ส. การลงพื้นที่เพื่อไปเลือกตั้ง ก็ต้องเสนอนโยบายออกมาว่า แต่ละพรรคการเมือง เสนอนโยบายอะไรออกมาบ้าง โดยเฉพาะนโยบายทางการเมืองของแต่ละคน วันนี้พูดกันแต่เรื่องเลือกตั้ง กฎหมายเลือกตั้ง วนอยู่ตรงนี้เพียงเรื่องเดียว ในส่วนที่รัฐบาลเองก็พยายามพูดในเรื่องของการทำงาน เรื่องของอนาคต แต่ก็ถูกโจมตีในเรื่องทางการเมืองอย่างเดียว เป็นเช่นนี้ประเทศไทยก็ไปไหนไม่ได้ ทุกคนต้องมาช่วยกัน วิเคราะห์ว่าบ้านเมืองจะเดินไปอย่างไร เมื่อเข้าไปอยู่ในกระบวนการเลือกตั้ง เราควรจะวางตัวอย่างไร ต้องวางอนาคตให้ประชาชนเห็น

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ส่วนความเห็นที่เสนอให้ตนลาออกจากตำแหน่งหาจะตัดสินใจลงเล่นการเมืองนั้น ก็สงสัยว่าในสมัยก่อนเวลาที่นักการเมืองเป็นรัฐบาล เขาลาออกกันหรือไม่ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ มันเป็นคนละเรื่องกันทั้งหมด ขอร้องว่าอย่าไปทำให้เกิดการบิดเบือน อย่าทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันอีก เพราะไม่เช่นนั้นประชาชนก็จะรังเกียจ คสช. เกลียดตน "อยากให้ย้อนกลับไปดูในสมัยก่อน นายกรัฐมนตรีซึ่งก็เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ประกาศลงเลือกตั้งก็สามารถลงไปหาเสียงได้ ในขณะที่ยังเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ด้วยซ้ำไป วันนี้ผมยังไม่ได้เป็นอะไรสักอย่าง แล้วผมก็ไม่ได้หาเสียด้วย ยังทำงานอยู่อย่างหนัก เพื่อจะทำให้ประเทศชาติเกิดการเปลี่ยนแปลง”

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

ด้าน พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงกรณีกลุ่มคนอยากเลือกตั้งยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องว่า เป็นการเคลื่อนไหวตามที่เขาได้วางแผนไว้ เป็นการเคลื่อนไหวที่เชื่อมโยงการกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น การชุมนุมถ้าไม่มีเหตุรุนแรง ไม่กระทบต่อความมั่นคงหรือกฎหมายก็ไม่มีปัญหาดำเนินการได้ และเท่าที่ดูยังไม่เกินกรอบที่กฎหมายกำหนด ตอนนี้เจ้าหน้าที่ก็จับตาดูอยู่ไม่ให้มีเหตุรุนแรงขึ้นมา ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยก็เดินไปตามโรดแมปเลือกตั้ง ส่วนที่ยื่นเงื่อนไขให้ยุบ คสช. เหลือเพียงรัฐบาลรักษาการเลือกตั้งนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้ คสช. รักษาการไปจนกว่าหลังเลือกตั้งจะมี ครม. ชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ คสช. ก็ต้องทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญกำหนด

เมื่อถามว่าถ้าปลดล็อกพรรคการเมืองแล้ว ต้องปรับการดูแลสถานการณ์ทางการเมืองหรือไม่ พล.อ.วัลลภ ตอบว่า ต้องปรับเพราะสถานการณ์จะต่างออกไป เมื่อปลดล็อกแล้วสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไป เราต้องปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ส่วนจะปลดล็อกเมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับ คสช. เป็นผู้พิจารณา


……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
นายกฯ ปัดตอบ! ถูกเชิญนั่ง ปธ.ที่ปรึกษา 'พลังประชารัฐ' แนะเด็กเล่น "หมาเน่าลอยน้ำ" ฝึกว่ายกันจมน้ำ
"ประวิตร" เมินกลุ่มไล่ คสช. อ้าง "ไม่รู้" กลุ่มพลังประชารัฐทาบ 'บิ๊กตู่' ร่วมพรรคเพื่อเป็นนายกฯ อีกครั้ง

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว