แสนสิริงัด Agile พัฒนาองค์กร สู่ Dream Place to Work

17 มี.ค. 2561 | 00:35 น.
จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้อสังหาริมทรัพย์เป็นอีกหนึ่งในธุรกิจที่ต้องดิ้นเพื่อความอยู่รอด ก่อนที่ตัวเองจะถูก Disrupt “ บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน)” เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ลุกขึ้นมาปรับตัวเองตั้งแต่ปีที่แล้ว ด้วยเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการลุกขึ้นปรับเปลี่ยนและพัฒนาองค์กร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

[caption id="attachment_267720" align="aligncenter" width="503"] mp26-3348-1C อุทัย อุทัยแสงสุข[/caption]

“อุทัย อุทัยแสงสุข” ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เล่าถึงการเปลี่ยนแปลง ที่เริ่มด้วยการนำดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ ในการทำงานมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาอำนวยความสะดวกมากขึ้น เพื่อทำให้การพัฒนาโปรดักต์และบริการ เดินทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ และล่าสุดยังได้นำวิธีการทำงานแบบ Agile หรือการทำงานแบบไม่มีกำแพงระหว่างฝ่ายเข้ามา

“การปรับเปลี่ยนแบบ Agile เป็นการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงาน ทะลายกำแพงระหว่างฝ่ายออก ทำ Cross-Functional Teams ทดลองทำและเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้ตั้งแต่ต้นจนจบแล้วค่อยผลิต แต่เป็นการทำซอฟต์แวร์ออกมาเป็นช่วงๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง”

แสนสิริเริ่มนำระบบการทำงานแบบ Agile เข้ามาใช้กับโปรเจ็กต์ คอนโดสูง (High rise) เมื่อประมาณ 3 เดือนที่แล้ว โดยเริ่มปรับใช้แล้วกับ 3 ส่วนงานหลัก ได้แก่ ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายก่อสร้าง และฝ่ายการตลาด โดยจัดทีมที่ผสมผสานทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน มาช่วยกันระดมสมอง สร้างสรรค์ไอเดียใหม่ และตัดสินใจร่วมกัน โดยจะก้าวสู่องค์กรแบบ Agile อย่างเต็มรูปแบบภายในปลายปี 2561 ซึ่งจะมีการต่อยอดไปสู่โปรเจ็กต์ที่เป็น คอนโด low rise ทาวน์เฮาส์ และบ้านเดี่ยว
“อุทัย” ยอมรับว่า มีปัญหาบ้างกับการเริ่มต้นปรับเปลี่ยน แต่โดยรวมแล้วทุกอย่างเดินหน้าไปได้ดี ต่างจากเมื่อก่อนที่ทำงานเป็นระบบไซโร ขั้นตอนการทำงานเยอะ ทำให้เสียเวลา และเกิดความผิดพลาดได้หลายจุด

mp26-3348-2C หลังจากปรับเปลี่ยนการทำงานมาเป็นแบบ Agile เกิดผลดีที่ชัดเจน 5 ประการ ได้แก่ 1. ทำงานได้เร็วขึ้น 2. ออกสินค้าได้เร็วขึ้น 3. ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น ทั้งการพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ 4. เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาสินค้าได้เร็วขึ้น 10-20% และยังลดลำดับชั้น (Hierarchy) ในการทำงานได้ด้วย 5.ทำให้เกิดความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement) และทำให้เกิดความเป็น ownership หรือความรู้สึกเป็นเจ้าของในตัวพนักงานมากขึ้น

ผลที่ตามมา เมื่อสามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า (Customer Centric) ซึ่งจะสะท้อนไปถึงการสร้างความจงรักภักดีในแบรนด์ (Brand Loyalty) แสนสิริเรื่อยๆ

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ไม่ได้ทำให้ต้องลดจำนวนพนักงานลง แต่เป็นการเพิ่มงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้น และที่สำคัญ คือ การทำให้พนักงานมีความรู้เป็นเจ้าของ (ownership) ภูมิใจในผลงานที่ตัวเองทำแล้วประสบความสำเร็จ เป็นที่พอใจของลูกค้า และบรรยากาศในการทำงานยังดีขึ้น มีความเป็นพี่เป็นน้อง แต่ละคนจะช่วยกันผลักดันให้โปรเจ็กต์เดินหน้า รวมถึงให้พนักงานได้แสดงศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ และสร้าง Top Talent ที่มีคุณค่า พัฒนาความรู้ความสามารถและเติบโตไปสู่ความสำเร็จได้ต่อไปในอนาคต (Life-Long Employability) โดยเป้าหมายสำคัญอีกประการหนึ่งของการปรับเปลี่ยนครั้งนี้คือ การสร้างองค์กรให้เป็น “Dream Place to Work” หรือองค์กรที่น่าทำงานที่สุด ภายใน 3 ปี พร้อมๆ กับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรทั้งหมด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,348 วันที่ 15 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว