Catty Craft ชูไอเดียตอบโจทย์ทาสแมว

17 มี.ค. 2561 | 10:30 น.
แบรนด์Catty Craft ลุยต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่เปลแมว พร้อมเตรียมพัฒนาไปสู่ชามใส่อาหาร ยันไม่ละทิ้งคอนเซ็ปต์เน้นความปลอดภัยและกลมกลืนกับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน เผยกลยุทธ์การตลาดเพิ่มออกงาน BIG หวังดันสินค้าสู่ต่างประเทศ ล่าสุดอาจได้ลุยตลาดสิงคโปร์ก่อน เชื่อปี 61 รายได้แตะ 1.8 ล้านบาท

นายอนุชา ชิตโชติ ผู้ร่วมก่อตั้ง และเจ้าของธุรกิจบ้านแมวกระดาษลูกฟูก ภายใต้แบรนด์ “Catty Craft” เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากกระแสตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่องจากผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์บ้านแมวกระดาษลูกฟูกทั้งรูปแบบของทรงกระโจม และทรงหกเหลี่ยม ทางแบรนด์จึงได้ดำเนินการต่อยอดผลิตภัณฑ์ไปสู่อุปกรณ์สำหรับเลี้ยงแมวประเภท “เปลแมว” เพิ่มเติม เพื่อเป็นทางเลือก และขยายฐานลูกค้าให้มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นโดยยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์เพื่อการใช้งานได้จริง และปลอดภัย

ทั้งนี้ สำหรับผลิตภัณฑ์เปลแมวนั้น จะมีโครงสร้างที่ทำจากไม้ และใช้ผ้าแคนวาส (Canvas) มาทำเป็นเปล ส่วนแลกเกอร์ที่ใช้ก็จะเป็นแบบที่ใช้กับเฟอร์นิเจอร์สำหรับผลิตภัณฑ์เด็ก นอกจากนี้ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกี่ยวกับแมว โดยจะทำออกมาในรูปแบบภาชนะ หรือชามสำหรับใส่อาหารแมวที่ทำจากเซรามิก และเซรามิกผสมไม้ ซึ่งจะยังคงคอนเซปต์การเป็นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นความปลอดภัย และสามารถกลมกลืนเข้าได้กับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน

ด้านกลยุทธ์การทำตลาดเพิ่มเติมในปี 25 61 แบรนด์ “Catty Craft” มีแผนจะออกงานบิ๊ก (BIG) ที่จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนเอสเอ็มอีให้ได้พบเจอกับพ่อค้าจากต่างประเทศที่เข้ามาดูสินค้าเพื่อซื้อไปจำหน่าย หรือเจรจาธุรกิจเพื่อขอเป็นตัวแทนจำหน่าย โดยมองว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ จากเดิมที่จะทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งเฟซบุ๊ก (Facebook) รวมถึงอินสตาแกรม (Instagram : IG) และไลน์ นอกจากนี้ยังมีฝากจำหน่ายที่ร้านขายอาหารสัตว์ที่มีพื้นที่ให้ได้ตั้งโชว์ผลิตภัณฑ์

TP13-3348-1B อย่างไรก็ดี ล่าสุดก็มีผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการขายผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์ที่ประเทศสิงคโปร์ให้ความสนใจที่จะนำผลิตภัณฑ์ เปลแมว ของแบรนด์ไปทดลองจำหน่าย โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการเจรจาทางธุรกิจกันอยู่ ซึ่งหากการเจรจาผ่านไปได้ด้วยดีจะถือเป็นก้าวแรกที่จะได้ไปทำตลาดต่างประเทศโดยจากกลยุทธ์การทำตลาดของแบรนด์ปีนี้เชื่อว่าจะทำให้ยอดรายได้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 1.5 แสนบาทต่อเดือน หรือประ มาณ 1.8 ล้านบาทต่อปี จากเดิมที่มีรายได้อยู่ที่ประมาณ 80,000-100,000 บาทต่อเดือน

นายอนุชา กล่าวต่อไปอีกว่า จุดเด่นของบ้านแมวกระดาษลูกฟูกแบรนด์ “Catty Craft” อยู่ที่การออกแบบ หรือดีไซน์ให้เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน สามารถนำไปจัดวางไว้ตรงไหน หรือมุมไหนก็ได้ภายในบ้านอย่างกลมกลืน ส่วนวัสดุที่เลือกนำมาใช้ก็จะมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยสำหรับแมว ไม่ว่าจะเป็นกระดาษซึ่งจะใช้กระดาษที่ใช้ทำกล่อง แต่จะมีความแข็งแรงมากกว่าปกติ ขณะที่สีสันก็จะมีน้อยมากหากต้องใช้สีก็จะเลือกใช้สีที่ทำจากธรรมชาติ เพราะคำนึงถึงพฤติกรรมตามธรรมชาติของแมวซึ่งอาจจะต้องมีการใช้ลิ้นเลีย และอาจจะเป็นอันตรายได้

TP13-3348-2B ขณะที่การตกแต่งลวดลายในรายละเอียดของบ้านกระดาษก็จะใช้วิธีการฉลุ เพื่อให้มีความปลอดภัย และสวยงาม ส่วนกาวที่ใช้เพื่อประสานตามจุดต่างๆก็จะใช้กาวที่ทำมาจากมันสำปะหลัง โดยปัจจุบันบ้านแมวกระดาษลูกฟูกมีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ 1. บ้านแบบทรงกระโจม ซึ่งจะเน้นการดีไซน์ในแต่ละชิ้นส่วนของตัวบ้านให้มีความสลับซับซ้อนแบบมีมิติ โดยมุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชื่นชอบงานดีไซน์ และ 2. บ้านทรงหกเหลี่ยม ซึ่งจะเน้นการดีไซน์ที่เรียบง่ายแบบน่ารัก และมีความสลับซับซ้อนน้อยกว่า ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้หญิง

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2 ส่วนกุญแจที่ไขประตูไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจนั้น มองว่าไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องงานดีไซน์ที่โดดเด่น แต่มาจากการที่ได้มีการศึกษาคู่แข่งจากทั้งใน และต่างประเทศก่อนว่ามีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษแบบใดบ้างหรือไม่ ก่อนที่จะมาออกแบบผลิตภัณฑ์ของเรา อีกทั้งตัวผลิตภัณฑ์ยังได้มีการทดสอบกับแมวจริงที่คาเฟ่แมว เพื่อขอผลตอบรับจากแมวหลากหลายสายพันธุ์ หรือหลากหลายอารมณ์ ให้สามารถใช้งานได้จริงแบบ 100% เนื่องจากตามปกติผู้เลี้ยงแมวมักจะประสบปัญหาในการซื้อผลิตภัณฑ์มาแล้วแมวไม่ชอบอยู่ เพราะฉะนั้นเมื่อผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ ธุรกิจจึงประสบความสำเร็จ

อนึ่ง แบรนด์ “Catty Craft” เกิดจากการรวมตัวกันของ อนุชา ชิตโชติ ซึ่งมีความถนัดงานด้านออกแบบ และวฤธ รัชนีกร ซึ่งทำงานด้านการขายเกี่ยวกับกระดาษดังนั้น จึงมีการนำองค์ความรู้ทั้ง 2 ศาสตร์มาผสมผสานกันจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์และเริ่ม
ต้นธุรกิจ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,348 วันที่ 15 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว